ขอแสดงความยินดีแด่ คณาจารย์ที่ได้รับรางวัล ประจำปี 2565 จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

ผู้อำนวยการศูนย์ฯ เป็นวิทยากรพิเศษ บรรยายเรื่องวัสดุเมมเบรนแบตเตอรี่ แก่ผู้บริหารบริษัท แอ็พพลาย ดีบี จำกัด

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้เดินทางไปยังบริษัท แอ็พพลาย ดีบี จำกัด (มหาชน) โดยได้รับการต้อนรับจากคณะผู้บริหารนำโดยคุณหวัง วนาไพรสณฑ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทฯ ในโอกาสที่ได้รับเชิญเป็นวิทยากรเพื่อบรรยายในหัวข้อ Recent Advances and Development on Battery Separators ในการบรรยายครั้งนี้ ศ.ดร.หทัยกานต์ ได้เล่าถึงการพัฒนาอุปกรณ์กักเก็บพลังงานรวมถึงแบตเตอรี่ โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่กำลังมีความก้าวหน้าอย่างมากในปัจจุบัน โดยส่วนสำคัญในการพัฒนาแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนคือวัสดุเมมเบรนสำหรับกั้นระหว่างขั้วบวกและขั้วลบของแบตเตอรี่ดังกล่าว ซึ่งผลิตได้จากวัสดุหลากหลายประเภท อาทิ PVDF, PLA/PBS, Nylon, Polyimide, Polyurethane, Polyaniline และพอลิเมอร์ชนิดอื่นๆ โดยวัสดุแต่ละชนิดมีสมบัติและกระบวนการที่ต่างกันออกไปในการผลิตให้เป็นเมมเบรน อันส่งผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยเมื่อนำไปใช้งานในแบตเตอรี่ แบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเป็นเทคโนโลยีด้านพลังงานไฟฟ้า ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้บริษัท แอ็พพลาย ดีบี เป็นผู้ดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมผลิตเม็ดพลาสติกคอมพาวนด์ และกำลังมองหาโอกาสในการขยายธุรกิจสู่อุตสาหกรรมใหม่ๆ รวมถึงด้านพลังงาน ซึ่งเป็นความท้าทายของบริษัทฯ โดยศูนย์ฯ พร้อมให้การสนับสนุน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 [...]
Read more

ศูนย์ฯ จับมือญี่ปุ่น และ ‘สหวิริยาสตีล’ เตรียม​วิจัยใช้ ‘โฟโตคะตะไลซิส’ ผลิตก๊าซไฮโดรเจน

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ สานความร่วมมือกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมจิ ประเทศญี่ปุ่น และบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ในโครงการนำร่องพัฒนาการใช้วัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงเพื่อการผลิตก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมขอทุนดำเนินโครงการ เมื่อวานนี้ (9 มิ.ย. 2565) ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ รองศาสตราจารย์ ดร.พรนภา สุจริตวรกุล และทีมวิจัยของศูนย์ฯ ได้ประชุมร่วมกับ Professor Tomoaki Watanabe จาก ม.เมจิ พร้อมด้วยคุณสมศักดิ์ พิฆเนศวร ดร.อภิชญา แต้มเพ็ชร และคุณนุปกรณ์ คชรักษ์ ซึ่งเป็นคณะทำงานของสหวิริยาสตีลฯ ด้านเทคโนโลยีพลังงาน ภายใต้ความร่วมมือนี้ ทางญี่ปุ่นจะถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่สหวิริยาสตีลฯ โดยจะมีการผลิตวัสดุตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงให้ได้ในประเทศไทย จากนั้นจะนำวัสดุที่ผลิตขึ้นไปทดสอบประสิทธิภาพการใช้งานในโรงงานต้นแบบ โดยวัสดุดังกล่าวสามารถแยกน้ำให้เป็นก๊าซไฮโดรเจน ซึ่งนำไปพัฒนาต่อยอดร่วมกับเทคโนโลยีพลังงานไฮโดรเจนต่อไปได้ ทั้งนี้ศูนย์ฯ เป็นตัวเชื่อมนักวิจัยมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน และเป็นแกนนำในการขอทุนเพื่อดำเนินงาน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 [...]
Read more

