ทีมวิจัยศูนย์ฯ ลงพื้นที่สมุย ประเดิมโครงการสร้างต้นแบบชุมชนด้านการลดขยะอาหาร

เริ่มลงพื้นที่จริงแล้ว สำหรับโครงการวิจัยเรื่อง "การบริหารจัดการขยะอาหารเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนเกาะสมุยและเป็นชุมชนต้นแบบด้านความมั่นคงด้านอาหาร" ซึ่งได้รับทุนจาก สวก. ให้ดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ครั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และหัวหน้าโครงการฯ ได้นำทีมนักวิจัยออกเดินทางพร้อมผู้ร่วมงาน เพื่อศึกษาข้อมูลการจัดการขยะอาหารและสถานการณ์ของปัญหาขยะที่พบในปัจจุบัน โดยทีมวิจัยได้สำรวจพื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งอำเภอเกาะสมุย ระหว่างวันที่ 29 - 31 มีนาคม 2565 พื้นที่ที่ได้ไปสำรวจประกอบด้วย วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นต้นสังกัดของ ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ หนึ่งในนักวิจัยผู้ร่วมโครงการฯ ส่วนพื้นที่อื่นๆ ที่ได้มีการสำรวจ เช่น พื้นที่เตาเผาขยะของเทศบาล ตำบลมะเร็ต โรงแรมและรีสอร์ท รวมถึงพื้นที่ชุมชนต่างๆ ทั้งนี้การลงพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้ทีมวิจัยได้ข้อมูลเกี่ยวกับการทิ้งและการจัดการอาหารส่วนเกิน อย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้ในพิ้นที่ของเกาะสมุย ก่อนจะเตรียมทำวิจัยสู่ขั้นตอนต่อไปของโครงการฯ เพื่อให้บรรลุตามแผน "Samui Zero Food Waste" Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 [...]
Read more

3D Printing เทคโนโลยีปฏิวัติวงการทันตกรรม

  เรื่องโดย นุสรา จริยะสกุลโรจน์ การพิมพ์สามมิติ หรือ 3D Printing เป็นเทคโนโลยีที่ปัจจุบันถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีตัวเลือกหลากหลายในท้องตลาดและประกอบกับราคาที่ถูกลง ทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย โดยเริ่มตั้งแต่การนำมาใช้ในระดับครัวเรือนจนถึงการนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรมและหลายสาขาอาชีพไม่เว้นแม้แต่งานด้านทันตกรรม ซึ่งทำให้การรักษาผู้ป่วยด้านทันตกรรมมีประสิทธิภาพและมีทางเลือกมากขึ้น ที่มาภาพ : https://www.pinterest.com/pin/758152918521121203/ 3D Printing เหมาะกับงานด้านทันตกรรมอย่างมาก เนื่องจากช่องปากและฟันของคนเรามีสัดส่วนและขนาดที่ไม่เหมือนกัน ทำให้ในการผลิตชิ้นงานหรืออุปกรณ์ที่ใช้หรือช่วยในการรักษาจำเป็นต้องมีรูปร่างและขนาดที่จำเพาะเจาะจงกับผู้ป่วยแต่ละคน เช่น การทำครอบฟัน ฟันปลอม และการรักษาทางทันตกรรมต่าง ๆ ในงานด้านทันตกรรมไม่ว่าจะเป็นการทำฟันปลอม Splints (อุปกรณ์ช่วยยึดฟันทั้งเฝือกสบฟันและอุปกรณ์สำหรับใช้ในการผ่าตัดขากรรไกร) และอุปกรณ์ครอบฟันบางประเภท มีขั้นตอนหลักในการทำโมเดลฟันแบบเดิมคือ ทันตแพทย์จะใช้วิธีการพิมพ์ปากผู้ป่วยด้วยวัสดุพิมพ์ที่มีอยู่หลากหลาย ชนิดวัสดุพิมพ์ที่นิยมใช้เรียกว่า “อัลจิเนต” ซึ่งเป็นวัสดุพิมพ์ปากในกลุ่มไฮโดรคอลลอยด์ (Hydrocolloid) มีกลิ่นคล้ายยาสีฟัน ผลิตขึ้นโดยการสกัดกรดอัลจินิก (alginic acid: anhydro-ß-d-mannuronic acid) จากสาหร่ายสีน้ำตาล เมื่อใส่เข้าไปในปาก ประมาณ 1-2 นาที อัลจิเนตจะแข็งตัวและดึงออกมาเป็นแบบรอยพิมพ์ฟัน ทันตแพทย์จะส่งแบบพิมพ์ฟันให้กับช่างทันตกรรมหรือห้องปฏิบัติการทางทันตกรรมต่าง ๆ ช่างทันตกรรมต้องผสมปูนปลาสเตอร์หล่อแบบขึ้นมาจากรอยพิมพ์ที่ทันตแพทย์ส่งมาให้ได้เป็นโมเดลฟัน ทันตแพทย์จะนำโมเดลฟันที่ได้ไปออกแบบการรักษาและทำเป็นชิ้นงาน เช่น ฟันปลอม สปริ๊นท์ และอุปกรณ์ครอบฟันบางประเภท โดยใช้วัสดุเป็นขี้ผึ้งและผ่านกระบวนการอัดด้วยวัสดุที่เหมาะสมกับชิ้นงานที่ใช้ในการรักษา เช่น [...]
Read more

