ผู้อำนวยการศูนย์ฯ เป็นวิทยากรพิเศษ บรรยายเรื่องวัสดุเมมเบรนแบตเตอรี่ แก่ผู้บริหารบริษัท แอ็พพลาย ดีบี จำกัด

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้เดินทางไปยังบริษัท แอ็พพลาย ดีบี จำกัด (มหาชน) โดยได้รับการต้อนรับจากคณะผู้บริหารนำโดยคุณหวัง วนาไพรสณฑ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทฯ ในโอกาสที่ได้รับเชิญเป็นวิทยากรเพื่อบรรยายในหัวข้อ Recent Advances and Development on Battery Separators ในการบรรยายครั้งนี้ ศ.ดร.หทัยกานต์ ได้เล่าถึงการพัฒนาอุปกรณ์กักเก็บพลังงานรวมถึงแบตเตอรี่ โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่กำลังมีความก้าวหน้าอย่างมากในปัจจุบัน โดยส่วนสำคัญในการพัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนคือวัสดุเมมเบรนสำหรับกั้นระหว่างขั้วบวกและขั้วลบของแบตเตอรี่ดังกล่าว ซึ่งผลิตได้จากวัสดุหลากหลายประเภท อาทิ PVDF, PLA/PBS, Nylon, Polyimide, Polyurethane, Polyaniline และพอลิเมอร์ชนิดอื่นๆ โดยวัสดุแต่ละชนิดมีสมบัติและกระบวนการที่ต่างกันออกไปในการผลิตให้เป็นเมมเบรน อันส่งผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยเมื่อนำไปใช้งานในแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเป็นเทคโนโลยีด้านพลังงานไฟฟ้า ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้บริษัท แอ็พพลาย ดีบี เป็นผู้ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมผลิตเม็ดพลาสติกคอมพาวนด์ และกำลังมองหาโอกาสในการขยายธุรกิจสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ รวมถึงด้านพลังงาน ซึ่งเป็นความท้าทายของบริษัทฯ โดยศูนย์ฯ พร้อมให้การสนับสนุน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 [...]
Read more

ทางออกขยะกรุงเทพฯ กับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

เรื่องโดย ศุภวิชญ์ จันทน์ขาว กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่สร้างขยะมากที่สุดของประเทศไทย ปัจจุบันขยะส่วนใหญ่ถูกกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ ขณะเดียวกันกรุงเทพฯ มีแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยแบบมุ่งเน้นให้ขยะเหลือศูนย์ โดยสนับสนุนให้ลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง รวมถึงนำขยะไปแปรรูป ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน 10,000 ตัน คือขยะในแต่ละวันของกรุงเทพมหานคร ปริมาณขยะที่มากมายทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยตกค้าง ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการจัดเก็บรวบรวม การขนส่ง การคัดแยก ตลอดจนการนำไปกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ ซึ่งต้องอาศัยพื้นที่และงบประมาณจำนวนมากในการบริหารจัดการ ขณะเดียวกันปริมาณขยะที่มากมายเช่นนี้อาจชี้ให้เห็นว่าผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ มีพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรแบบฟุ่มเฟือย ข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอย โดยสำนักสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพฯ ระบุว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เดือนตุลาคม 2563 - เดือนกันยายน 2564) กรุงเทพฯ จัดเก็บขยะมูลฝอยรวมทั้งปีในปริมาณมากถึง 3.17 ล้านตัน หรือเฉลี่ยวันละ 8,674.73 ตัน ขณะที่กรมควบคุมมลพิษได้รายงานข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยทั่วประเทศ โดยระบุว่าในปีเดียวกันนี้ ขยะมูลฝอยในกรุงเทพฯ ที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ เช่น นำไปหมักทำปุ๋ยหรือรีไซเคิล มีเพียง ประมาณร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2560 ที่ขยะมีปริมาณมากที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือเฉลี่ยวันละ 10,526.92 [...]
Read more

ศูนย์ฯ จับมือญี่ปุ่น และ ‘สหวิริยาสตีล’ เตรียม​วิจัยใช้ ‘โฟโตคะตะไลซิส’ ผลิตก๊าซไฮโดรเจน