ศูนย์ฯ ร่วมกับ ‘อาร์ วี คอนเน็กซ์’ คอนเน็กต์นักวิจัยรุ่นใหม่ เสริมความแข็งแกร่งอุตสาหกรรมไทยด้านแบตเตอรี่และอากาศยาน

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ร่วมกับบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด ในการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก ภายใต้โครงการที่ได้รับทุนผ่านหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) เมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2565 คณะทำงานของศูนย์ฯ นำโดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ ได้เดินทางไปบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการดังกล่าว ในโอกาสนี้ได้เข้าพบผู้บริหารของบริษัทฯ ได้แก่ คุณพีรพล ตระกูลช่าง (Managing/ Manufacturing Director) และรองศาสตราจารย์ ดร.สุเจตน์ จันทรังษ์ (VP Innovation R&D) คุณพีรพลได้เล่าภาพรวมเกี่ยวกับบริษัทฯ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้พัฒนาขึ้น โดยอาร์ วี คอนเน็กซ์ เติบโตจากธุรกิจอุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ ก่อนที่ปัจจุบันนี้จะขยายสู่ธุรกิจการบินและอากาศยานไร้คนขับ ทั้งนี้งานวิจัยที่ร่วมกับศูนย์ฯ เกี่ยวกับการพัฒนาแบตเตอรี่และชิ้นส่วนอากาศยาน นักวิจัยผู้รับทุนโครงการนี้สองท่าน ได้แก่ ดร.อัษฏางค์ ไตรตั้งวงศ์ และ [...]
Read more

PETROMAT จับมือ SHERA เดินหน้าสร้างนักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก สานต่อโพรเจกต์วัสดุก่อสร้างสมรรถนะสูง

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ร่วมกับบริษัท เฌอร่า จำกัด (มหาชน) ภายใต้โครงการเรื่องการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก ด้วยกลไกศูนย์ฯ ครั้งนี้ต่อเนื่องกันเป็นปีที่สอง ในการต่อยอดการวิจัยด้านวัสดุก่อสร้าง วันที่ 30 พ.ค. 2565 คณะทำงานของปิโตรแมท นำโดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมบริษัท วงษ์พิทักษ์ คอนกรีตมิกเซอร์ จำกัด และบริษัทในเครือวงษ์พิทักษ์ ที่จังหวัดราชบุรี พร้อมกันนี้ยังได้ติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยฯ ที่ร่วมกับทางเฌอร่าตลอดช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ดร.บัณฑิต โคตรฐิติธรรม ผู้รับทุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก ผ่านหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) และ ดร.วิชิต ประกายพรรณ นักวิจัยพี่เลี้ยงจากเฌอร่า ได้ร่วมกับบริษัทในเครือวงษ์พิทักษ์ เพื่อดำเนินการวิจัยเรื่อง "การศึกษาวิจัยเชิงอุตสาหกรรมในการพัฒนาวัสดุคอมโพสิตสมรรถนะสูงเพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง" ในวันดังกล่าว ดร.บัณฑิต ได้นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้ทำสำเร็จเมื่อรับทุนในปีแรก ซึ่งเกี่ยวกับการพัฒนาวัสดุจีโอพอลิเมอร์ ที่แข็งแรงทนทานคล้ายกับคอนกรีต แต่จีโอพอลิเมอร์มีข้อดีเหนือว่าคอนกรีตเพราะสามารถผลิตได้ที่อุณหภูมิห้อง ทั้งนี้ผลผลิตที่เกิดขึ้นได้นำไปต่อยอดเป็นหลังคาอันมีรูปลักษณ์เหมือนไม้ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของเฌอร่า ส่วนในปีนี้ ดร.บัณฑิต กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ Precast Concrete [...]
Read more

