ศูนย์ฯ จัดเต็มนิทรรศการโชว์ผลงานนวัตกรรมในการต้อนรับคณะผู้ตรวจเยี่ยมจาก ‘สป.อว.

ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ พร้อมด้วยหัวหน้าโปรแกรมวิจัยและผู้แทนหัวหน้าโปรแกรมวิจัยของศูนย์ฯ ได้นำคณะนักวิจัยในสังกัดต้อนรับคุณดารณี ศุภธีรารักษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ กองทุนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ในฐานะประธานกรรมการตรวจเยี่ยมศูนย์ฯ ประจำปี 2565 ซึ่งได้เดินทางมาพร้อมคณะจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ในการตรวจเยี่ยมศูนย์ฯ ณ อาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ในวันที่ 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา วันดังกล่าว ศ.ดร.หทัยกานต์ ได้นำเสนอผลการดำเนินงานของศูนย์ฯ ให้คณะผู้ตรวจเยี่ยมได้รับทราบในที่ประชุม หลังจากนั้นจึงนำเข้าชมนิทรรศการนวัตกรรมของนักวิจัยในสังกัด ที่สำเร็จขึ้นจากโครงการวิจัยผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และโครงการวิจัยปั้นดาว ซึ่งล้วนมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ จำนวนกว่า 18 ผลงาน ทั้งนี้ด้วยปัจจุบันศูนย์ฯ ได้รับมอบหมายภารกิจให้ดำเนินการภายใต้กองส่งเสริมและประสาน เพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สังกัด สป.อว. ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ในปี 2564 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น [...]
Read more

ศูนย์ฯ จับมือ ‘เคมี อินโนเวชั่น’ ร่วมรับทุน ‘บพข.’ ปลดล็อกศักยภาพไบโอพลาสติก มุ่งสู่ตลาดบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การยกระดับศักยภาพบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพแบบครบวงจรร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อการขยายตลาดเชิงพาณิชย์” โดยการแถลงข่าวความร่วมมือและการมอบทุนโครงการวิจัยดังกล่าวจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ณ บริษัท เคมี อินโนเวชั่น จำกัด พิธีเปิดเริ่มต้นด้วยการกล่าวต้อนรับโดยคุณปณิธาน ชุณหสวัสดิกุล ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทอินโนเวชั่น ต่อมาศาสตราจารย์ ดร.อาภาณี เหลืองนฤมิตชัย ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มพลังงาน เคมีและวัสดุชีวภาพ บพข. ได้กล่าวถึงที่มาของการให้ทุนเพื่อการวิจัยและสร้างนวัตกรรมในครั้งนี้ โดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ร่วมด้วยคุณวรุณ วารัญญานนท์ หัวหน้าโครงการฯ และคุณปาณิสรา รัตนปัญญาโชติ รองประธานกรรมการบริหารด้านการตลาดและบริหารจัดการโรงงานของบริษัทฯ ได้ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการฯ หลังจากนั้นผู้แทนคณะทำงานของศูนย์ฯ ได้รับมอบทุนการดำเนินโครงการฯ จาก บพข. และ บริษัท เคมี อินโนเวชั่น โดยผู้ร่วมงานได้ถ่ายภาพร่วมกันเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่ความร่วมมือในครั้งนี้เกิดขึ้น ทั้งนี้ โครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตและการใช้งานพลาสติกชีวภาพ พร้อมสนับสนุนผู้บริโภคให้หันมาใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมไบโอพลาสติกภายในประเทศ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพของไทยให้เติบโตแบบไร้ขีดจำกัด ตลอดจนผลักดันสู่การเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพในระดับโลก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 [...]
Read more

