จัดงานอย่างไร…ให้ยั่งยืนและคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

เรื่องโดย นุสรา จริยะสกุลโรจน์ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมส่วนตัว กิจกรรมการทำงานหรือกิจกรรมอื่นๆ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดก๊าซเรือนกระจกสาเหตุของภาวะโลกร้อน ไม่เว้นแม้กระทั่งการจัดงานอีเวนต์ ที่มีการใช้พลังงานหลายส่วนและขยะที่เกิดจากการจัดงานมากมาย จึงเป็นเรื่องดีไม่น้อย หากผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจหรือภาคส่วนต่างๆ ที่เป็นผู้จัดงาน ร่วมใจกันสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทำให้เกิดการจัดงานแบบยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับประเทศไทย สํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. (Thailand Convention & Exhibition Bureau (Public Organization) : TCEB) ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. (Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization) : TGO) ตอบสนองต่อกระแสขับเคลื่อนของโลกด้านความยั่งยืนโดยการผลักดันอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ให้มีการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN’s Sustainable Development Goals: SDGs) อุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) คือ [...]
Read more

Al-Rahaman Restaurant (อัล-ราฮามัน)

เรื่องโดย ธีรยา เชาว์ขุนทด นมัสเต!!! อาหารอินเดียกินไม่ยากอย่างที่คิด ลองชิมแล้วจะรักนะจ๊ะนายจ๋า หนึ่งในลิสต์ร้านอาหารอินเดียที่ไม่ลองถือว่าพลาด ใครเป็นสายอาหารอินเดีย ต้องไม่พลาดแวะมาชิมหลากเมนูแสนอร่อย มือใหม่หัดชิมที่อยากลองชิมอาหารอินเดีย ก็ควรมาลิ้มลองเมนูที่ร้าน Al -Rahaman Restaurant (อัล-ราฮามัน) ร้านอาหารอินเดียเล็ก ๆ ย่านบางรักที่เปิดมากว่า 7 ปีแล้ว นำโดยเชฟอับดุล รูฟ (Abdur Rouf) ชาวบังกลาเทศจากกรุงธากา (Dhaka) เมืองหลวงของประเทศบังกลาเทศ ซึ่งควบตำแหน่งเชฟและเจ้าของร้าน ร้านอาหารอินเดียสไตล์บังกลาเทศร้านนี้ เสิร์ฟอาหารอินเดียสูตรต้นตำรับแบบโฮมคุก เข้มข้นด้วยเครื่องเทศหอมอบอวลแต่ไม่แรงจนเกินไป ผสมผสานระหว่างอาหารของอินเดียตอนเหนือ ปากีสถาน บังกลาเทศ รวมถึงอาหรับเข้าด้วยกัน ถือเป็นร้านอาหารฮาลาลสำหรับชาวมุสลิมด้วย โดยดึงเอาจุดเด่นของแต่ละชาติออกมา แล้วปรับรสชาติให้ถูกปากคนไทย ที่สำคัญอาหารแต่ละจานจะถูกปรุงออกมาให้ถูกใจลูกค้ามากที่สุด ชอบรสชาติแบบไหน สามารถบอกเชฟได้เลย เมนูแนะนำ: ปานิปุรี (Panipuri) 60 บาท เมนูที่เรียกได้ว่าเป็น Indian Street Food แป้งทอดลูกกลมด้านในกลวง ทำจากแป้งสาลี ผสมกับแป้งเซโมลินา (ชาวอินเดียเรียกแป้งซูจิ) และน้ำมันพืช [...]
Read more

ศูนย์ฯ ดึง ‘พีทีทีจีซี’ รีดศักยภาพนักวิจัย เตรียมต่อยอดผลงานไปสู่อุตสาหกรรม

เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 65 มีการประชุมร่วมกันระหว่างนักวิจัยในเครือข่ายของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และทีมวิจัยของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เพื่อให้นักวิจัยได้นำเสนอผลงานต่อทางบริษัทฯ วันดังกล่าวมี ศ.ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ นำการประชุม หลังจากนั้นเป็นการนำเสนอผลงานของนักวิจัย ได้แก่ ศ.ดร.นพิดา หิญชีระนันทน์ รศ.ดร.สุวดี ก้องพารากุล รศ.ดร.พิมพา หอมนิรันดร์ และ อ.ดร.จัญจุดา อุ่นเรืองศรี โดยทีมของบริษัทฯ นำโดย ดร.นพคุณ แสนโพธิ์ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ทั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์ฯ กับพีทีทีจีซี เพื่อเตรียมขยายผลจากงานวิจัยในด้านปิโตรเคมี สู่ระดับที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงในอุตสาหกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   [...]
Read more

ปิโตรแมทผนึกความเชี่ยวชาญกับ 3 ศูนย์ความเป็นเลิศ ประเดิมศึกษาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในน้ำ