ปิโตรแมทจัดไลฟ์ Bioplastic Forum ครั้งแรก ตีโจทย์แตก! มาตรฐานไบโอพลาสติก-ฟู้ดแพกเกจจิ้ง

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (ปิโตรแมท) ร่วมกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ในการจัดเสวนาไบโอพลาสติก ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ Bioplastics for Food Packaging "ตีโจทย์ไบโอพลาสติก พลิกตลาดบรรจุภัณฑ์" ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ในช่วงเช้าของวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 เมื่อเวลา 10.30 น. ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการปิโตรแมท ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงาน ต่อมาการเสวนาจึงเริ่มต้นขึ้นโดยวิทยากรทั้ง 3 ท่าน คุณประกฤต หฤหรรษาพร ผู้จัดการฝ่ายธุรกิจ Bio-compostable บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่มาและความสำคัญของการหันมาใช้ไบโอพลาสติก ชนิดและการประยุกต์ใช้งานของไบโอพลาสติกแต่ละประเภท รวมถึงได้อัปเดทผลิตภัณฑ์ไบโอพลาสติกที่พัฒนาขึ้นโดยเอสซีจีซี หลังจากนั้น คุณศลินา แสงทอง นักวิชาการอาหารและยาชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้บรรยายในเรื่องข้อกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร โดยขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมร่างประกาศฉบับใหม่ ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาการใช้พลาสติกรีไซเคิลและบรรจุภัณฑ์มัลทิเลเยอร์ต่าง ๆ และที่น่าสนใจคือในอนาคตจะอนุญาตให้สามารถใช้พลาสติกรีไซเคิลเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารได้ด้วย โดยจะเริ่มจากพลาสติกชนิด PET [...]
Read more

ปิโตรแมทแท็กทีม ‘เอสซีจีซี’ เดินหน้าสร้างโพสต์ด็อก ปีที่ 2 ต่อยอดงานวิจัยไบโอพลาสติก

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ร่วมกับบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ภายใต้โครงการเรื่องการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกฯ ในการวิจัยด้านไบโอพลาสติก ครั้งนี้ต่อเนื่องกันเป็นปีที่สอง วันที่ 26 พ.ค. 2565 ศูนย์ฯ ได้จัดประชุมออนไลน์ร่วมกันระหว่างผู้ร่วมโครงการฯ เพื่อให้ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ พร้อมด้วยคณะทำงานของศูนย์ฯ ได้รับฟังการนำเสนอความก้าวหน้าในผลงานของ ดร.วราภรณ์ สุจริตรักษ์ นักวิจัยหลังปริญญาเอก ผู้รับทุนโครงการนี้ ซึ่งมี ดร.เมธี ขำดวง เป็นนักวิจัยพี่เลี้ยง สำหรับปีนี้ ดร.วราภรณ์ ดำเนินโครงการวิจัยเกี่ยวกับการตรวจสอบพลาสติกย่อยสลายได้ โดยพัฒนาชุดตรวจที่สามารถลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบดังกล่าว รวมถึงได้พัฒนาชุดตรวจสอบความเป็นพิษในดินเมื่อพลาสติกเกิดการย่อยสลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสร้างมาตรฐานในการตรวจสอบพลาสติก ต่างกับการทำวิจัยในมหาวิทยาลัย โดยดร.วราภรณ์ เผยว่าโจทย์วิจัยที่ได้จากภาคอุตสาหกรรมจะเปิดกว้างกว่า และสามารถแก้ไขปัญหาของสังคมได้อย่างจริงจัง ทั้งนี้ตนได้พัฒนาองค์ความรู้เพิ่มเติมทั้งด้านเคมีและด้านชีวภาพ กระทั่งงานวิจัยสำเร็จลุล่วง ส่วนดร.เมธี เห็นว่านักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกมีศักยภาพสูงในการช่วยพัฒนานวัตกรรมให้กับอุตสาหกรรม โดยทางบริษัทฯ พร้อมสนับสนุนโครงการพัฒนานักวิจัยในลักษณะนี้ร่วมกับทางภาครัฐและทางศูนย์ฯ ทั้งในครั้งนี้ที่ต่อเนื่องมาจากปีที่แล้ว และในภายภาคหน้า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 [...]
Read more

