คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

เรื่องโดย นุสรา จริยสกุลโรจน์ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint of Organization : CFO) เป็นเครื่องมือที่แสดงข้อมูลปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emissions and Removals) ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานและกิจกรรมขององค์กรในรูปคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า องค์กรสามารถนำผลที่ได้ไปใช้กำหนดแนวทางบริหารจัดการลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ณ แหล่งปล่อยที่มีนัยสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการและธุรกิจของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมในกรณีที่ภาครัฐกำหนดให้มีการรายงานข้อมูลก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Reporting) ขององค์กรต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางบริหารจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ได้จัดทำข้อกำหนดในการคำนวณและรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรขึ้นซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ISO 14064-1(2018), GHG Protocol (2001, 2004) และตัวอย่างบางส่วนจาก ISO/TR 14069 (2013) ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) แบ่งกิจกรรมที่มีการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานขององค์กรไว้ 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร (SCOPE I) [...]
Read more

Circular Economy Business Models พาธุรกิจสู่ความยั่งยืน

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง “แนวทาง 10R อัพเกรดอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน” ได้กล่าวถึง หลักสากลและแนวคิดเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน 10 หลักการ เรียกว่า หลักการสากล “10R” ซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลงและเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ในบทความนี้ ขอนำท่านผู้อ่านไปสัมผัสกับการนำหลักการ 10R และหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน มาพัฒนาและประยุกต์ใช้กับธุรกิจทั้งธุรกิจขนาดเล็กจนไปถึงธุรกิจขนาดใหญ่ รวมไปถึงอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นำไปสู่การไม่มีของเสียและมลพิษตลอดทั้งระบบสินค้าและบริการ เรียกว่า โมเดลทางธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy Business Models (CBM) ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ โมเดลทางธุรกิจของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน คืออะไร ? โมเดลทางธุรกิจของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Business Models ; CBM) คือ เครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ หรือ ผู้ที่มีส่วนร่วมในธุรกิจเลือกใช้ทรัพยากรทั้งหมดที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ปล่อยให้กระบวนการผลิตเพิ่มปริมาณของเสียเข้าไปสู่สิ่งแวดล้อมและไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมไปด้วยสารพิษ การปล่อยแก๊สเรือนกระจก และมลพิษ ซึ่งทำให้เกิดความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม แนวทางของทางเลือกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหมุนเวียน ได้แก่ [...]
Read more

ไมโครพลาสติก : ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย มนุษย์กินไมโครพลาสติก 5 กรัมต่อสัปดาห์ เมื่อปี พ.ศ.2563 ในงานศึกษาโดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล WWF ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลในออสเตรเลีย ทำการวิจัยหาปริมาณพลาสติกจากแหล่งธรรมชาติสู่วงจรบริโภคของมนุษย์ พบว่า มนุษย์อาจบริโภคไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกาย ในปริมาณกว่า 2,000 ชิ้น หรือ 5 กรัมต่อสัปดาห์ เทียบเท่ากับบัตรเครดิต 1 ใบ คิดเป็น 20 กรัมต่อเดือน 240 กรัมต่อปี ! การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้เกิดการศึกษา      ต่อยอดอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป เพื่อสร้างความเข้าใจและค้นหาความจริงถึงผลกระทบของพลาสติกที่มีต่อร่างกายและสุขภาพของมนุษย์ ปัจจุบันไมโครพลาสติกกลายเป็นปัญหามลพิษทางทะเลที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งทั่วโลก เนื่องจากไมโครพลาสติกมีขนาดเล็กมากทำให้ยากต่อการเก็บและกำจัด รวมถึงย่อยสลายได้ยาก เมื่อมีการระบายน้ำที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียลงสู่สิ่งแวดล้อม ไมโครพลาสติกจึงสามารถปนเปื้อน แพร่กระจาย สะสมและตกค้างในสิ่งแวดล้อมได้ง่าย โดยการแพร่กระจายของไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมพบได้ทั้งในน้ำจืด ตะกอนดินและในทะเล หากสิ่งมีชีวิตในทะเลกินไมโครพลาสติกเข้าไป ทำให้เกิดการสะสมในห่วงโซ่อาหาร (Food chain) และสามารถถ่ายทอดไปตามลำดับขั้นของการบริโภคอาหารในระบบนิเวศ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ไมโครพลาสติก (Microplastics) คืออะไร? ไมโครพลาสติก คือ [...]
Read more

สุดล้ำ…แอปตรวจโควิดด้วยเสียงไอ มาแน่ !