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ สานความร่วมมือกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมจิ ประเทศญี่ปุ่น และบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ในโครงการนำร่องพัฒนาการใช้วัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงเพื่อการผลิตก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมขอทุนดำเนินโครงการ เมื่อวานนี้ (9 มิ.ย. 2565) ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ รองศาสตราจารย์ ดร.พรนภา สุจริตวรกุล และทีมวิจัยของศูนย์ฯ ได้ประชุมร่วมกับ Professor Tomoaki Watanabe จาก ม.เมจิ พร้อมด้วยคุณสมศักดิ์ พิฆเนศวร ดร.อภิชญา แต้มเพ็ชร และคุณนุปกรณ์ คชรักษ์ ซึ่งเป็นคณะทำงานของสหวิริยาสตีลฯ ด้านเทคโนโลยีพลังงาน ภายใต้ความร่วมมือนี้ ทางญี่ปุ่นจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่สหวิริยาสตีลฯ โดยจะมีการผลิตวัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงให้ได้ในประเทศไทย จากนั้นจะนำวัสดุที่ผลิตขึ้นไปทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานในโรงงานต้นแบบ โดยวัสดุดังกล่าวสามารถแยกน้ำให้เป็นก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งนำไปพัฒนาต่อยอดร่วมกับเทคโนโลยีพลังงานไฮโดรเจนต่อไปได้ ทั้งนี้ศูนย์ฯ เป็นตัวเชื่อมนักวิจัยมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน และเป็นแกนนำในการขอทุนเพื่อดำเนินงาน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 [...]
Read more

พลังงานหมุนเวียน ทดแทนการใช้พลังงานน้ำมัน

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย จากปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน ทำให้เกิดการมองหาพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ได้มาจากการผลิตด้วยน้ำมันมากขึ้น การมองหาพลังงานทางเลือกที่จะนำมาทดแทนการใช้พลังงานน้ำมัน เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่จะมีการพูดถึงแหล่งพลังงานทางเลือกมากขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบกับราคาน้ำมัน นอกจากนี้แหล่งพลังงานทางเลือกยังเป็นเทรนด์พลังงานสะอาดที่ทั่วโลกให้ความสนใจ มาดูกันว่าพลังงานที่สามารถทดแทนการใช้น้ำมันนั้นมีอะไรบ้าง พลังงานหมุนเวียนคืออะไร พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) คือพลังงานที่ใช้ไม่หมด สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติรอบ ๆ ตัวเรา รวมถึงผลผลิตและวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรก็สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานหมุนเวียนได้ ปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานทางเลือกที่นำมาใช้ทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หินน้ำมันและทรายน้ำมัน เป็นต้น พลังงานหมุนเวียนจึงถือเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อมลพิษ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะพลังงานเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศและยังสามารถส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย ประเภทของพลังงานหมุนเวียน พลังงานหมุนเวียนที่ทั่วโลกนิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานชีวมวลและพลังงานจากขยะ พลังงานน้ำ (Hydropower)  พลังงานน้ำ (Hydropower) เป็นแหล่งพลังงานธรรรมชาติที่มีให้หมุนเวียนใช้อย่างไม่มีวันหมดและเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นอกจากนี้น้ำยังสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการเปลี่ยนรูปของพลังงานจากน้ำที่เก็บกักในเขื่อน (พลังงานศักย์) ไหลผ่านท่อส่งน้ำ (พลังงานจลน์) ปั่นเครื่องกังหันน้ำ [...]
Read more

ศูนย์ฯ ร่วมกับ ‘อาร์ วี คอนเน็กซ์’ คอนเน็กต์นักวิจัยรุ่นใหม่ เสริมความแข็งแกร่งอุตสาหกรรมไทยด้านแบตเตอรี่และอากาศยาน

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ร่วมกับบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด ในการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก ภายใต้โครงการที่ได้รับทุนผ่านหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2565 คณะทำงานของศูนย์ฯ นำโดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ ได้เดินทางไปบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการดังกล่าว ในโอกาสนี้ได้เข้าพบผู้บริหารของบริษัทฯ ได้แก่ คุณพีรพล ตระกูลช่าง (Managing/ Manufacturing Director) และรองศาสตราจารย์ ดร.สุเจตน์ จันทรังษ์ (VP Innovation R&D) คุณพีรพลได้เล่าภาพรวมเกี่ยวกับบริษัทฯ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้พัฒนาขึ้น โดยอาร์ วี คอนเน็กซ์ เติบโตจากธุรกิจอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ ก่อนที่ปัจจุบันนี้จะขยายสู่ธุรกิจการบินและอากาศยานไร้คนขับ ทั้งนี้งานวิจัยที่ร่วมกับศูนย์ฯ เกี่ยวกับการพัฒนาแบตเตอรี่และชิ้นส่วนอากาศยาน นักวิจัยผู้รับทุนโครงการนี้สองท่าน ได้แก่ ดร.อัษฏางค์ ไตรตั้งวงศ์ และ [...]
Read more