พัฒนาผลิตภัณฑ์ยางยืดสู่ความยั่งยืน ความร่วมมือใหม่ระหว่างศูนย์ฯ กับ Union Pioneer

ปิโตรแมทนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกทิพย์ บุญเกิด อาจารย์ภาควิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาฯ และนักวิจัยของศูนย์ฯ ได้ร่วมประชุมกับคุณษิกเวช โสภาพันธุ์ รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยทีมนักวิจัยของบริษัท ยูเนี่ยนไพโอเนียร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ โดยการประชุมจัดขึ้นเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 24 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ปิโตรแมทนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกทิพย์ บุญเกิด อาจารย์ภาควิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาฯ และนักวิจัยของศูนย์ฯ ได้ร่วมประชุมกับคุณษิกเวช โสภาพันธุ์ รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยทีมนักวิจัยของบริษัท ยูเนี่ยนไพโอเนียร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ โดยการประชุมจัดขึ้นเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 24 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน [...]
Read more

อาจารย์​ ‘เคมี จุฬาฯ’ ได้รับรางวัลและเงินทุนฯ จาก มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย

มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย มอบรางวัลและเงินทุนฯ ครั้งที่ 28 พ.ศ. 2564 รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเภทสภาบันศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเคมีไฟฟ้าและแสงนำโดย ศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล เงินทุนช่วยเหลือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโครงการของ อาจารย์ ดร.จัญจุดา อุ่นเรืองศรี Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

บทบาทของ Recycle ใน Circular Economy

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง “Circular Economy คืออะไร…PETROMAT มีคำตอบ” ได้กล่าวถึง ความเป็นมาและนิยามของเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือที่เรียกว่า “Circular Economy” มุมมองและการนำแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้กับธุรกิจในองค์กร และ อีกหนึ่งบทความเรื่อง “Circular Economy แนวคิดธุรกิจโลกยุคใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ได้กล่าวถึง ปัญหาที่เกิดจากเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม หรือ เศรษฐกิจแบบเส้นตรง (Linear Economy) และ การแก้ไขปัญหาระบบเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมไปถึงข้อดีของเศรษฐกิจหมุนเวียน ในบทความนี้ ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับคำว่า “รีไซเคิล” (Recycle) ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญมากในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน การรีไซเคิลอยู่ตรงไหนของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และการนำกระบวนการรีไซเคิลไปประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลยครับ รีไซเคิล คืออะไร ? “รีไซเคิล” (Recycle) คือ การจัดการวัสดุเหลือใช้ที่กำลังจะกลายเป็นขยะ การนำสิ่งที่เราไม่สามารถที่จะใช้ซ้ำได้แล้ว ซึ่งอาจจะฉีกขาด แตกหัก กลับไปเข้ากระบวนการแปรรูปให้เป็นวัตถุดิบ โดยนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพ โดยเฉพาะการหลอม เพื่อให้เป็นวัสดุใหม่แล้วนำกลับมาใช้ได้อีกและมีคุณภาพเทียบเท่าหรือใกล้เคียงของเดิม ซึ่งวัสดุที่ผ่านการแปรสภาพนั้นอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ได้ [1] ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ [...]
Read more

