ศูนย์ฯ จับมือ ‘สงวนวงษ์สตาร์ช’ ร่วมโครงการสุดต๊าช! พัฒนานักวิจัยสร้างพรีไบโอติกจากมันสำปะหลัง

วันที่ 24 พ.ค. 2565 ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ พร้อมด้วยผู้บริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้เดินทางไปยังจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเยี่ยมชม บริษัท สงวนวงษ์สตาร์ช จำกัด ซึ่งร่วมกับศูนย์ฯ ในโครงการเรื่องการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกฯ ทั้งนี้เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการวิจัยที่เกี่ยวกับนวัตกรรมพรีไบโอติกจากแป้งมันสำปะหลัง ดร.ศุภรดา จันทรทิณ นักวิจัยหลังปริญญาเอกและผู้รับทุนโครงการฯ ได้เปิดใจกับทีมงานของศูนย์ฯ ว่างานวิจัยของตนได้เดินหน้าตามแผนที่วางไว้ โดยตนได้รับประสบการณ์โดยเฉพาะเรื่องการจัดสรรเวลาเมื่อทำงานร่วมกับทางภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากมีระยะเวลาจำกัดในการทำงาน และต้องนำเสนอความก้าวหน้าในงานวิจัยทุกสัปดาห์ เพื่อให้ผลงานสำเร็จลุล่วงได้อย่างรวดเร็ว ด้านคุณพิมพ์มนิดา พิวัฒนาทักษ์ นักวิจัยพี่เลี้ยงของบริษัทสงวนวงษ์สตาร์ช ระบุถึงความสำเร็จของโครงการนี้ไว้ว่า ความร่วมมือกับศูนย์ฯ ในครั้งนี้ ทำให้การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมของทางบริษัทฯ เดินหน้าได้อย่างก้าวกระโดด เพราะดร.ศุภรดาสามารถใช้เวลาทุ่มเทกับการวิจัยได้อย่างเต็มที่ โดยทางบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมตั้งแต่ก่อนหน้านี้ ขณะที่โครงการนี้ทำให้ผู้บริหารของสงวนวงษ์สตาร์ชเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานักวิจัยระดับสูง ซึ่งจะเป็นกำลังในการพัฒนานวัตกรรมให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จากแป้งมันสำปะหลัง ปัจจุบันบริษัทฯ มีแผนในการสร้างโรงงานต้นแบบเพื่อต่อยอดผลงานนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากฝีมือของดร.ศุภรดา จึงนับเป็นความสำเร็จที่เกินความคาดหมายจากการทำโครงการของศูนย์ฯ Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 [...]
Read more

‘ปตท.’ หารือนักวิจัยปิโตรแมท เล็งจับมือพัฒนากระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ

วันที่ 22 มิถุนายน 2565 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ มีการเจรจาความร่วมมือกับ สถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งนำโดยศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ดร.สุชาดา ฉิ่มอ่ำ หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีวิจัยกระบวนการและพลังงานประยุกต์ของสถาบันฯ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.อภิชาติ อิ่มยิ้ม อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในนักวิจัยศูนย์ฯ ได้ร่วมหารือด้วย สำหรับการประชุมในครั้งนี้ ดร.ธเนศร์ ดนุไทย นักวิจัยของ ปตท. ได้แนะนำให้รู้จักสถาบันฯ และงานวิจัยที่สนใจ ขณะที่ รศ.ดร.อภิชาติ ได้นำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการสร้างความร่วมมือร่วมกันภายใต้การดำเนินการของศูนย์ฯ โดยจะเน้นการพัฒนากระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 [...]
Read more

ฉลากคาร์บอนสื่อถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร

เรื่องโดย นุสรา จริยสกุลโรจน์ Credit ภาพ: https://th.crazypng.com/681.html ความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ทำให้ทุกภาคส่วนทั่วโลกตื่นตัวให้ความสนใจและตระหนักถึงปัญหาทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมในฐานะผู้ผลิต   ภาคบริการในฐานะผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม รวมถึงภาคประชาชนในฐานะผู้บริโภค การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในส่วนของผู้บริโภคที่เชื่อมโยงกับภาคการผลิตและภาคการบริการ คือ การเลือกซื้อสินค้าและใช้บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณต่ำเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์หรือบริการประเภทเดียวกัน ซึ่งผู้บริโภคจำเป็นต้องดูข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ ที่มาของฉลากคาร์บอน ในปี พ.ศ. 2544 มีองค์กรอิสระที่ชื่อว่า “คาร์บอนทรัสต์ (Carbon Trust)” ริเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการลดปัญหาโลกร้อน มีจุดมุ่งหมายให้คำแนะนำกับผู้ประกอบการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นองค์กรแห่งแรกที่ให้ใบรับรองเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 จึงเกิดฉลากคาร์บอนผลิตภัณฑ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร ในกลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภค โดย Tesco Plc. ซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ได้เริ่มติดฉลากคาร์บอน บอกจำนวนคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการผลิตบนภาชนะบรรจุสินค้าภายใต้ตราสินค้า Tesco ของตนเองประมาณ 20 รายการ วางขายใน Tesco ทั่วสหราชอาณาจักร คาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ติดบนผลิตภัณฑ์ เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่า ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้น มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่ต่อหนึ่งหน่วยผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน  โดยแสดงผลอยู่ในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า [...]
Read more