กัญชาน่ารู้

เรื่องโดย พรพิมล ชุ่มแจ่ม วันที่ 9 มิถุนายน 2565 คือวันที่ประเทศไทยมีการปลดล็อกกัญชา เราจะพบร้านอาหารและเครื่องดื่มหลายแห่งมีภาพใบไม้รูปฝ่ามือ มี  7 แฉก ปรากฎอยู่ในป้ายโฆษณาหน้าร้านกันมากขึ้น เพื่อชักชวนดึงดูดลูกค้าว่าอาหารและเครื่องดื่มมีส่วนผสมของ “กัญชา” ให้เข้ามาลิ้มลองและเพิ่มยอดขายให้มากขึ้น กัญชาเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย เป็นไม้ล้มลุกมีอายุเพียง 1 ปี ต้นสูงได้ถึง 2 เมตร ทุกส่วนมีขนปกคลุม ใบรูปฝ่ามือ ขอบใบหยักเว้าลึก ใบย่อยเล็ก 5 – 7 ใบ แต่ละใบย่อยเรียวยาว กว้าง 0.3 – 1.5 เซนติเมตร ยาว 6 – 10 เซนติเมตร ขอบใบจักฟันเลื่อย สีเขียวเข้ม ช่อดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น เป็นช่อกระจุก ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ช่อเพศผู้อยู่ห่าง ๆ กัน มีเกสรเพศผู้ 5 อัน ดอกเล็ก ช่อเพศเมียออกเป็นกระจุก [...]
Read more

ไบโอพลาสติกจากผลไม้

เรื่องโดย นุรสา จริยสกุลโรจน์ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พลาสติกชีวภาพ หรือ พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Compostable Plastic) คือ พลาสติกที่ผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียม (Petroleum-based) หรือจากวัตถุดิบทางการเกษตร (Bio-based) ได้แก่ ข้าวโพด อ้อยและมันสำปะหลัง แต่ปัจจุบันพบว่ามีนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพใหม่ที่ผลิตจากเศษผลไม้ในส่วนของเปลือกไม่ว่าจะเป็น เปลือกล้วย เปลือกส้ม เปลือกมะเขือเทศ และเมล็ดอโวคาโด ซึ่งเป็นเศษผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาสร้างมูลค่าให้กับตลาดไบโอพลาสติก อโวคาโด ผลไม้ที่ให้พลังงานสูง อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และมีโปรตีนมากกว่าผลไม้อื่น ๆ เป็นผลไม้ที่คนไทยไม่ค่อยคุ้นเคยนัก แต่ผลไม้ชนิดนี้เป็นที่นิยมของผู้คนในอเมริกาเหนือและยุโรป จนทำให้มีการบริโภคสูงถึงปีละ 5 ล้านตัน และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อโวคาได้รับฉายาว่า “ทองคำสีเขียว” ของชาวเม็กซิโก เนื่องจากเป็นประเทศที่ส่งออกอโวคาโดมากที่สุดในโลก ปริมาณการส่งออกคิดเป็น 50% ของอโวคาโดที่ส่งออกทั่วโลก เม็กซิโกเป็นประเทศที่ส่งออกอโวคาโดมากที่สุดในโลก ที่มาภาพ : https://www.elfinanciero.com.mx/mundo/la-historia-de-como-el-aguacate-mexicano-conquisto-al-mundo/ https://www.cleanpng.com/png-hass-avocado-mexican-cuisine-fruit-food-health-4592020/ ในแต่ละเดือนอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากอโวคาโดของประเทศเม็กซิโกมีเมล็ดอโวคาโดเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตถูกทิ้งไปอย่างเสียเปล่ากว่า 30,000 เมตริกตัน เมล็ดอโวคาโดมีองค์ประกอบหลักเป็นคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตกรดแลคติก เมื่อกรดแลคติกผ่านกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชันได้เป็น “พอลิแลคติกแอซิด หรือ [...]
Read more

รางวัลพระราชทานโล่เกียรติยศ “เมธีวิจัยอาวุโส สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และสาขาวิชาเทคโนโลยี ประจำปี 2564”

PETROMAT ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.เมตตา เจริญพานิช (KU-ChE) เนื่องในโอกาสเข้ารับพระราชทานโล่เกียรติยศ “เมธีวิจัยอาวุโส สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และสาขาวิชาเทคโนโลยี ประจำปี 2564” โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

