นักวิจัยศูนย์ฯ หารือ ‘เอสแอนด์เจ’ เตรียมต่อยอด ‘นาโนเซลลูโลส’ สู่ผลิตภัณฑ์สกินแคร์

ศาสตราจารย์ ดร.ดวงดาว อาจองค์ นักวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ สังกัดภาควิชาวัสดุศาสตร์ และอาจารย์ ดร.กมลวรรณ ภาคาผล ภาควิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้ประชุมเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 เพื่อหารือกับคณะทำงานของบริษัท เอสแอนด์เจอินเตอร์เนชั่นแนลเอ็นเตอร์ไพรส์ พลับบลิค จำกัด ในการร่วมมือกันพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ซึ่งต่อยอดจากผลงานนวัตกรรมในชื่อ 'Green Guardian' ของศ.ดร.ดวงดาว ที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการปั้นดาว โดยบริษัทฯ มีความสนใจผลิตภัณฑ์ในกลุ่มมาสก์บำรุงผิวหน้า โลชั่นบำรุงผิว ฯลฯ และมีความพร้อมด้านการผลิต ส่วนนักวิจัยศูนย์ฯ มีความรู้และความเชี่ยวชาญในตัวนวัตกรรมดังกล่าว และพร้อมให้ความร่วมมือในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

การผลักดันงานวิจัยสู่โลกการผลิตด้วยแนวทางของ R V Connex (ตอนที่ 1)

เรื่องโดย ฤทธิเดช แววนุกูล ถ้าได้ติดตามข่าวสงครามในปัจจุบัน อาวุธยุคใหม่ที่ถูกนำเข้ามาใช้งานมากขึ้นคืออากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle, UAV) หรือโดรน (Drone) ซึ่งมีการพัฒนาขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด ไม่ต่างจากที่เคยเห็นในภาพยนตร์ฮอลลีวูด สำหรับประเทศไทยเองก็มีการใช้งานโดรนอย่างแพร่หลายทั้งเป็นเครื่องเล่น ใช้ในการถ่ายภาพ ใช้ในการเกษตร เป็นต้น แต่ถ้าพูดถึงการใช้โดรนเพื่อการรบแล้ว ดูเหมือนจะเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ห่างไกลจากประเทศไทยมาก อาจจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศและต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาฝึกสอนนักบินเพื่อใช้งาน แต่ทราบหรือไม่ว่าอากาศยานไร้คนขับเพื่อการรบมีประจำที่กองทัพอากาศไทยเช่นกัน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด (R V Connex) ที่เป็นบริษัทของคนไทย 100% PETROMAT มีโอกาสร่วมมือกับ R V Connex ในการส่งนักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกอุตสาหกรรมไปทำโครงการวิจัยเรื่องการฟื้นสภาพแบตเตอรี่และการปรับสภาพชิ้นส่วนอากาศยานให้ทนต่อการกัดกร่อน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในครั้งนี้ PETROMAT ได้รับเกียรติในการเข้าสัมภาษณ์อย่างเป็นกันเองจากคุณพีรพล ตระกูลช่าง Managing Director/Manufacturing Director และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุเจตน์ [...]
Read more

ซูเปอร์เวิร์ม เขมือบพลาสติก พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย ขยะพลาสติกมีอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง จนมีการตรวจพบอนุภาคของพลาสติกในอากาศที่เราหายใจ อาหารที่เรากิน หรือแม้แต่ในเลือดของเรา การบริโภคและการกำจัดผลิตภัณฑ์พลาสติกของมนุษย์ยังสร้างมลพิษให้กับแหล่งที่อยู่อาศัยทั่วโลก รวมถึงในมหาสมุทร ซึ่งปัญหามลพิษจากพลาสติกก็กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น จนล่าสุด กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จาก University of Queensland's School of Chemistry and Molecular Biosciences ได้พยายามหาวิธีรีไซเคิลพลาสติก โดยค้นพบว่า ‘ซูเปอร์เวิร์ม’ (Superworms) หรือชื่อของหนอนตัวอ่อนด้วง Zophobas (ชื่อวิทยาศาสตร์: Zophobas morio) สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยการกินพลาสติกพอลิสไตรีน (Polystyrene) เป็นอาหาร เพราะจุลินทรีย์ในลำไส้ของหนอนสามารถย่อยสลายมันได้ ซูเปอร์เวิร์ม กำลังกินพลาสติกพอลิสไตรีน ตัวด้วง Zophobas ระยะโตเต็มวัย พอลิสไตรีน เป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาจากสไตรีนมอนอเมอร์ ซึ่งเป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากปิโตรเลียม โดยพอลิสไตรีนเป็นพลาสติกที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและพบได้ในบรรจุภัณฑ์ประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่น โฟม ภาชนะ ช้อนส้อมแบบใช้แล้วทิ้ง เป็นต้น บรรจุภัณฑ์พอลิสไตรีนประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง ในการทดลอง นักวิทยาศาสตร์แบ่งหนอนตัวอ่อนด้วง Zophobas 171 ตัวออกเป็น 3 [...]
Read more