PETROMAT จับมือ SHERA เดินหน้าสร้างนักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก สานต่อโพรเจกต์วัสดุก่อสร้างสมรรถนะสูง

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ร่วมกับบริษัท เฌอร่า จำกัด (มหาชน) ภายใต้โครงการเรื่องการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก ด้วยกลไกศูนย์ฯ ครั้งนี้ต่อเนื่องกันเป็นปีที่สอง ในการต่อยอดการวิจัยด้านวัสดุก่อสร้าง วันที่ 30 พ.ค. 2565 คณะทำงานของปิโตรแมท นำโดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมบริษัท วงษ์พิทักษ์ คอนกรีตมิกเซอร์ จำกัด และบริษัทในเครือวงษ์พิทักษ์ ที่จังหวัดราชบุรี พร้อมกันนี้ยังได้ติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยฯ ที่ร่วมกับทางเฌอร่าตลอดช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ดร.บัณฑิต โคตรฐิติธรรม ผู้รับทุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก ผ่านหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) และ ดร.วิชิต ประกายพรรณ นักวิจัยพี่เลี้ยงจากเฌอร่า ได้ร่วมกับบริษัทในเครือวงษ์พิทักษ์ เพื่อดำเนินการวิจัยเรื่อง "การศึกษาวิจัยเชิงอุตสาหกรรมในการพัฒนาวัสดุคอมโพสิตสมรรถนะสูงเพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง" ในวันดังกล่าว ดร.บัณฑิต ได้นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้ทำสำเร็จเมื่อรับทุนในปีแรก ซึ่งเกี่ยวกับการพัฒนาวัสดุจีโอพอลิเมอร์ ที่แข็งแรงทนทานคล้ายกับคอนกรีต แต่จีโอพอลิเมอร์มีข้อดีเหนือว่าคอนกรีตเพราะสามารถผลิตได้ที่อุณหภูมิห้อง ทั้งนี้ผลผลิตที่เกิดขึ้นได้นำไปต่อยอดเป็นหลังคาอันมีรูปลักษณ์เหมือนไม้ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของเฌอร่า ส่วนในปีนี้ ดร.บัณฑิต กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ Precast Concrete [...]
Read more

มารู้จัก Staycation เที่ยวใกล้ประหยัดเวลา พาสบายกระเป๋า

เรื่องโดย พรพิมล ชุ่มแจ่ม Staycations เป็นการผสมคำระหว่าง Stay ที่แปลว่า “อยู่บ้าน” และ Vacation ที่แปลว่า “การพักผ่อน” ซึ่งนำมารวมกันแล้วหมายถึงการพักผ่อนอยู่กับบ้าน ซึ่งการพักผ่อนแบบนี้นับเป็นไอเดียที่ดีที่เหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเพราะพิษโควิด แถมยังประหยัดค่าใช้จ่าย ในการท่องเที่ยวสถานที่ใกล้บ้าน ไม่ว่าจะเป็นการพักโรงแรม การกินดื่มตามคาเฟ่ทั่วไป หรือการไปสปานวดพักร่างกาย เมื่อปี พ.ศ. 2550 - 2551 เกิดวิกฤตการเงินทั่วโลกที่รู้จักกันในชื่อ “Hamburger Crisis” ทำให้การพักผ่อนท่องเที่ยว เป็นในรูปแบบที่ไม่ต้องใช้เงิน ท่องเที่ยวในประเทศ ในถิ่นใกล้บ้าน ไลฟ์สไตล์แบบ Staycation จึงได้ถือกำเนิดขึ้น การท่องเที่ยวเช่นนี้นิยมเที่ยวกันทั่วโลก ดิกชันนารีของ Merriam-Webster’s Collegiate ได้บรรจุคำศัพท์ Staycation ในปี พ.ศ. 2552 โดยมีความหมายถึงการพักผ่อนโดยไปเที่ยวในประเทศ หรือ ในเมืองที่ตัวเองอยู่ นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ประโยชน์ของ Staycation ผ่อนคลายความเครียดจากชีวิตประจำวันการทำงาน กลับบ้าน ทำให้เกิดความเหนื่อยล้า ความเครียดสะสม การออกไปพักผ่อนจึงทำให้เปลี่ยนสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดความเครียดได้ [...]
Read more