Circular Fashion ปฏิวัติวงการเสื้อผ้า พาของเหลือใช้ไปรันเวย์

เรื่องโดย ศุภวิชญ์ จันทน์ขาว เสื้อผ้าเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอก็มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันวงการแฟชั่นมีการใช้ทรัพยากรจำนวนมหาศาลและก่อให้เกิดขยะขึ้นมากมาย จึงต้องมีการปฏิวัติแฟชั่นครั้งใหม่เพื่อให้ทรัพยากรถูกใช้ไปอย่างยั่งยืน แฟชั่นปัจจุบันมาไวไปไวและกำลังทำลายสิ่งแวดล้อม แฟชั่นในปัจจุบันถูกเรียกว่าแฟชั่นหมุนเร็ว (Fast Fashion) เพราะมีการเปลี่ยนคอลเล็กชันเสื้อผ้าในลักษณะที่เรียกว่ามาไวไปไว เพื่อให้ทันต่อความทันสมัยและความต้องการของผู้บริโภค โดยผู้ประกอบธุรกิจมีการทำการตลาดให้ผู้บริโภคสามารถหาซื้อเสื้อผ้าได้ง่ายและซื้อบ่อยขึ้น ส่วนทางด้านผู้ผลิตก็อาจมีการลดระดับคุณภาพของวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้าเพื่อให้สินค้ามีราคาถูก ซึ่งกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อเสื้อผ้ามากขึ้น ทั้งนี้กระแสแฟชั่นที่มาไวไปไวและคุณภาพที่ด้อยลงของเสื้อผ้า ทำให้เสื้อผ้ามีอัตราการใช้งานที่น้อยครั้ง ในที่สุดก็ถูกทิ้งไปกลายเป็นขยะแฟชั่น ข้อมูลภาพรวมอุตสาหกรรมแฟชั่นทั่วโลก ซึ่งรายงานโดย World Economic Forum ระบุว่าในช่วงปี พ.ศ 2543 - 2558 มีการผลิตเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า เนื่องจากการเติบโตของชนชั้นกลางในประเทศกำลังพัฒนา และอัตราการบริโภคที่สูงขึ้นของประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตดี แต่อัตราการใช้งานเสื้อผ้าในช่วงเวลานี้กลับลดลงจากสมัยก่อนถึงร้อยละ 40 โดยส่วนใหญ่ถูกทิ้งไปเป็นขยะที่ต้องกำจัดด้วยวิธีเผาหรือฝังกลบในปริมาณมากถึงร้อยละ 75 โดยขยะเสื้อผ้าเพียงร้อยละ 12 เท่านั้นที่ได้รับการรีไซเคิล ในจำนวนดังกล่าวมีเพียงร้อยละ 1 ที่ได้รับการนำกลับไปผลิตเป็นเสื้อผ้าใหม่ ส่วนในประเทศไทยพบว่าในแต่ละปีจะมีขยะเสื้อผ้าและสิ่งทอกว่าร้อยละ 85 ถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยมีเพียงร้อยละ 15 ที่ได้รับการนำไปบริจาคหรือนำกลับไปรีไซเคิล ขยะในปริมาณมหาศาลที่ไม่ได้รับการหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ซ้ำ ทำให้ในแต่ละปีการผลิตเสื้อผ้าต้องใช้ทรัพยากรใหม่รวมกันทั้งโลกกว่า 98 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปหรือต้องใช้ไปอย่างสิ้นเปลือง [...]
Read more

รางวัล “เมธีวิจัยอาวุโส สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ ประจำปี 2564”

PETROMAT ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย (CU-PPC) เนื่องในโอกาสเข้ารับพระราชทานโล่เกียรติยศ “เมธีวิจัยอาวุโส สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ ประจำปี 2564” โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

จัดงานอย่างไร…ให้ยั่งยืนและคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

