นวัตกรรม ‘กล่องขนส่งโลหิตอัจฉริยะ’ รับรางวัลรองชนะเลิศในการประชุม IMRC2021

Smart Blood Transport Device นวัตกรรมโดยปิโตรแมทได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสองในการนำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่าในงานประชุมวิชาการด้านการแพทย์ International Medical Student Research Conference (IMRC2021) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคม 2564 โดยมีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า เป็นเจ้าภาพ.โดยนวัตกรรมกล่องขนส่งโลหิตอัจฉริยะหรือ Smart Blood Transport Device เป็นความร่วมมือกันระหว่าง ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ หัวหน้าโครงการ อาจารย์ นพ.เจตวรรณ ศิริอักษร แพทย์ประจำฝ่ายธนาคารเลือด โรงพยาบาลจุฬาฯ สภากาชาดไทย และอีกสองบริษัท ได้แก่ บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เสถียรพลาสติค แอนด์ ไฟเบอร์ จำกัด เพื่อพัฒนาอุปกรณ์สำหรับใช้ในการขนส่งโลหิตในโรงพยาบาลที่สามารถควบคุมและติดตามอุณหภูมิภายในอุปกรณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งช่วยรักษาคุณภาพของโลหิตให้คงไว้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดียิ่งขึ้น.นอกจากได้รับรางวัลแล้วนวัตกรรมดังกล่าวยังได้รับเลือกให้จัดแสดงในส่วน Innovation Showcase ในวันงานอีกด้วย       [...]
Read more

ผลิตภัณฑ์ Cello-gum’ สารคงตัวในอาหารจากวุ้นมะพร้าว สู่โรงงานต้นแบบ

ปิโตรแมทร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ในโครงการ 'การสกัดและการดัดแปรแบคทีเรียเซลลูโลสจากเศษวุ้นมะพร้าว สู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์' เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่โดยเริ่มจากสารให้ความคงตัวในอาหาร ภายใต้โครงการวิจัยปั้นดาวที่สนับสนุนโดย สป.อว..ทั้งนี้เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2564 คณะผู้ประเมินโครงการวิจัยนำโดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ได้ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการฯ ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงงานต้นแบบ บริษัท อําพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จํากัด ร่วมกับการประชุมออนไลน์ โดยในวันดังกล่าว ศ.ดร.หทัยกานต์ ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย Cello-gum พร้อมด้วยทีมงาน ได้ร่วมนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการฯ และได้นำคณะผู้ประเมินไปเยี่ยมชมโรงงานต้นแบบที่ใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์.Cello-gum คือนวัตกรรมการแปรรูปเศษวุ้นมะพร้าวโดยสกัดให้เป็นแบคทีเรียลเซลลูโลสบริสุทธิ์ ซึ่งมีมูลค่าสูงเนื่องจากสามารถดัดแปรและนำไปใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรม โดยนักวิจัยเล็งใช้ประโยชน์เป็นสารให้ความคงตัวในการผลิตอาหาร ก่อนจะพัฒนาต่อไปสู่อุตสาหกรรมอื่น เช่น ยาและเครื่องสำอาง       Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 [...]
Read more

3D Printing: เทคโนโลยีของโลกยุคใหม่

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ (3D printing) คือนวัตกรรมเปลี่ยนโลกที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เป็นเทคโนโลยีที่ถูกคิดค้นมากว่า 30 ปีและกำลังขยายการใช้งานเข้าสู่ผู้ใช้ระดับครัวเรือนมากขึ้นในราคาที่ต่ำลงเรื่อย ๆ จนมีผู้นำไปพัฒนาต่อยอดและประยุกต์ใช้ในแวดวงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เครื่องพิมพ์ 3 มิติสามารถสร้างชิ้นงานได้ด้วยวัสดุหลากหลายแบบ ทั้งพลาสติก ยาง โลหะ ไนล่อน อัลลอย ฯลฯ โดยเครื่องพิมพ์ 3 มิติสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท ขึ้นอยู่กับวิธีการขึ้นรูปชิ้นงานและวัสดุที่สามารถพิมพ์ได้ ถึงแม้เครื่องพิมพ์แต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันแต่หลักการพื้นฐานยังเหมือนเดิมคือ “ขึ้นรูปชิ้นงานโดยการเติมเนื้อวัสดุทีละชั้น” บทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจเทคโนโลยีแบบต่าง ๆ ของเครื่องพิมพ์ 3 มิติกัน Fused Deposition Modeling (FDM) เป็นเทคโนโลยี 3D Printing ที่แพร่หลายที่สุด เนื่องจากมีราคาถูก เครื่องพิมพ์ประเภทนี้ทำงานโดยการทำความร้อนละลายเส้นพลาสติก (Filament) แล้วฉีดพลาสติกออกมาตามรูปทรงหน้าตัดของชิ้นงานทีละชั้นซ้อนกันเรื่อย ๆ จนได้เป็นชิ้นงาน เหมาะสำหรับทำชิ้นงานต้นแบบอย่างรวดเร็ว มีข้อดีคือราคาถูก ใช้งานง่ายและมีวัสดุให้เลือกใช้หลายชนิด (ABS, PLA, Flexible, Nylon, [...]
Read more