ปิโตรแมทจัดไลฟ์ Bioplastic Forum ครั้งแรก ตีโจทย์แตก! มาตรฐานไบโอพลาสติก-ฟู้ดแพกเกจจิ้ง

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (ปิโตรแมท) ร่วมกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ในการจัดเสวนาไบโอพลาสติก ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ Bioplastics for Food Packaging "ตีโจทย์ไบโอพลาสติก พลิกตลาดบรรจุภัณฑ์" ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ในช่วงเช้าของวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 เมื่อเวลา 10.30 น. ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการปิโตรแมท ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน ต่อมาการเสวนาจึงเริ่มต้นขึ้นโดยวิทยากรทั้ง 3 ท่าน คุณประกฤต หฤหรรษาพร ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจ Bio-compostable บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่มาและความสำคัญของการหันมาใช้ไบโอพลาสติก ชนิดและการประยุกต์ใช้งานของไบโอพลาสติกแต่ละประเภท รวมถึงได้อัปเดทผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติกที่พัฒนาขึ้นโดยเอสซีจีซี หลังจากนั้น คุณศลินา แสงทอง นักวิชาการอาหารและยาชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้บรรยายในเรื่องข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร โดยขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมร่างประกาศฉบับใหม่ ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาการใช้พลาสติกรีไซเคิลและบรรจุภัณฑ์มัลทิเลเยอร์ต่าง ๆ และที่น่าสนใจคือในอนาคตจะอนุญาตให้สามารถใช้พลาสติกรีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารได้ด้วย โดยจะเริ่มจากพลาสติกชนิด PET [...]
Read more

ปิโตรแมทแท็กทีม ‘เอสซีจีซี’ เดินหน้าสร้างโพสต์ด็อก ปีที่ 2 ต่อยอดงานวิจัยไบโอพลาสติก

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ร่วมกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ภายใต้โครงการเรื่องการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกฯ ในการวิจัยด้านไบโอพลาสติก ครั้งนี้ต่อเนื่องกันเป็นปีที่สอง วันที่ 26 พ.ค. 2565 ศูนย์ฯ ได้จัดประชุมออนไลน์ร่วมกันระหว่างผู้ร่วมโครงการฯ เพื่อให้ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ พร้อมด้วยคณะทำงานของศูนย์ฯ ได้รับฟังการนำเสนอความก้าวหน้าในผลงานของ ดร.วราภรณ์ สุจริตรักษ์ นักวิจัยหลังปริญญาเอก ผู้รับทุนโครงการนี้ ซึ่งมี ดร.เมธี ขำดวง เป็นนักวิจัยพี่เลี้ยง สำหรับปีนี้ ดร.วราภรณ์ ดำเนินโครงการวิจัยเกี่ยวกับการตรวจสอบพลาสติกย่อยสลายได้ โดยพัฒนาชุดตรวจที่สามารถลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบดังกล่าว รวมถึงได้พัฒนาชุดตรวจสอบความเป็นพิษในดินเมื่อพลาสติกเกิดการย่อยสลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสร้างมาตรฐานในการตรวจสอบพลาสติก ต่างกับการทำวิจัยในมหาวิทยาลัย โดยดร.วราภรณ์ เผยว่าโจทย์วิจัยที่ได้จากภาคอุตสาหกรรมจะเปิดกว้างกว่า และสามารถแก้ไขปัญหาของสังคมได้อย่างจริงจัง ทั้งนี้ตนได้พัฒนาองค์ความรู้เพิ่มเติมทั้งด้านเคมีและด้านชีวภาพ กระทั่งงานวิจัยสำเร็จลุล่วง ส่วนดร.เมธี เห็นว่านักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกมีศักยภาพสูงในการช่วยพัฒนานวัตกรรมให้กับอุตสาหกรรม โดยทางบริษัทฯ พร้อมสนับสนุนโครงการพัฒนานักวิจัยในลักษณะนี้ร่วมกับทางภาครัฐและทางศูนย์ฯ ทั้งในครั้งนี้ที่ต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว และในภายภาคหน้า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 [...]
Read more