ศูนย์ฯ ร่วมกับกรมโรงงานฯ จัดอบรมหลักสูตรด้าน ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’

จัดขึ้นเป็นครั้งที่สองแล้วสำหรับหลักสูตร 'เศรษฐกิจหมุนเวียนและเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในโรงงานอุตสาหกรรม (Technology of Circular Economy in Process)' โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเจ้าภาพ ร่วมด้วยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ภายหลังจากที่การอบรมจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ในวันนี้ (3 มีนาคม 2565) มีผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมจากทั่วประเทศและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้ความสนใจเข้าร่วมงานเกือบ 200 คน ในการอบรมประกอบไปด้วยเนื้อหาหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม และหลักการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบรรยายโดยวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญ โดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้บรรยายในหัวข้อ 'การถอดบทเรียนโครงการฯ ในอุตสาหกรรมพลาสติกระดับ SMEs' เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ในการสร้างต้นแบบโรงงานด้านพลาสติกที่บริหารจัดการตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หลังจากที่ทำสำเร็จไปแล้วจำนวนทั้งหมด 10 โรง ภายใต้โครงการสร้างโรงงานนำร่องด้านพลาสติกร่วมกับนักวิจัยของศูนย์ฯ และผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในช่วงปีที่ผ่านมา ขณะที่คุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรมของศูนย์ฯ ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ 'Business Canvas Model' ในการอบรมครั้งนี้ด้วย การอบรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อขยายผลจากโครงการวิจัยเรื่อง [...]
Read more

แบบนี้ไม่ใช่มิตร แต่เป็นมิจฉาชีพ

เรื่องโดย พรพิมล ชุ่มแจ่ม ช่วงนี้แก๊ง Call Center ระบาดหนัก PETROMAT จึงอยากขอเตือนภัย เจอแบบนี้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจอมิจฉาชีพแล้วแหละ!! สารพัดวิธีโกง ทั้งหลอกเอาเงิน หรือหลอกเอาข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ หากไม่รู้ ไม่ทันระวังตัว อาจตกเป็นเหยื่อได้ รูปแบบการหลอกลวงที่พบอยู่ไม่ว่าจะเป็นการส่งข้อความเข้ามา โทรมา หรือแฮคเฟสบุคคนที่เรารู้จัก สร้างเรื่องราวต่าง ๆ ให้ตกใจ ดีใจ กังวลใจ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งมิจฉาชีพเหล่านี้จะอาศัยความกลัว ความโลภ ความรู้ไม่เท่าทัน เพื่อหลอกถามข้อมูลสำคัญ หรือหลอกให้โอนเงินต่าง ๆ วิธีป้องกัน ตั้งสติ อย่าให้ข้อมูลส่วนตัวแก่บุคคลอื่น ดาวน์โหลด Whoscall แอพจะระบุตัวตนของสายเรียกเข้าที่เราไม่รู้จักทำให้รู้ว่าเบอร์ต้นทางนั้นเป็นเบอร์จากใคร วิธีแก้ไข รวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ติดต่อธนาคารเพื่อระงับการโอนเงิน หากระงับการโอนเงินไม่ได้ ให้นำหลักฐานแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ แจ้งเรื่องร้องเรียกปรึกษา ติดต่อ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (PCT) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เบอร์ 1599 หรือ 081-866-3000 ทุกวัน 8.30 [...]
Read more