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยใหม่ BA.4 และ BA.5 ทั่วโลก เริ่มมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ต่อสัปดาห์สูงขึ้นเรื่อย ๆ อนึ่งการตรวจหาเชื้อด้วย Antigen Test Kit (ATK) ยังคงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับประชาชนทั่วไป เป็นสิ่งที่จะช่วยตรวจคัดกรองเบื้องต้น และช่วยยืนยันเพื่อสร้างความสบายใจว่าเรายังไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อ อีกทั้งเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดไปยังบุคคลในครอบครัวและบุคคลใกล้ชิดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การตรวจหาเชื้อด้วยวิธีดังกล่าว ยังคงมีค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้อชุดตรวจมาตรวจหาเชื้อด้วยตนเอง อีกทั้งในช่วงนี้ค่อนข้างมีราคาเพิ่มสูงมากขึ้น เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกครั้ง และบางท่านอาจจะต้องตรวจกันบ่อยจนเจ็บจมูกไปหมด ในวันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปสัมผัสความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 ในอนาคตอันใกล้ ด้วยการวิเคราะห์จาก “เสียงไอ” ผ่านแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า “ResApp” เราไปดูกันเลยครับ ResApp คืออะไร ? เป็นแอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาและคิดค้นขึ้นเพื่อช่วยตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 จากการวิเคราะห์เสียงไอด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ลดการเจ็บตัวในการที่ต้องแยงจมูกบ่อย ๆ และช่วยลดค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์ตรวจหาเชื้อ ซึ่งถูกพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์สายสุขภาพ บริษัท ResApp Health ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีสุขภาพจากประเทศออสเตรเลีย [...]
Read more

กัญชาน่ารู้

เรื่องโดย พรพิมล ชุ่มแจ่ม วันที่ 9 มิถุนายน 2565 คือวันที่ประเทศไทยมีการปลดล็อกกัญชา เราจะพบร้านอาหารและเครื่องดื่มหลายแห่งมีภาพใบไม้รูปฝ่ามือ มี  7 แฉก ปรากฎอยู่ในป้ายโฆษณาหน้าร้านกันมากขึ้น เพื่อชักชวนดึงดูดลูกค้าว่าอาหารและเครื่องดื่มมีส่วนผสมของ “กัญชา” ให้เข้ามาลิ้มลองและเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น กัญชาเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เป็นไม้ล้มลุกมีอายุเพียง 1 ปี ต้นสูงได้ถึง 2 เมตร ทุกส่วนมีขนปกคลุม ใบรูปฝ่ามือ ขอบใบหยักเว้าลึก ใบย่อยเล็ก 5 – 7 ใบ แต่ละใบย่อยเรียวยาว กว้าง 0.3 – 1.5 เซนติเมตร ยาว 6 – 10 เซนติเมตร ขอบใบจักฟันเลื่อย สีเขียวเข้ม ช่อดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น เป็นช่อกระจุก ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อเพศผู้อยู่ห่าง ๆ กัน มีเกสรเพศผู้ 5 อัน ดอกเล็ก ช่อเพศเมียออกเป็นกระจุก [...]
Read more

ไบโอพลาสติกจากผลไม้

เรื่องโดย นุรสา จริยสกุลโรจน์ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พลาสติกชีวภาพ หรือ พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Compostable Plastic) คือ พลาสติกที่ผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียม (Petroleum-based) หรือจากวัตถุดิบทางการเกษตร (Bio-based) ได้แก่ ข้าวโพด อ้อยและมันสำปะหลัง แต่ปัจจุบันพบว่ามีนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพใหม่ที่ผลิตจากเศษผลไม้ในส่วนของเปลือกไม่ว่าจะเป็น เปลือกล้วย เปลือกส้ม เปลือกมะเขือเทศ และเมล็ดอโวคาโด ซึ่งเป็นเศษผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาสร้างมูลค่าให้กับตลาดไบโอพลาสติก อโวคาโด ผลไม้ที่ให้พลังงานสูง อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และมีโปรตีนมากกว่าผลไม้อื่น ๆ เป็นผลไม้ที่คนไทยไม่ค่อยคุ้นเคยนัก แต่ผลไม้ชนิดนี้เป็นที่นิยมของผู้คนในอเมริกาเหนือและยุโรป จนทำให้มีการบริโภคสูงถึงปีละ 5 ล้านตัน และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อโวคาได้รับฉายาว่า “ทองคำสีเขียว” ของชาวเม็กซิโก เนื่องจากเป็นประเทศที่ส่งออกอโวคาโดมากที่สุดในโลก ปริมาณการส่งออกคิดเป็น 50% ของอโวคาโดที่ส่งออกทั่วโลก เม็กซิโกเป็นประเทศที่ส่งออกอโวคาโดมากที่สุดในโลก ที่มาภาพ : https://www.elfinanciero.com.mx/mundo/la-historia-de-como-el-aguacate-mexicano-conquisto-al-mundo/ https://www.cleanpng.com/png-hass-avocado-mexican-cuisine-fruit-food-health-4592020/ ในแต่ละเดือนอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากอโวคาโดของประเทศเม็กซิโกมีเมล็ดอโวคาโดเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตถูกทิ้งไปอย่างเสียเปล่ากว่า 30,000 เมตริกตัน เมล็ดอโวคาโดมีองค์ประกอบหลักเป็นคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตกรดแลคติก เมื่อกรดแลคติกผ่านกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชันได้เป็น “พอลิแลคติกแอซิด หรือ [...]
Read more