ผู้บริหารศูนย์ฯ ลงพื้นที่หาดใหญ่ ติดตามโครงการวิจัยผลิตภัณฑ์ยางพารา Doctor N Medigel

ผู้บริหารศูนย์ฯ ลงพื้นที่หาดใหญ่ ติดตามโครงการวิจัยผลิตภัณฑ์ยางพารา Doctor N Medigel พร้อมเยี่ยมชมอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้-ศูนย์วิจัยคลินิก ม.อ. เมื่อวันที่ 17-18 พ.ค. 65 ทีมผู้บริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ นำโดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ได้เดินทางไปติดตามความก้าวหน้าโครงการเรื่องการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG ที่ทำร่วมกับ บริษัท เอ็นเอฟ เฮลท์แคร์ จำกัด พร้อมกันนี้คณะผู้เดินทางได้เยี่ยมชมอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จังหวัดสงขลา และศูนย์วิจัยคลินิก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ช่วงเช้าของวันที่ 17 ทีมผู้บริหารศูนย์ฯ ได้เข้าพบ ทพ.เมธี โกวิทวนาวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เอ็นเอฟ เฮลท์แคร์ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.นลินี โกวิทวนาวงษ์ ผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อหารือเกี่ยวกับการวิจัยผลิตภัณฑ์ยางพารา ภายใต้โครงการพัฒนานักวิจัยหลังปริญญาเอกที่ทำร่วมกับศูนย์ฯ พญ.นลินี ได้นำเสนอที่มาของงานวิจัยเกี่ยวกับวัสดุกระจายแรงสำหรับผู้ป่วยติดเตียงเพื่อป้องกันแผลกดทับ ซึ่งแต่ก่อนวัสดุดังกล่าวมีราคาแพงเพราะไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ทางบริษัทฯ จึงได้วิจัยวัสดุกระจายแรงที่ใช้ส่วนผสมจากยางพาราที่เป็นพืชเศรษฐกิจของไทย จนได้เป็นผลิตภัณฑ์เจลยางพาราป้องกันแผลกดทับภายใต้แบรนด์ Doctor N Medigel ซึ่งมีความต้องการมากโดยเฉพาะในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ติดเตียงในที่พักอาศัย โครงการวิจัยที่ศูนย์ฯ ทำร่วมกับทางบริษัทฯ [...]
Read more

ศูนย์ฯ ขอแสดงความยินดีแด่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุเมธ ชวเดช

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ขอแสดงความยินดีแด่– 🎉🎉🎉 ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุเมธ ชวเดช ในโอกาสที่ได้รับพระราชทานกิตติบัตร "ศาสตราจารย์กิตติคุณ" 🎉🎉🎉 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จุฬาฯ ประจำปีการศึกษา 2563 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

Interview Pathway to Net Zero Emission for Thailand

เรื่องโดย ฤทธิเดช แววนุกูล หลังจากการประชุม COP26 ท่านนายกรัฐมนตรีได้แสดงเจตนารมณ์ประกาศว่าประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 ทำให้เกิดการตื่นตัวในทุกภาคส่วน วันนี้ PETROMAT ได้รับเกียรติจากคุณเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) และกรรมการบริหาร PETROMAT มาช่วยเราไขข้อสงสัย และแนะแนวทางที่ถูกต้องในการเดินเข้าสู่ Net Zero Emission • Carbon Neutral และ Net Zero Emission สำคัญอย่างไร • เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่ Carbon Neutral และ Net Zero Emission ทาง PETROMAT ได้รู้จักคุณเกียรติชายในบทบาทผู้บริหารของบริษัทปิโตรเคมีชั้นนำของประเทศและกรรมการบริหารของ PETROMAT โดยคุณเกียรติชายช่วยแนะนำ PETROMAT ไม่ให้ตกเทรนด์ของภาคอุตสาหกรรมมาโดยตลอด [...]
Read more

‘ไซเบิร์ก’ รวมพลัง ‘ปิโตรแมท’ ยกระดับนักวิจัยหลังปริญญาเอก อัปไซเคิล ‘เวสท์’ เป็นของใช้สุดเก๋ไก๋!