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา และศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ในการศึกษาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำและในน้ำดื่มบรรจุขวดในประเทศไทย ภายใต้โครงการวิจัยพื้นฐานเพื่อสนับสนุนโปรแกรมวิจัยบูรณาการปีงบประมาณ 2565 ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 คุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรมของปิโตรแมท ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยฯ ได้นัดประชุมร่วมกับนักวิจัยของศูนย์ต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำเสนอผลการศึกษาวิจัยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รวมถึงเสนอแผนการดำเนินงานในช่วงถัดไป ในการนี้ ดร.ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์ และ ดร.ศีลาวุธ ดำรงศิริ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ ได้เข้าประชุมด้วยในฐานะผู้มีส่วนสำคัญในการวิจัยโครงการย่อยเรื่องการตรวจสอบปริมาณและชนิดของไมโครพลาสติกในน้ำดื่มบรรจุขวดที่วางขายในประเทศไทย ซึ่งปิโตรแมทเป็นผู้รับผิดชอบ นอกจากโครงการย่อยนั้นแล้ว ยังมีผลการศึกษาการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำ ระบบนิเวศ และในประชากร โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ในการวางแผนป้องกันเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้นต่อทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสิ่งแเศรษฐกิจ ทั้งนี้เกิดจากความร่วมมือที่แต่ละศูนย์ความเป็นเลิศได้บูรณาการร่วมกัน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   [...]
Read more

ศูนย์ฯ จับมือ ‘เอสแอนด์เจ’ เล็งปัดฝุ่น ‘ดินเบาดีอี’ พลิกสู่วงการเครื่องสำอาง

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้ประชุมร่วมกับ บริษัท เอสแอนด์เจอินเตอร์เนชั่นแนลเอ็นเตอร์ไพรส์ พลับบลิค จำกัด เมื่อวันที่ 19 กรกกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ครั้งนี้เป็นการหารือเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ดินเบาดีอีในเครื่องสำอาง โดยดินเบาดีอีเป็นวัสดุอันมีคุณสมบัติเด่นทั้งด้านน้ำหนักที่เบาและความสามารถที่สูงในการดูดซับสารต่างๆ รวมทั้งน้ำ จึงมักนำไปผลิตเป็นสารช่วยกรอง รวมถึงผสมลงในสีทาป้องกันเชื้อรา นอกจากนี้แล้วดินเบาดีอีเกรดบริสุทธิ์จากต่างประเทศ ยังสามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ซึ่งช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติในการดูดซับที่ดีขึ้น ในวันดังกล่าวจึงมีการประชุมระหว่างศูนย์ฯ กับทางบริษัทฯ ซึ่งนำโดย ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ (รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิพัฒน์ เหล่าวัฒนบัณฑิต (นักวิจัยดินเบาดีอี) และ ดร.พิมผกา วนสวัสดิ์ (บริษัทเอสแอนด์เจ) ทั้งนี้เป็นการหารือร่วมกันในนัดแรกเพื่อวางแผนศึกษาการนำดินเบาดีอีในประเทศไทยไปประยุกต์ใช้งานในเครื่องสำอาง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ทรัพยากรในประเทศ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th [...]
Read more

ศูนย์ฯ จับมือ ‘เอสแอนด์เจ’ เล็งปัดฝุ่น ‘ดินเบาดีอี’ พลิกสู่วงการเครื่องสำอาง

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้ประชุมร่วมกับ บริษัท เอสแอนด์เจอินเตอร์เนชั่นแนลเอ็นเตอร์ไพรส์ พลับบลิค จำกัด เมื่อวันที่ 19 กรกกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ครั้งนี้เป็นการหารือเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ดินเบาดีอีในเครื่องสำอาง โดยดินเบาดีอีเป็นวัสดุอันมีคุณสมบัติเด่นทั้งด้านน้ำหนักที่เบาและความสามารถที่สูงในการดูดซับสารต่างๆ รวมทั้งน้ำ จึงมักนำไปผลิตเป็นสารช่วยกรอง รวมถึงผสมลงในสีทาป้องกันเชื้อรา นอกจากนี้แล้วดินเบาดีอีเกรดบริสุทธิ์จากต่างประเทศ ยังสามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ซึ่งช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติในการดูดซับที่ดีขึ้น ในวันดังกล่าวจึงมีการประชุมระหว่างศูนย์ฯ กับทางบริษัทฯ ซึ่งนำโดย ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ (รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิพัฒน์ เหล่าวัฒนบัณฑิต (นักวิจัยดินเบาดีอี) และ ดร.พิมผกา วนสวัสดิ์ (บริษัทเอสแอนด์เจ) ทั้งนี้เป็นการหารือร่วมกันในนัดแรกเพื่อวางแผนศึกษาการนำดินเบาดีอีในประเทศไทยไปประยุกต์ใช้งานในเครื่องสำอาง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ทรัพยากรในประเทศ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th [...]
Read more