Circular Fashion ปฏิวัติวงการเสื้อผ้า พาของเหลือใช้ไปรันเวย์

เรื่องโดย ศุภวิชญ์ จันทน์ขาว เสื้อผ้าเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอก็มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันวงการแฟชั่นมีการใช้ทรัพยากรจำนวนมหาศาลและก่อให้เกิดขยะขึ้นมากมาย จึงต้องมีการปฏิวัติแฟชั่นครั้งใหม่เพื่อให้ทรัพยากรถูกใช้ไปอย่างยั่งยืน แฟชั่นปัจจุบันมาไวไปไวและกำลังทำลายสิ่งแวดล้อม แฟชั่นในปัจจุบันถูกเรียกว่าแฟชั่นหมุนเร็ว (Fast Fashion) เพราะมีการเปลี่ยนคอลเล็กชันเสื้อผ้าในลักษณะที่เรียกว่ามาไวไปไว เพื่อให้ทันต่อความทันสมัยและความต้องการของผู้บริโภค โดยผู้ประกอบธุรกิจมีการทำการตลาดให้ผู้บริโภคสามารถหาซื้อเสื้อผ้าได้ง่ายและซื้อบ่อยขึ้น ส่วนทางด้านผู้ผลิตก็อาจมีการลดระดับคุณภาพของวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้าเพื่อให้สินค้ามีราคาถูก ซึ่งกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อเสื้อผ้ามากขึ้น ทั้งนี้กระแสแฟชั่นที่มาไวไปไวและคุณภาพที่ด้อยลงของเสื้อผ้า ทำให้เสื้อผ้ามีอัตราการใช้งานที่น้อยครั้ง ในที่สุดก็ถูกทิ้งไปกลายเป็นขยะแฟชั่น ข้อมูลภาพรวมอุตสาหกรรมแฟชั่นทั่วโลก ซึ่งรายงานโดย World Economic Forum ระบุว่าในช่วงปี พ.ศ 2543 - 2558 มีการผลิตเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า เนื่องจากการเติบโตของชนชั้นกลางในประเทศกำลังพัฒนา และอัตราการบริโภคที่สูงขึ้นของประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตดี แต่อัตราการใช้งานเสื้อผ้าในช่วงเวลานี้กลับลดลงจากสมัยก่อนถึงร้อยละ 40 โดยส่วนใหญ่ถูกทิ้งไปเป็นขยะที่ต้องกำจัดด้วยวิธีเผาหรือฝังกลบในปริมาณมากถึงร้อยละ 75 โดยขยะเสื้อผ้าเพียงร้อยละ 12 เท่านั้นที่ได้รับการรีไซเคิล ในจำนวนดังกล่าวมีเพียงร้อยละ 1 ที่ได้รับการนำกลับไปผลิตเป็นเสื้อผ้าใหม่ ส่วนในประเทศไทยพบว่าในแต่ละปีจะมีขยะเสื้อผ้าและสิ่งทอกว่าร้อยละ 85 ถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยมีเพียงร้อยละ 15 ที่ได้รับการนำไปบริจาคหรือนำกลับไปรีไซเคิล ขยะในปริมาณมหาศาลที่ไม่ได้รับการหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ซ้ำ ทำให้ในแต่ละปีการผลิตเสื้อผ้าต้องใช้ทรัพยากรใหม่รวมกันทั้งโลกกว่า 98 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปหรือต้องใช้ไปอย่างสิ้นเปลือง [...]
Read more

