‘ปัญจวัฒนาพลาสติก’ นำทีม 3 บริษัท จับมือ ‘ปิโตรแมท’ พัฒนากำลังคนระดับสูง

วันที่ 5 พ.ค. 65 ผู้บริหารพร้อมด้วยคณะทำงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้เยี่ยมชมบริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด (มหาชน) ณ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 2 จ.ชลบุรี เพื่อติดตามความร่วมมือในโครงการ “การพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG ด้วยกลไกศูนย์ฯ ระยะที่ 2" โดยคุณกานต์ จินตอนันต์กุล Automotive Production Director ของบริษัทฯ ได้ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ในวันเดียวกันนี้ ศูนย์ฯ ยังได้รับฟังความก้าวหน้าและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิจัยผู้ร่วมโครงการฯ 4 ท่าน ซึ่งได้ทำวิจัยร่วมกับบริษัท 3 แห่ง ได้แก่ บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด บริษัท พีเจ เมดิคอล จำกัด และ บริษัท ธรรมานามัยเฮลท์คูซีน จำกัด สำหรับโครงการที่ร่วมมือกับปัญจวัฒนาพลาสติก นักวิจัย 2 ท่าน คือ ดร.ฐิตินันท์ ประดับแสง และ ดร.สุภัทร์ชัย [...]
Read more

ศูนย์ฯ ร่วมกับ ‘เคมี อินโนเวชั่น’ นำทัพสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ เน้นได้ประสบการณ์จริงจากอุตสาหกรรม

วันที่ 3 พ.ค. 65 คณะผู้บริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้เยี่ยมชมบริษัท เคมี อินโนเวชั่น จำกัด เพื่อติดตามความก้าวหน้าของนักวิจัยโครงการ “การพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG ด้วยกลไกศูนย์ฯ ระยะที่ 2" โดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้เข้าพบคณะกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทอินโนเวชั่น นำโดย ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล ประธานกลุ่มบริษัทฯ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับความสำคัญของโครงการฯ รวมถึงหารือแนวทางการบ่มเพาะนักวิจัยหลังปริญญาเอกให้มีความพร้อมสู่การทำงานในภาคอุตสาหกรรม สำหรับความร่วมมือภายใต้โครงการนี้ คุณภัทรวดี หนุนอนันต์ นักวิจัยผู้ได้รับทุนจากโครงการฯ ได้ร่วมกับทางบริษัทฯ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ถุงมือยางธรรมชาติ โดยมีการพบปะกับเกษตรกรในพื้นที่ และทำวิจัยจริงในโรงงาน ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ให้แก่นักวิจัย ในการยกระดับผลงานจากห้องทดลองไปสู่ผลิตภัณฑ์อันมีมุมมองด้านธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเป็นต้นแบบการพัฒนาบุคลากรจากภาคการศึกษาให้มีความพร้อมกับการเป็นนักวิจัยที่มีคุณภาพในภาคอุตสาหกรรม Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 [...]
Read more