‘Film Protextor’ ฟิล์มยางธรรมชาติปกป้องพื้นผิววัสดุ ใช้เสร็จแล้วลอกออกได้! พัฒนาสู่ความสำเร็จโดยนักวิจัยปิโตรแมท

ศูนย์ฯ และ ศาสตราจารย์ ดร.นพิดา หิญชีระนันทน์ ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมมือกันในโครงการ ‘การพัฒนาฟิล์มยางธรรมชาติแบบลอกออกได้ เพื่อประยุกต์ใช้ในงานเคลือบผิววัสดุในงานก่อสร้าง’ ภายใต้การสนับสนุนโดย สป.อว. ผ่านโครงการวิจัยปั้นดาว โดยผลผลิตจากความร่วมมือขณะนี้ก้าวสู่ขั้นทดสอบโดยผู้ใช้งานจริงในตลาด ผลิตภัณฑ์นี้อยู่ภายใต้ชื่อ Film Protextor คือยางธรรมชาติสูตรน้ำสำหรับทาหรือพ่นลงบนวัสดุ เช่น กระจก กระเบื้อง และเซรามิก ซึ่งต้องการการเคลือบผิวแบบชั่วคราว เพื่อป้องกันน้ำ รอยขูดขีด สะเก็ดไฟ หรืออันตรายอื่นที่อาจทำให้วัสดุเสียหายระหว่างการขนส่ง การก่อสร้าง ฯลฯ เมื่อเสร็จงานแล้วสามารถลอกออกมาเป็นแผ่นฟิล์มได้อย่างง่ายดายโดยไม่ทำลายพื้นผิวนั้น ทั้งนี้ ได้มีการติดตามและประเมินความก้าวหน้าของโครงการวิจัย ซึ่งมีศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เป็นหัวหน้าคณะผู้ประเมินโครงการฯ โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น ณ อาคารวิจัย จุฬาฯ ร่วมกับการประชุมแบบออนไลน์ในวันที่ 24 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 [...]
Read more

ปิโตรแมทจัด ‘คลับเฮาส์’ ชวนนักวิจัยจับเข่าคุยกันเพื่อปรับตัวให้ทันใจอุตสาหกรรมในโลกยุคใหม่

กลับมาอีกครั้งกับการประชุม ‘โครงการการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG’ โครงการที่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน (บพค.) ต่อเนื่องกันเป็นปีที่สอง ภายหลังจากที่โครงการในระยะแรกประสบความสำเร็จไปแล้วเมื่อปีก่อน โดยในวันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2564 ศูนย์ฯ ได้จัดกิจกรรมให้นักวิจัยผู้ร่วมโครงการฯ ในปีนี้ได้รายงานความก้าวหน้าของการวิจัยเป็นครั้งที่หนึ่ง พร้อมร่วมรับฟังและนำเสนอข้อคิดเห็นในช่วงของการเสวนา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุม จามจุรี เอ โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส กรุงเทพฯ และอีกส่วนเข้าร่วมประชุมทางออนไลน์ งานเริ่มในช่วงเช้า โดยผู้อำนวยการศูนย์ฯ ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ เป็นผู้เปิดงาน หลังจากนั้นเป็นการเสวนาในหัวข้อ ‘PETROMAT CLUBHOUSE : เปิดโลกนักวิจัยรุ่นใหม่ ปรับตัวอย่างไรให้ทันใจอุตสาหกรรม’ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนมุมมองกันระหว่างนักวิจัยนำโดยวิทยากร ได้แก่ คุณธรรมนูญ เดโชพลชัย Special Director บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ผู้เป็นตัวแทนของภาคอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายปลายทางของการสร้างนักวิจัย ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ และตัวแทนของอาจารย์จากภาคการศึกษา ซึ่งเป็นผู้บ่มเพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ และ [...]
Read more

บุกเยี่ยมโรงเรียน MWIT พกนวัตกรรมรับมือโควิดไปโชว์

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ นำโดย ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ศ.ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการฯ และ ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย ผู้ประสานงานอุตสาหกรรมของศูนย์ฯ ได้เข้าพบผู้บริหารและคณาจารย์สาขาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เพื่อนำผลงานนวัตกรรมที่คิดค้นเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ไปแนะนำและสาธิตแก่ทางโรงเรียนฯ โดยมี ผศ.ดร.สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ ร่วมนำผลงานนวัตกรรมไปแสดงในครั้งนี้ด้วย โดยผลงานที่ศูนย์ฯ นำไปเสนอมีสองชิ้น ได้แก่ "Ultra We" กล่องห่วงใย ไร้เชื้อด้วยยูวีซี ซึ่งประดิษฐ์ร่วมกับ ผศ.ดร.เมธี สายศรีหยุด และ ผศ.ดร.ชลิดา เนียมนุ้ย ภาควิชาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส่วนอีกผลงานคือ "GermGuard" แผ่นกรองอากาศเคลือบสารสกัดเปลือกมังคุด ที่สามารถป้องกันทั้งฝุ่น PM 2.5 พร้อมต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส ซึ่งเป็นผลงานของ ศ.ดร.พิชญ์ ศุภผล วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ในขณะที่ ผศ.ดร.สมชาย [...]
Read more