CE Project โดยศูนย์ฯ ร่วมกับ ‘กรมโรงงานฯ’ ขยายผลสู่ผู้ประกอบการ

วันจันทร์ที่ผ่านมา (21 ก.พ. 65) กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ในการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนและเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในโรงงานอุตสาหกรรม (Technology of Circular Economy in Process)" โดยมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 150 คน   การอบรมในครั้งนี้จัดขึ้นต่อเนื่องจากโครงการวิจัยเรื่อง "มาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน" ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ เป็นหัวหน้าโครงการย่อยผู้ดำเนินโครงการฯ ด้านพลาสติก โดยในปีที่ผ่านมาได้ร่วมกับนักวิจัยของศูนย์ฯ ในการสร้างต้นแบบโรงงานด้านพลาสติกที่บริหารจัดการตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน จำนวนทั้งสิ้น 10 โรง   ในวันดังกล่าวมีวิทยากรจำนวนหลายท่าน โดย ศ.ดร.หทัยกานต์ ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ "การถอดบทเรียนโครงการฯ ในอุตสาหกรรมพลาสติกระดับ SMEs" ขณะที่ คุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรมของศูนย์ฯ ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ "Business Canvas Model"   ทั้งนี้ นับว่าเป็นการแบ่งปันประสบการณ์จากการทำโครงการวิจัย พร้อมนำเสนอแนวทางให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและแนวคิดธุรกิจของตนเองให้สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน [...]
Read more

ธนบัตรพอลิเมอร์

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมใช้ธนบัตรชนิดราคา 20 บาท แบบใหม่ เรียกว่า “ธนบัตรพอลิเมอร์” ในวันที่ 24 มีนาคม 2565 ซึ่งเปลี่ยนจากการเป็นธนบัตรกระดาษ มาใช้วัสดุ “พอลิเมอร์” ซึ่งมีความทนทานในการใช้งานมากกว่า “ธนบัตรกระดาษ” ช่วยลดปริมาณการผลิตธนบัตรใหม่เพื่อทดแทนธนบัตรที่ชำรุด ลดการใช้ทรัพยากร และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะธนบัตรชนิดราคา 20 บาท ที่ถูกใช้จ่ายมากที่สุด มีการหมุนเวียนเปลี่ยนมือบ่อย ทำให้สภาพเก่ากว่าธนบัตรชนิดราคาอื่น แท้จริงแล้วธนบัตรพอลิเมอร์ทำมาจากพอลิเมอร์ชนิดใดและใช้กระบวนการใดในการผลิต ติดตามไปพร้อมกันเลยค่ะ ธนบัตรพอลิเมอร์ ผลิตและขึ้นรูปด้วยวิธี Biaxially Oriented Polypropylene (BOPP) ซึ่งเป็นการหลอมเม็ดพลาสติกชนิดพอลิพรอพีลีน (PP) ผ่านเครื่องหลอมอัดรีด แล้วทำการดึงยืดให้เป็นฟิล์มโดยการดึงฟิล์มในสองทิศทาง ได้แก่ ดึงในด้านขนานกับทิศทางการไหลของพอลิเมอร์ออกจากเครื่องหลอมอัดรีด และดึงตั้งฉากกับทิศทางการไหลของพอลิเมอร์ที่ออกจากเครื่องหลอมอัดรีด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวฟิล์ม เช่น มีการยืดตัวต่ำ ความต้านทานแรงดึงสูงขึ้น มีความแข็งมากขึ้น มีคุณสมบัติทางแสงที่ดีขึ้นและทนทานต่อน้ำหรือก๊าซได้ดีขึ้น การขึ้นรูปพลาสติกประเภท Biaxially Oriented Polypropylene (BOPP) [...]
Read more

พัฒนาวิธีการเพื่อยืดอายุการใช้งานกรดล้างโลหะ ลดภาระในการกำจัดของเสีย

วันนี้ (17 ก.พ. 65) ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ร่วมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร วาสนาเพียรพงศ์ อาจารย์ภาควิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาฯ ได้ประชุมร่วมกับนักวิจัย บริษัท เนกซัส เซอร์เฟส อินโนเวชั่น จำกัด นำโดย คุณธัชชัย หงส์ยั่งยืน เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัย โดยศูนย์ฯ จะร่วมมือกับบริษัทฯ ในการพัฒนากลุ่ม​ผลิตภัณฑ์​ สำหรับนำไปใช้ในการแยกหรือตกตะกอนสิ่งเจือปนในกรด อันจะช่วยยืดอายุการใช้งานและอาจเพิ่มความสามารถในการนำกรดกลับไปใช้ซ้ำ ทั้งนี้เพื่อลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการลดต้นทุนในการกำจัดและลดมลพิษในสิ่งแวดล้อม   ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more