ภาชนะจากธรรมชาติ

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย ปัจจุบันภาชนะใส่อาหารที่เราพบเห็นทั่วไปและหาซื้อได้ง่าย มักทำมาจากพลาสติก และเมื่อเราใช้เสร็จ พลาสติกเหล่านี้ก็จะกลายเป็นขยะที่ย่อยสลายยาก โดยพลาสติกอาจใช้เวลาในการย่อยสลายนานหลายร้อยปี หากนำไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบที่สร้งปัญหามลภาวะและทำให้โลกร้อน ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทั่วโลก วันนี้ PETROMAT ขอเชิญชวนทุกคนให้หันมาใช้ภาชนะจากธรรมชาติแทน ซึ่งนอกจากจะสวยเก๋ มีสไตล์ไม่เหมือนใครแล้ว ยังช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งและส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกรอีกด้วย ภาชนะจากธรรมชาติ  มีอะไรบ้างวันนี้เราจะเอาข้อมูลมาฝากกันค่ะ ใบเล็บครุฑลังกา เป็นพืชที่มีใบค่อนข้างหนา ลักษณะคล้ายชาม สามารถนำมาเป็นภาชนะใส่อาหารต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นของทอด ของนึ่งและของทานเล่น กินเสร็จก็สามารถทิ้งได้เลย ใบเล็บครุฑจะย่อยสลายเองตามธรรมชาติแต่สิ่งสำคัญอยู่ตรงที่ความคิดสร้างสรรค์และการใส่ใจสิ่งแวดล้อม จัดว่าเป็นไอเดียที่เก๋มากสำหรับยุคสมัยนี้ ภาชนะจากใบเล็บครุฑลังกา Credited ภาพ : https://acuisineth.com/food-story/ ใบตองตึง วัสดุท้องถิ่นของอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ภาชนะจากวัสดุธรรมชาติที่คิดค้นจากมันสมองของคนไทยและได้รับการยอมรับไกลในระดับโลก โดยผลงานนี้เป็นของรองนายกเทศมนตรีตำบลแม่เมาะ ซึ่งขณะนี้มีความต้องการซื้อจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ล่าสุดในการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 34 เมื่อปีพ.ศ. 2562 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ นายกรัฐมนตรีได้นำเอาจาน-ชามใบตองตึงแม่เมาะ มาเป็นภาชนะที่ใช้เสิร์ฟในงานเลี้ยงรับรองให้แก่คณะผู้นำที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย ภาชนะจากใบตองตึง Credited ภาพ : https://www.salika.co/2019/11/08/3-container-models-from-natural/ จานที่ผลิตจาก [...]
Read more

หลบร้อน ย้อนยุคกับร้าน (ไม่) ลับ Ginger Bread House!!!

เรื่องโดย ธีรยา เชาว์ขุนทด ร้อนนี้ PETROMAT ชวนแวะ Ginger Bread House หรือ“บ้านขนมปังขิง” กินขนมชมบรรยากาศย้อนยุคกับบ้านไม้เก่าสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2456 ตั้งอยู่ในซอยหลังโบสถ์พราหมณ์ ย่านเสาชิงช้า เป็นเรือนไทย สไตล์ฝรั่ง สัมผัสเสน่ห์บนลวดลายฉลุด้วยสถาปัตยกรรมแบบ Ginger Bread House ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตกในช่วงรัชกาลที่ 4 ลวดลายฉลุสวยงามและละเอียดอ่อนบนตัวบ้านมีความคล้ายคลึงกับ “บ้านขนมปังขิง” หรือคุกกี้ที่ชาวยุโรปมักจะทำกินในเทศกาลคริสต์มาส บ้านขนมปังขิงบูรณะจากบ้านไม้เก่าที่มีอายุกว่าร้อยปีสู่ร้านกาแฟกึ่งพิพิธภัณฑ์มีของตกแต่งบ้านที่หาชมยาก เมนูของที่นี่มีทั้งขนมไทย ขนมเค้ก และเครื่องดื่มเติมความสดชื่น แต่ไม่มีอาหารคาวนะคะ โซนที่นั่งมีทั้งด้านล่างและชั้นบน ซึ่งมีทั้งห้องปรับอากาศเป็นมุมที่อยู่ในห้องส่วนตัวและบรรยากาศแบบเปิดโล่ง เฟอร์นิเจอร์ผสมผสานแบบไทยและฝรั่ง พร้อมมุมถ่ายรูปสวย ๆ ให้เลือกถ่ายไว้เป็นที่ระลึกอีกด้วย โซนรับลมนั่งชมตัวบ้าน (โบราณ) บรรยากาศย้อนยุค อีกหนึ่งมุมเก๋ ๆ ที่นั่งเย็นสบายในห้องปรับอากาศชั้นบน เลือกนั่งมุมที่ชอบได้ทั้งบนและล่าง มุมสบายในห้องส่วนตัว เมนูแนะนำ: ชุดคุณหญิง ราคา 789 บาท เหมาะสำหรับ 2 - 3 คน [...]
Read more

ศูนย์ฯ จับมือ ‘ยูเนี่ยนไพโอเนียร์’ เจ้าของยี่ห้อวีนัส เตรียมยกระดับผลิตภัณฑ์ยางสู่ความยั่งยืน!