ศูนย์ฯ จับคู่ ‘อูเบะ’ เล็งจัดทีมวิจัยผลิตภัณฑ์ไนลอน

เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 65 ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และ ศ.ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ พร้อมด้วยนักวิจัยในเครือข่ายของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้ประชุมร่วมกับ ดร.อาภรณ์รัตน์ นันทลักษณ์สกุล และคุณณัฐพร สมร่าง จากบริษัท อูเบะ เทคนิคอล เซ็นเตอร์ (เอเชีย) จำกัด ต่อเนื่องจากครั้งที่แล้ว หลังจากที่ทางบริษัทฯ มีความสนใจในการสร้างความร่วมมือกับศูนย์ฯ การประชุมในครั้งนี้ รศ.ดร.ศรุต อำมาตย์โยธิน ผศ.ดร.ดวงกมล ตุงคะสมิต ผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ ผดุงรส อ.ดร.จัญจุดา อุ่นเรืองศรี รศ.ดร.พิมพา หอมนิรันดร์ และ ผศ.ดร.ธานิน นานอก ได้ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องไนลอน ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดร่วมกับทางบริษัทฯ ทั้งนี้อูเบะกำลังต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในกลุ่มไนลอน จึงได้เข้ามาศึกษาผลงานของนักวิจัยในเครือข่ายของศูนย์ฯ เพื่อคัดเลือกผลงานอันมีศักยภาพ ก่อนที่จะร่วมกันในการยกระดับการวิจัยไนลอนสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท [...]
Read more

ศูนย์ฯ จัดเวิร์กช็อป ‘เน็ตซีโร่’ ชวน ‘วิทยาลัยปิโตรฯ’ กู้วิกฤตโลกร้อน

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ นำโดยคุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรม ได้จัดกิจกรรมเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการคำนวณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรของวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ภายใต้โครงการเสริมสร้างความรู้สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น ณ อาคารวิทยาลัยฯ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วยการบรรยายและการทดลองคำนวณคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ บริการ และหน่วยงาน โดยบรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ทั้งนี้คุณวรุณเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงแนวคิดที่เกี่ยวกับการลดโลกร้อน อีกทั้งศูนย์ฯ ยังมีบริการให้คำปรึกษาด้านคาร์บอนฟุตพรินต์แก่องค์กรต่างๆ ที่สนใจอีกด้วย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ขึ้นเวทีตอกย้ำศักยภาพปิโตรแมทในการยกระดับการวิจัยไปสู่อุตสาหกรรม

ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ Empowering Plastic Industry with Academia-Industrial Partnerships ซึ่งจัดโดยวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ในงาน InterPlas Thailand 2022 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัมพิรา เจริญแสง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุทัยพร สุริยประภาดิลก และคุณไพศาล หล่อพงศ์ไพบูลย์ ผู้จัดการสมาคม ASEAN Vinyl Council (AVC) ได้ร่วมเสวนาในครั้งนี้ด้วย เริ่มต้นด้วยคุณไพศาล ซึ่งได้ให้ข้อมูลด้านวิสัยทัศน์และภารกิจของสมาคมฯ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับพลาสติกชนิดพอลิไวนิลคลอไรด์ที่ใช้ผลิตท่อพีวีซี โดยพลาสติกชนิดดังกล่าวมีความทนทานและสามารถใช้งานได้ยาวนาน หลังจากเสื่อมสภาพแล้วก็ยังสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ทั้งนี้การจัดการที่ดีจะทำให้พีวีซีเป็นพลาสติกที่เป็นมิตรมากขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ต่อมา ผศ.ดร.อัมพิรา และ ผศ.ดร.อุทัยพร ได้นำเสนอการทำงานและการวิจัยของทางวิทยาลัยฯ รวมถึงความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยฯ กับทางสมาคมฯ โดยทั้งสองมีโครงการวิจัยร่วมกันเกี่ยวกับการศึกษาพีวีซี รวมทั้งในด้าน Material Flow Analysis ซึ่งรวบรวมข้อมูลปริมาณการผลิต การใช้ และการกำจัด [...]
Read more

‘ปิโตรแมท’ รวมทีม ‘ศสอ.’ – ‘กลุ่มสภาอุตฯ’ จับมือ ‘บพข.’ ยกร่างเว็บไซต์ฐานข้อมูลการจัดการกากอุตสาหกรรม หนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย และกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการจัดกิจกรรม “สัมมนาระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบระบบการใช้งานเว็บไซต์ฐานข้อมูลการจัดการกากอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1” ภายใต้โครงการวิจัยเรื่องแนวทางการจัดการกากอุตสาหกรรมเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2564 ทั้งนี้เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มให้ข้อมูลการจัดการกากอุตสาหกรรมที่ครบถ้วนและถูกต้อง พร้อมสนับสนุนการแนวทางการนำกากอุตสาหกรรมไปใช้ประโยชน์ในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน สัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องประชุม The Chamber โรงแรม S31 Sukhumvit เวลา 09.00 - 12.00 น. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานเศรษฐกิจหมุนเวียน บพข. ได้ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดสัมมนา ต่อมาศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการปิโตรแมท และคุณธีระพล ติรวศิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม ได้นำเสนอที่มาและการดำเนินโครงการวิจัย จากนั้นนักวิจัยของ ศสอ. ได้แก่ คุณศุภลักษณ์ ชัยภูริมาศ และคุณกิติศักดิ์ สุวรรณนภาศรี ได้นำเสนอเว็บไซต์ฐานข้อมูลการจัดการกากอุตสาหกรรม อันประกอบไปด้วยเนื้อหาที่ครบถ้วน เช่น [...]
Read more