แสดงความยินดีกับ Best Poster Presentation ในงาน PPC & PETROMAT SYMPOSIUM 2022

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

ศูนย์ฯ ร่วมกับวิทยาลัยปิโตรเลียม จุฬาฯ และ สมาคมวิศวกรรมเคมีฯ จัด PPC&PETROMAT Symposium 2022 พร้อมเชิญกูรู ‘มิตรผล’ เปิดมุมมองด้านคาร์บอนเครดิต

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้ร่วมกับวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ และสมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย ในการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ The 28th PPC Symposium on Petroleum, Petrochemicals, and Polymers and The 13th Research Symposium on Petrochemical and Materials Technology พร้อมกันในวันเดียวกันนี้ ศูนย์ฯ ได้จัดเสวนาในหัวข้อ “Carbon Credits in Organizations” โดยมีวิทยากรรับเชิญจากบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด เวลา 8.20 น. ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้กล่าวรายงานและต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม โดยศาสตราจารย์ ดร.ปราโมช รังสรรค์วิจิตร คณบดีวิทยาลัยปิโตรเลียม จุฬาฯ และคุณสุรเชษฐ์ ชโลธร นายกสมาคมวิศวกรรมเคมีฯ ได้ร่วมกล่าวรายงานด้วย [...]
Read more

ขอแสดงความยินดีแด่ คณาจารย์ที่ได้รับรางวัล ประจำปี 2565 จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

แอปพลิเคชันสุดว้าว! ถูกใจผู้ใช้รถยนต์ EV

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย จากกระแสของรถยนต์ไฟฟ้า หรือ รถยนต์ EV ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย มาตรการจากภาครัฐที่ส่งเสริมการใช้และผลิตรถยนต์ EV ทำให้หลาย ๆ ท่านเริ่มหันมาสนใจรถยนต์ EV กันมากขึ้น จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง “รถยนต์ไฟฟ้า...ทางเลือกใหม่ในการประหยัดเชื้อเพลิงน้ำมัน”  ได้กล่าวถึง รถยนต์ EV คืออะไร ประเภทของรถยนต์ EV ข้อดีและข้อเสียของรถยนต์ EV ที่สำคัญ คือ การเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายของรถยนต์ EV และรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ว่าแบบไหนประหยัดกว่ากัน ในบทความนี้ PETROMAT ได้รวบรวมแอปพลิเคชันที่ถูกคิดค้นและพัฒนามาเพื่อรองรับผู้ที่ใช้รถยนต์ EV โดยเฉพาะ และได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก นั่นคือ แอปพลิเคชันที่แสดงสถานีบริการชาร์จไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้รถยนต์ EV ในประเทศไทย ซึ่งมีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่ใช้งานรถยนต์ประเภทนี้ เราไปดูกันเลยครับ MEA EV เป็นแอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาและผลิตขึ้นโดยการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าและร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยแอปพลิเคชันนี้ใช้ค้นหา จอง และชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าทุกชนิดในประเทศไทย เปิดให้ใช้บริการสำหรับประชาชนทั่วไปทุกสถานีชาร์จในเครือการไฟฟ้านครหลวง ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการใช้บริการได้ที่ https://www.mea.or.th/content/detail/87/6535 [...]
Read more

ผู้อำนวยการศูนย์ฯ เป็นวิทยากรพิเศษ บรรยายเรื่องวัสดุเมมเบรนแบตเตอรี่ แก่ผู้บริหารบริษัท แอ็พพลาย ดีบี จำกัด