สองนักวิจัยปิโตรแมท ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.กนกทิพย์ บุญเกิด อาจารย์ภาควิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาฯ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ พุ่มประดับ อาจารย์ภาควิชาเคมีเทคนิค จุฬาฯ ได้ประชุมร่วมกับคุณษิกเวช โสภาพันธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยทีมนักวิจัยของบริษัท ยูเนี่ยนไพโอเนียร์ จำกัด (มหาชน) พร้อมกันนี้ยังได้เยี่ยมชมโรงงานของบริษัทฯ เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 21 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา บริษัทยูเนี่ยนไพโอเนียร์เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับยาง ที่รู้จักกันดีภายใต้ยี่ห้อวีนัส ซึ่งมีผลิตภัณฑ์หลายประเภท อาทิ แถบและเส้นยางยืดสำหรับทำเสื้อผ้า ยางยืดออกกำลังกาย ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ โจทย์ของบริษัทฯ คือต้องการปรับปรุงผลิตภัณฑ์จากยางให้มีความเป็นมิตรกับธรรมชาติมากขึ้น โดยปิโตรแมทพร้อมยืนหยัดวิจัยเคียงข้าง เพื่อเดินทางไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ทางบริษัทฯ ให้ความสำคัญ Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร [...]
Read more

รถยนต์ไฟฟ้า…ทางเลือกใหม่ในการประหยัดเชื้อเพลิงน้ำมัน

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย จากหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันที่นับวันมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า สาเหตุหลักเกิดจากความขัดแย้งระหว่างประเทศรัสเซีย ยูเครน และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายสำคัญของโลก และการลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มประเทศ OPEC ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลน อีกทั้ง สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยืดเยื้อมากว่า 2 ปี ทำให้เศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลกสะดุด จากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชน ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เติมน้ำมันสำหรับรถยนต์ส่วนบุคคล หรือแม้แต่ทางอ้อมอย่างการขนส่งสินค้าต่าง ๆ นวัตกรรมยุคใหม่เกี่ยวกับยานยนต์ที่กำลังได้รับความนิยมและพูดถึงเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเมื่อความเคลื่อนไหวของโลกกำลังให้ความสำคัญเกี่ยวกับพลังงานสะอาด และการลดการใช้น้ำมัน นั่นคือ “รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle)” หรือ เรียกสั้น ๆ ว่า “รถยนต์ EV” วันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านร่วมเดินทางไปกับการพัฒนายานยนต์ด้วยนวัตกรรมที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ข้อดีและข้อเสียเป็นอย่างไร และที่สำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้จริงหรือไม่ เริ่มออกเดินทางไปพร้อมกันเลยครับ รถยนต์ EV คืออะไร ? มาทำความรู้จักกันเถอะ “รถยนต์ EV” หรือ Electric Vehicle แปลได้อย่างตรงตัวว่ารถไฟฟ้า [...]
Read more

สมาชิกศูนย์ฯ ร่วมเป็นกรรมการในงาน NITAD18 Hackathon รวมพลคนรุ่นใหม่ แก้ไขปัญหาขยะชุมชน