เมื่อวานนี้ (12 พ.ค. 65) ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ พร้อมด้วยคณะทำงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้เดินทางไปติดตามความก้าวหน้าของโครงการเรื่องการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG โดยได้เข้าพบผู้บริหารและนักวิจัย ที่โรงงานของบริษัท ไซเบิร์ก (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดอยุธยา ในการนี้ศูนย์ฯ ได้หารือร่วมกับคุณภิญญดา นิลกำแหง กรรมการบริหารของบริษัทฯ และ ดร.พิทักษ์ เหล่ารัตนกุล นักวิจัยพี่เลี้ยงของผู้รับทุนโครงการฯ คือ ดร.ปวีณา แตงอุดม ซึ่งได้นำเสนอผลงานที่ทำร่วมกับทางบริษัทฯ ดร.ปวีณา ได้พัฒนาการแปรรูปของเหลือทิ้งประเภทเส้นใยผ้า โดยนำมาขึ้นรูปร่วมกับพอลิโพรพิลีนให้กลายเป็นเม็ดพลาสติก ซึ่งสามารถนำไปผลิตต้นแบบแปรงสีฟัน โดยบริษัทฯ ได้เริ่มวางจำหน่ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้เป็นผลสำเร็จจากความร่วมมือระหว่างปิโตรแมทกับไซเบิร์ก ซึ่งเปิดโอกาสให้นักวิจัยหลังปริญญาเอกได้ต่อยอดความรู้สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ขายได้จริง ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมสามารถเดินหน้าการวิจัยของตนเองได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเป็นการสนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ของประเทศ Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ [...]
Read more

‘เอสพีซี’ ร่วมมือ ‘ปิโตรแมท’ ปั้นต้นแบบนักวิจัยรุ่นใหม่ ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม

วันที่ 11 พ.ค. 65 ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ พร้อมด้วยคณะทำงาน ได้ประชุมร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ มีอยู่ นักวิจัยพี่เลี้ยงของ ดร.เอกอาทิตย์ บุญประเสริฐโพธิ์ ผู้รับทุนวิจัยในโครงการ “การพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG ด้วยกลไกศูนย์ฯ ระยะที่ 2" การประชุมในวันดังกล่าวจัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เพื่อให้ ดร.เอกอาทิตย์ ได้นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการที่เกี่ยวกับการผลิตเยื่อไนโตรเซลลูโลสจากของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต ซึ่งขณะนี้กำลังเตรียมการยกระดับกระบวนการสู่เชิงพาณิชย์ สำหรับภาคธุรกิจแล้ว ความร่วมมือในครั้งนี้ช่วยให้การวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ของทางเอสพีซี มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ที่ต้องการสร้างกำลังคนรุ่นใหม่ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมในประเทศ Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร [...]
Read more

ศูนย์ฯ ร่วมหารือ ‘เอส แอนด์ เจ’ นำเสนอโซลูชันสร้างนวัตกรรมเครื่องสำอาง

วันที่ 11 พ.ค. 65 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ นำโดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ตามลำดับ ได้ต้อนรับ ศาสตราจารย์ ภญ.ดร.มาลิน อังสุรังษี กรรมการบริหารบริษัท เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยคณะทำงานด้านการวิจัยและพัฒนาของบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้นำด้านธุรกิจเวชสำอาง ครั้งนี้ศูนย์ฯ ได้นำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเครื่องสำอาง อาทิ 'เซลโลกัม บิวตี้' ที่ผลิตจากแบคทีเรียเซลลูโลสจากวุ้นมะพร้าว ซึ่งเป็นผลงานของ ศ.ดร.หทัยกานต์ เพื่อนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ให้ทางบริษัทฯ นำไปพัฒนาต่อเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2 [...]
Read more

Upcycling แนวคิดยุคใหม่…ก้าวไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย ท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยินชื่อของกระบวนการ “Upcycling” หรือ “Upcycle” ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกับกระบวนการรีไซเคิลและมีส่วนสำคัญที่ช่วยลดปัญหากากของเสีย ขยะที่ใช้แล้ว ส่งผลให้ลดปัญหามลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม จากบทความที่ผ่านมา “บทบาทของ Recycle ใน Circular Economy” ได้กล่าวถึง กระบวนการรีไซเคิล (Recycle) ว่าคืออะไร หลักการเป็นอย่างไร อยู่ส่วนไหนของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และการนำกระบวนการรีไซเคิลไปประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรม ในวันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับกระบวนการ Upcycling ว่ามีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างไร รวมไปถึงความแตกต่างระหว่างกระบวนการ Recycle และ Upcycling ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ Upcycling คืออะไร ? กระบวนการ Upcycling ถูกกล่าวถึงครั้งแรกโดย William McDonough และ Michael Braungart ในหนังสือ “Cradle to Cradle : Remaking the Way We [...]
Read more