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้เดินทางไปยังบริษัท แอ็พพลาย ดีบี จำกัด (มหาชน) โดยได้รับการต้อนรับจากคณะผู้บริหารนำโดยคุณหวัง วนาไพรสณฑ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทฯ ในโอกาสที่ได้รับเชิญเป็นวิทยากรเพื่อบรรยายในหัวข้อ Recent Advances and Development on Battery Separators ในการบรรยายครั้งนี้ ศ.ดร.หทัยกานต์ ได้เล่าถึงการพัฒนาอุปกรณ์กักเก็บพลังงานรวมถึงแบตเตอรี่ โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่กำลังมีความก้าวหน้าอย่างมากในปัจจุบัน โดยส่วนสำคัญในการพัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนคือวัสดุเมมเบรนสำหรับกั้นระหว่างขั้วบวกและขั้วลบของแบตเตอรี่ดังกล่าว ซึ่งผลิตได้จากวัสดุหลากหลายประเภท อาทิ PVDF, PLA/PBS, Nylon, Polyimide, Polyurethane, Polyaniline และพอลิเมอร์ชนิดอื่นๆ โดยวัสดุแต่ละชนิดมีสมบัติและกระบวนการที่ต่างกันออกไปในการผลิตให้เป็นเมมเบรน อันส่งผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยเมื่อนำไปใช้งานในแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเป็นเทคโนโลยีด้านพลังงานไฟฟ้า ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้บริษัท แอ็พพลาย ดีบี เป็นผู้ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมผลิตเม็ดพลาสติกคอมพาวนด์ และกำลังมองหาโอกาสในการขยายธุรกิจสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ รวมถึงด้านพลังงาน ซึ่งเป็นความท้าทายของบริษัทฯ โดยศูนย์ฯ พร้อมให้การสนับสนุน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 [...]
Read more

ทางออกขยะกรุงเทพฯ กับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

เรื่องโดย ศุภวิชญ์ จันทน์ขาว กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่สร้างขยะมากที่สุดของประเทศไทย ปัจจุบันขยะส่วนใหญ่ถูกกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ ขณะเดียวกันกรุงเทพฯ มีแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยแบบมุ่งเน้นให้ขยะเหลือศูนย์ โดยสนับสนุนให้ลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง รวมถึงนำขยะไปแปรรูป ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน 10,000 ตัน คือขยะในแต่ละวันของกรุงเทพมหานคร ปริมาณขยะที่มากมายทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยตกค้าง ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการจัดเก็บรวบรวม การขนส่ง การคัดแยก ตลอดจนการนำไปกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ ซึ่งต้องอาศัยพื้นที่และงบประมาณจำนวนมากในการบริหารจัดการ ขณะเดียวกันปริมาณขยะที่มากมายเช่นนี้อาจชี้ให้เห็นว่าผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ มีพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรแบบฟุ่มเฟือย ข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอย โดยสำนักสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพฯ ระบุว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เดือนตุลาคม 2563 - เดือนกันยายน 2564) กรุงเทพฯ จัดเก็บขยะมูลฝอยรวมทั้งปีในปริมาณมากถึง 3.17 ล้านตัน หรือเฉลี่ยวันละ 8,674.73 ตัน ขณะที่กรมควบคุมมลพิษได้รายงานข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยทั่วประเทศ โดยระบุว่าในปีเดียวกันนี้ ขยะมูลฝอยในกรุงเทพฯ ที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ เช่น นำไปหมักทำปุ๋ยหรือรีไซเคิล มีเพียง ประมาณร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2560 ที่ขยะมีปริมาณมากที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือเฉลี่ยวันละ 10,526.92 [...]
Read more

ศูนย์ฯ จับมือญี่ปุ่น และ ‘สหวิริยาสตีล’ เตรียม​วิจัยใช้ ‘โฟโตคะตะไลซิส’ ผลิตก๊าซไฮโดรเจน

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ สานความร่วมมือกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมจิ ประเทศญี่ปุ่น และบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ในโครงการนำร่องพัฒนาการใช้วัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงเพื่อการผลิตก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมขอทุนดำเนินโครงการ เมื่อวานนี้ (9 มิ.ย. 2565) ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ รองศาสตราจารย์ ดร.พรนภา สุจริตวรกุล และทีมวิจัยของศูนย์ฯ ได้ประชุมร่วมกับ Professor Tomoaki Watanabe จาก ม.เมจิ พร้อมด้วยคุณสมศักดิ์ พิฆเนศวร ดร.อภิชญา แต้มเพ็ชร และคุณนุปกรณ์ คชรักษ์ ซึ่งเป็นคณะทำงานของสหวิริยาสตีลฯ ด้านเทคโนโลยีพลังงาน ภายใต้ความร่วมมือนี้ ทางญี่ปุ่นจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่สหวิริยาสตีลฯ โดยจะมีการผลิตวัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงให้ได้ในประเทศไทย จากนั้นจะนำวัสดุที่ผลิตขึ้นไปทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานในโรงงานต้นแบบ โดยวัสดุดังกล่าวสามารถแยกน้ำให้เป็นก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งนำไปพัฒนาต่อยอดร่วมกับเทคโนโลยีพลังงานไฮโดรเจนต่อไปได้ ทั้งนี้ศูนย์ฯ เป็นตัวเชื่อมนักวิจัยมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน และเป็นแกนนำในการขอทุนเพื่อดำเนินงาน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 [...]
Read more