สมาชิกศูนย์ฯ ร่วมเป็นกรรมการในงาน NITAD Hackathon กิจกรรมรวมพลคนรุ่นใหม่ แก้ไขปัญหาขยะชุมชน เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2565 คุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรมของศูนย์ฯ และผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ Chula Zero Waste ได้ร่วมเป็นกรรมการตัดสิน "นวัตกรรมการจัดการขยะสำหรับชุมชนโครงการบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง นิติ 1" ซึ่งเป็นโจทย์สำหรับการแข่งขันในงานนิทรรศทางวิชาการ ครั้งที่ 18 ที่จัดโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ (NITAD18) กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาได้เสนอแนวคิดการใช้ความรู้ในเชิงวิศวกรรม ในการจัดการขยะอย่างถูกต้อง และกระตุ้นผู้คนให้หันมามีส่วนร่วมในการแยกขยะให้มากขึ้น ทั้งหมดนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนเคหะบางโฉลง สู่การเป็นต้นแบบที่ชุมชนอื่นสามารถนำแนวทางการจัดการขยะไปปฏิบัติตาม ภาพกิจกรรม Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th [...]
Read more

เศรษฐกิจหมุนเวียน การเปลี่ยนแปลงในยูเครน

เรื่องโดย ศุภวิชญ์ จันทน์ขาว ยูเครนมีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก แต่ในอดีตยังขาดการบริหารการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมและในชุมชน ทำให้ทรัพยากรถูกใช้หมดไปอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งส่งผลต่อเนื่องต่อปริมาณของเสียที่กำลังเพิ่มขึ้น โดยยูเครนเป็นประเทศหนึ่งที่สนับสนุนให้มีการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ปัจจุบันจึงเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับอุตสาหกรรมและระดับชุมชน เปลี่ยนปัญหาทรัพยากรในประเทศ พัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน หากไม่เกิดภาวะเกิดสงคราม ในปี พ.ศ. 2565 ยูเครนจะอยู่ในช่วงที่ 2 จากทั้งหมด 3 ช่วงของการพัฒนาประเทศให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ตามแผนกลยุทธ์การจัดการของเสียในประเทศ (National Waste Management Strategy) ที่รัฐบาลยูเครนในขณะนั้นได้ผ่านมติรับรองเมื่อปี พ.ศ. 2560 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาเศรษฐกิจและปรับปรุงกระบวนการใช้ทรัพยากรในประเทศ ยูเครนมีประชากรประมาณ 44.6 ล้านคน โดยอัตราคนว่างงานคิดเป็น 9.3% ตัวเลขในปี พ.ศ. 2558 ระบุว่ายูเครนมีปริมาณพื้นที่การเกษตรครอบคลุมมากถึง 75% ของประเทศ และมีป่าไม้สะสมปริมาณ 2,196 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ประเทศในสหภาพยุโรป มีตัวเลขดังกล่าวเฉลี่ยอยู่ที่ 41% และ 950 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ นอกจากนี้ ยูเครนยังมีน้ำใช้ใหม่ (Renewable Water [...]
Read more