จัดงานอย่างไร…ให้ยั่งยืนและคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

เรื่องโดย นุสรา จริยะสกุลโรจน์ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมส่วนตัว กิจกรรมการทำงานหรือกิจกรรมอื่นๆ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดก๊าซเรือนกระจกสาเหตุของภาวะโลกร้อน ไม่เว้นแม้กระทั่งการจัดงานอีเวนต์ ที่มีการใช้พลังงานหลายส่วนและขยะที่เกิดจากการจัดงานมากมาย จึงเป็นเรื่องดีไม่น้อย หากผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจหรือภาคส่วนต่างๆ ที่เป็นผู้จัดงาน ร่วมใจกันสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทำให้เกิดการจัดงานแบบยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับประเทศไทย สํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. (Thailand Convention & Exhibition Bureau (Public Organization) : TCEB) ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. (Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization) : TGO) ตอบสนองต่อกระแสขับเคลื่อนของโลกด้านความยั่งยืนโดยการผลักดันอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ให้มีการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN’s Sustainable Development Goals: SDGs) อุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) คือ [...]
Read more

Al-Rahaman Restaurant (อัล-ราฮามัน)

เรื่องโดย ธีรยา เชาว์ขุนทด นมัสเต!!! อาหารอินเดียกินไม่ยากอย่างที่คิด ลองชิมแล้วจะรักนะจ๊ะนายจ๋า หนึ่งในลิสต์ร้านอาหารอินเดียที่ไม่ลองถือว่าพลาด ใครเป็นสายอาหารอินเดีย ต้องไม่พลาดแวะมาชิมหลากเมนูแสนอร่อย มือใหม่หัดชิมที่อยากลองชิมอาหารอินเดีย ก็ควรมาลิ้มลองเมนูที่ร้าน Al -Rahaman Restaurant (อัล-ราฮามัน) ร้านอาหารอินเดียเล็ก ๆ ย่านบางรักที่เปิดมากว่า 7 ปีแล้ว นำโดยเชฟอับดุล รูฟ (Abdur Rouf) ชาวบังกลาเทศจากกรุงธากา (Dhaka) เมืองหลวงของประเทศบังกลาเทศ ซึ่งควบตำแหน่งเชฟและเจ้าของร้าน ร้านอาหารอินเดียสไตล์บังกลาเทศร้านนี้ เสิร์ฟอาหารอินเดียสูตรต้นตำรับแบบโฮมคุก เข้มข้นด้วยเครื่องเทศหอมอบอวลแต่ไม่แรงจนเกินไป ผสมผสานระหว่างอาหารของอินเดียตอนเหนือ ปากีสถาน บังกลาเทศ รวมถึงอาหรับเข้าด้วยกัน ถือเป็นร้านอาหารฮาลาลสำหรับชาวมุสลิมด้วย โดยดึงเอาจุดเด่นของแต่ละชาติออกมา แล้วปรับรสชาติให้ถูกปากคนไทย ที่สำคัญอาหารแต่ละจานจะถูกปรุงออกมาให้ถูกใจลูกค้ามากที่สุด ชอบรสชาติแบบไหน สามารถบอกเชฟได้เลย เมนูแนะนำ: ปานิปุรี (Panipuri) 60 บาท เมนูที่เรียกได้ว่าเป็น Indian Street Food แป้งทอดลูกกลมด้านในกลวง ทำจากแป้งสาลี ผสมกับแป้งเซโมลินา (ชาวอินเดียเรียกแป้งซูจิ) และน้ำมันพืช [...]
Read more

แนวทาง 10R อัปเกรดอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย แนวคิดและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลงและเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงประชาชนทั่วไป นั่นคือ แนวคิด “3R” ประกอบด้วย 1. Reduce เป็นการใช้ให้น้อยลง ลดการใช้วัสดุ ผลิตภัณฑ์ ที่ก่อให้เกิดขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น 2. Reuse เป็นการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้ซ้ำ 3. Recycle เป็นการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการ Recycle ได้ที่ “บทบาทของ Recycle ใน Circular Economy” ในปัจจุบันมีหลักสากลและแนวคิดเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนเพิ่มขึ้นอีก 7 หลักการ ซึ่งรวมกับหลักการที่มีอยู่เดิม เรียกว่า หลักการสากล “10R” ในวันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักและสัมผัสกับหลักการสากลดังกล่าว ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ หลักการสากลเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Model : 10R) ภาคอุตสาหกรรมที่มีการนำหลักการสากล 10R มาใช้ในองค์กร [...]
Read more