เรื่องโดย นุสรา จริยะสกุลโรจน์ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมส่วนตัว กิจกรรมการทำงานหรือกิจกรรมอื่นๆ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดก๊าซเรือนกระจกสาเหตุของภาวะโลกร้อน ไม่เว้นแม้กระทั่งการจัดงานอีเวนต์ ที่มีการใช้พลังงานหลายส่วนและขยะที่เกิดจากการจัดงานมากมาย จึงเป็นเรื่องดีไม่น้อย หากผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจหรือภาคส่วนต่างๆ ที่เป็นผู้จัดงาน ร่วมใจกันสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทำให้เกิดการจัดงานแบบยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับประเทศไทย สํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. (Thailand Convention & Exhibition Bureau (Public Organization) : TCEB) ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. (Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization) : TGO) ตอบสนองต่อกระแสขับเคลื่อนของโลกด้านความยั่งยืนโดยการผลักดันอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ให้มีการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN’s Sustainable Development Goals: SDGs) อุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) คือ [...]
Read more

Al-Rahaman Restaurant (อัล-ราฮามัน)

เรื่องโดย ธีรยา เชาว์ขุนทด นมัสเต!!! อาหารอินเดียกินไม่ยากอย่างที่คิด ลองชิมแล้วจะรักนะจ๊ะนายจ๋า หนึ่งในลิสต์ร้านอาหารอินเดียที่ไม่ลองถือว่าพลาด ใครเป็นสายอาหารอินเดีย ต้องไม่พลาดแวะมาชิมหลากเมนูแสนอร่อย มือใหม่หัดชิมที่อยากลองชิมอาหารอินเดีย ก็ควรมาลิ้มลองเมนูที่ร้าน Al -Rahaman Restaurant (อัล-ราฮามัน) ร้านอาหารอินเดียเล็ก ๆ ย่านบางรักที่เปิดมากว่า 7 ปีแล้ว นำโดยเชฟอับดุล รูฟ (Abdur Rouf) ชาวบังกลาเทศจากกรุงธากา (Dhaka) เมืองหลวงของประเทศบังกลาเทศ ซึ่งควบตำแหน่งเชฟและเจ้าของร้าน ร้านอาหารอินเดียสไตล์บังกลาเทศร้านนี้ เสิร์ฟอาหารอินเดียสูตรต้นตำรับแบบโฮมคุก เข้มข้นด้วยเครื่องเทศหอมอบอวลแต่ไม่แรงจนเกินไป ผสมผสานระหว่างอาหารของอินเดียตอนเหนือ ปากีสถาน บังกลาเทศ รวมถึงอาหรับเข้าด้วยกัน ถือเป็นร้านอาหารฮาลาลสำหรับชาวมุสลิมด้วย โดยดึงเอาจุดเด่นของแต่ละชาติออกมา แล้วปรับรสชาติให้ถูกปากคนไทย ที่สำคัญอาหารแต่ละจานจะถูกปรุงออกมาให้ถูกใจลูกค้ามากที่สุด ชอบรสชาติแบบไหน สามารถบอกเชฟได้เลย เมนูแนะนำ: ปานิปุรี (Panipuri) 60 บาท เมนูที่เรียกได้ว่าเป็น Indian Street Food แป้งทอดลูกกลมด้านในกลวง ทำจากแป้งสาลี ผสมกับแป้งเซโมลินา (ชาวอินเดียเรียกแป้งซูจิ) และน้ำมันพืช [...]
Read more

ศูนย์ฯ ดึง ‘พีทีทีจีซี’ รีดศักยภาพนักวิจัย เตรียมต่อยอดผลงานไปสู่อุตสาหกรรม

เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 65 มีการประชุมร่วมกันระหว่างนักวิจัยในเครือข่ายของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และทีมวิจัยของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เพื่อให้นักวิจัยได้นำเสนอผลงานต่อทางบริษัทฯ วันดังกล่าวมี ศ.ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ นำการประชุม หลังจากนั้นเป็นการนำเสนอผลงานของนักวิจัย ได้แก่ ศ.ดร.นพิดา หิญชีระนันทน์ รศ.ดร.สุวดี ก้องพารากุล รศ.ดร.พิมพา หอมนิรันดร์ และ อ.ดร.จัญจุดา อุ่นเรืองศรี โดยทีมของบริษัทฯ นำโดย ดร.นพคุณ แสนโพธิ์ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ทั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์ฯ กับพีทีทีจีซี เพื่อเตรียมขยายผลจากงานวิจัยในด้านปิโตรเคมี สู่ระดับที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงในอุตสาหกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   [...]
Read more