Circular Economy ใช้ประโยชน์ได้จริงหรือไม่

เรื่องโดย ฤทธิเดช แววนุกูล “คุณธีระพล ติรวศิน” ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อดีตวิศวกรสิ่งแวดล้อมจากรั้วจามจุรี เริ่มต้นจากการออกแบบระบบควบคุมมลพิษให้โรงงานอุตสาหกรรม เคยบริหารกิจการและดำรงตำแหน่ง MD บริษัทด้านสิ่งแวดล้อมในเครือ SCG เข้าร่วมกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่วันแรกที่จัดตั้ง และดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มฯ ในวาระปีปัจจุบัน • บทบาทและทิศทางของกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม • ความท้าทายในการยกระดับการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย • ความร่วมมือกับภาคการศึกษาและวิจัย Q : กลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม A: “หลังจากที่มีการประกาศใช้กฎหมายการจัดการกากอุตสาหกรรมในช่วงปี 2540 ส่งผลให้ธุรกิจด้านการจัดการของเสียเกิดขึ้นตามมา กลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อมจึงถูกจัดตั้งภายใต้ พ.ร.บ. ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2546 โดยสาเหตุที่รวมกลุ่มกันครั้งแรกนั้น เกิดจากปัญหาร่วมในข้อปลีกย่อยของกฎหมายที่มีจำนวนมาก ทั้งที่จริงแล้วกฎหมายออกมาเพื่อจัดการกับของเสียที่ไม่ได้ทำตามระบบหรือของเสียที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงโอกาสในการช่วยเหลือกันในธุรกิจด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพิงอุตสาหกรรมอื่นภายในประเทศ และมีการแข่งขันกันเอง แต่อย่างไรก็ตามก็มีลักษณะที่เราต้องช่วยเหลือกันในกลุ่มอุตสาหกรรม จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการก่อตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อมขึ้นมา” โดยคุณธีระพลได้เริ่มทำงานกับกลุ่มฯ ตั้งแต่วันแรกที่ก่อตั้ง “สมาชิกทุกคนจะมีบริษัทที่สังกัดอยู่ โดยมีความเห็นตรงกันว่าถ้าพวกเรามาร่วมกันมาช่วยกัน จะสามารถทำสิ่งที่มีประโยชน์และมีพลังได้มากกว่า และเช่นเดียวกันกับกลุ่มอื่นๆ ในสภาอุตสาหกรรมที่จะต้องมีประธานกลุ่ม ในกลุ่มฯ จึงมีการเลือกตั้งประธานกลุ่มสลับหมุนเวียนกันมา” คุณธีระพลได้สะสมประสบการณ์ในธุรกิจนี้ และปัจจุบันก็ยังทำงานด้านอื่นๆ [...]
Read more

แหล่งดูดซับคาร์บอนตามธรรมชาติของโลก

เรื่องโดย นุสรา จริยะสกุลโรจน์ แหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติของโลก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้พิธีสารเกียวโตและถูกกล่าวถึงมากที่สุดในปัจจุบันว่าเป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ก๊าซชนิดนี้มีองค์ประกอบของคาร์บอนซึ่งเป็นธาตุพื้นฐานที่ทำให้ระบบนิเวศของโลกเกิดความสมดุลและธรรมชาติเองก็ยังเป็นแหล่งกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ได้ที่เราเรียกว่า Carbon Sink นั่นเอง ตามข้อมูลของ Global Carbon Budget ได้แบ่งแหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติของโลกเป็น 3 แหล่งหลัก ๆ คือ ทะเล มหาสมุทร (เรียกคาร์บอนที่ถูกเก็บไว้ว่า Blue Carbon) ต้นไม้ ป่าไม้ (เรียกคาร์บอนที่ถูกเก็บไว้ว่า Green Carbon) ชั้นบรรยากาศ (Atmosphere) แหล่งกักเก็บคาร์บอนในชั้นบรรยากาศนี้เองที่กำลังมีปัญหา เนื่องจากเป็นการกักเก็บคาร์บอนในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นหรือเกิดภาวะโลกร้อน Green Carbon คาร์บอนจากชั้นบรรยากาศในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดูดซับและกักเก็บโดยต้นไม้ ป่าไม้และผืนดินที่ปกคลุมด้วยพืชพันธุ์ต่าง ๆ ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช การดูดซับคาร์บอนแบบนี้เป็นที่คุ้นเคยของคนทั่วไป เนื่องจากเป็นความรู้ขั้นพื้นฐานเรื่องการเจริญเติบโตของพืชผ่านการสังเคราะห์ด้วยแสงและมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยหลักในกระบวนการ พืชและป่าไม้จึงมีส่วนสำคัญในการหมุนเวียนคาร์บอน ด้วยความที่ Green Carbon อยู่บนผืนดินและกักเก็บคาร์บอนส่วนเกินไว้ในผืนดิน จึงถูกเรียกอีกอย่างว่า “Terrestrial Carbon Sink” [...]
Read more