ศูนย์ฯ จับมือ ‘สงวนวงษ์สตาร์ช’ ร่วมโครงการสุดต๊าช! พัฒนานักวิจัยสร้างพรีไบโอติกจากมันสำปะหลัง

วันที่ 24 พ.ค. 2565 ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ พร้อมด้วยผู้บริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้เดินทางไปยังจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเยี่ยมชม บริษัท สงวนวงษ์สตาร์ช จำกัด ซึ่งร่วมกับศูนย์ฯ ในโครงการเรื่องการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกฯ ทั้งนี้เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับนวัตกรรมพรีไบโอติกจากแป้งมันสำปะหลัง ดร.ศุภรดา จันทรทิณ นักวิจัยหลังปริญญาเอกและผู้รับทุนโครงการฯ ได้เปิดใจกับทีมงานของศูนย์ฯ ว่างานวิจัยของตนได้เดินหน้าตามแผนที่วางไว้ โดยตนได้รับประสบการณ์โดยเฉพาะเรื่องการจัดสรรเวลาเมื่อทำงานร่วมกับทางภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากมีระยะเวลาจำกัดในการทำงาน และต้องนำเสนอความก้าวหน้าในงานวิจัยทุกสัปดาห์ เพื่อให้ผลงานสำเร็จลุล่วงได้อย่างรวดเร็ว ด้านคุณพิมพ์มนิดา พิวัฒนาทักษ์ นักวิจัยพี่เลี้ยงของบริษัทสงวนวงษ์สตาร์ช ระบุถึงความสำเร็จของโครงการนี้ไว้ว่า ความร่วมมือกับศูนย์ฯ ในครั้งนี้ ทำให้การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของทางบริษัทฯ เดินหน้าได้อย่างก้าวกระโดด เพราะดร.ศุภรดาสามารถใช้เวลาทุ่มเทกับการวิจัยได้อย่างเต็มที่ โดยทางบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมตั้งแต่ก่อนหน้านี้ ขณะที่โครงการนี้ทำให้ผู้บริหารของสงวนวงษ์สตาร์ชเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานักวิจัยระดับสูง ซึ่งจะเป็นกำลังในการพัฒนานวัตกรรมให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากแป้งมันสำปะหลัง ปัจจุบันบริษัทฯ มีแผนในการสร้างโรงงานต้นแบบเพื่อต่อยอดผลงานนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากฝีมือของดร.ศุภรดา จึงนับเป็นความสำเร็จที่เกินความคาดหมายจากการทำโครงการของศูนย์ฯ Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 [...]
Read more

‘ปตท.’ หารือนักวิจัยปิโตรแมท เล็งจับมือพัฒนากระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ

วันที่ 22 มิถุนายน 2565 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ มีการเจรจาความร่วมมือกับ สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งนำโดยศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ดร.สุชาดา ฉิ่มอ่ำ หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีวิจัยกระบวนการและพลังงานประยุกต์ของสถาบันฯ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ อิ่มยิ้ม อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในนักวิจัยศูนย์ฯ ได้ร่วมหารือด้วย สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ดร.ธเนศร์ ดนุไทย นักวิจัยของ ปตท. ได้แนะนำให้รู้จักสถาบันฯ และงานวิจัยที่สนใจ ขณะที่ รศ.ดร.อภิชาติ ได้นำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการสร้างความร่วมมือร่วมกันภายใต้การดำเนินการของศูนย์ฯ โดยจะเน้นการพัฒนากระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 [...]
Read more