แนวทาง 10R อัปเกรดอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย

แนวคิดและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลงและเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงประชาชนทั่วไป นั่นคือ แนวคิด “3R” ประกอบด้วย
1. Reduce เป็นการใช้ให้น้อยลง ลดการใช้วัสดุ ผลิตภัณฑ์ ที่ก่อให้เกิดขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น
2. Reuse เป็นการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้ซ้ำ
3. Recycle เป็นการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการ Recycle ได้ที่ “บทบาทของ Recycle ใน Circular Economy

ในปัจจุบันมีหลักสากลและแนวคิดเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนเพิ่มขึ้นอีก 7 หลักการ ซึ่งรวมกับหลักการที่มีอยู่เดิม เรียกว่า หลักการสากล “10R” ในวันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักและสัมผัสกับหลักการสากลดังกล่าว ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ

หลักการสากลเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Model : 10R)

ภาคอุตสาหกรรมที่มีการนำหลักการสากล 10R มาใช้ในองค์กร

ตัวอย่างของภาคอุตสาหกรรมที่มีการนำหลักการสากล 10R มาใช้ในการดำเนินการทางธุรกิจเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าและได้ประโยชน์สูงสุด โดยการทำวิจัยนี้อยู่ภายใต้โครงการวิจัย “มาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมพลาสติกระดับ SMEs” โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และ นางสาวสมัญญา ปาระมี ทำวิจัยร่วมกับ บริษัท ตัง บรรจุภัณฑ์ จำกัด นำหลักการและเทคโนโลยีด้าน Circular design และ Refuse มาประยุกต์ใช้ในการทำวิจัย เพื่อสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ถุงพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ จากพอลิแลคติคแอซิด (PLA) ด้วยกระบวนการเป่าขึ้นรูปถุงพลาสติกที่ใช้ในอุตสาหกรรมเดิมสำหรับพอลิเอธิลีน (PE)

ดร.ชวนชม อ่วมเนตร และ นายอภิวัฒน์ พงศ์วิสุทธิรัชต์ ทำวิจัยร่วมกับ บริษัท จึงจิบเชียง รีไซเคิล 2008 จำกัด (บริษัท อุดร รีไซเคิล จำกัด) นำหลักการและเทคโนโลยีด้าน Recycle และ Reuse มาประยุกต์ใช้ในการทำวิจัย โดยการนำ PVC recycle มาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตท่อทางการเกษตรและนำวัตถุดิบเหลือใช้ กากของเสีย หรือผลิตภัณฑ์ที่ถูกกำจัด กลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดปริมาณการใช้ PVC บริสุทธิ์ในกระบวนการผลิตลงร้อยละ 10

แหล่งข้อมูล
[1] https://www.greennetworkthailand.com/ลดปริมาณขยะ-แนวคิด-3r/
[2] https://www.ksc.net/greenit/7tips.html
[3] https://www.lombardodier.com/contents/corporate-news/responsible-capital/2020/september/the-10-steps-to-a-circular-econo.html
[4] ดร.ภัสราพร พลับเจริญสุข กรมโรงงานอุตสาหกรรม เนื้อหาวิชาหลักสูตร การสร้างที่ปรึกษาการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในโรงงานอุตสาหกรรม (Circular Economy Coach) ภายใต้โครงการมาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน
[5] ศ. ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ เอกสารประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนและเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในโรงงานอุตสาหกรรม
[6] https://www.designorate.com/the-future-circular-economy-circular-design/
[7] https://petromat.org/2022/prototype-grant/

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
  petromat@chula.ac.th