Circular Economy Business Models พาธุรกิจสู่ความยั่งยืน

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง “แนวทาง 10R อัพเกรดอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน” ได้กล่าวถึง หลักสากลและแนวคิดเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน 10 หลักการ เรียกว่า หลักการสากล “10R” ซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลงและเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ในบทความนี้ ขอนำท่านผู้อ่านไปสัมผัสกับการนำหลักการ 10R และหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน มาพัฒนาและประยุกต์ใช้กับธุรกิจทั้งธุรกิจขนาดเล็กจนไปถึงธุรกิจขนาดใหญ่ รวมไปถึงอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นำไปสู่การไม่มีของเสียและมลพิษตลอดทั้งระบบสินค้าและบริการ เรียกว่า โมเดลทางธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy Business Models (CBM) ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ โมเดลทางธุรกิจของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน คืออะไร ? โมเดลทางธุรกิจของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Business Models ; CBM) คือ เครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ หรือ ผู้ที่มีส่วนร่วมในธุรกิจเลือกใช้ทรัพยากรทั้งหมดที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ปล่อยให้กระบวนการผลิตเพิ่มปริมาณของเสียเข้าไปสู่สิ่งแวดล้อมและไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมไปด้วยสารพิษ การปล่อยแก๊สเรือนกระจก และมลพิษ ซึ่งทำให้เกิดความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม แนวทางของทางเลือกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหมุนเวียน ได้แก่ [...]
Read more

ศูนย์ฯ พร้อมสู้โควิด! ประดิษฐ์ “กล่องยูวีซี” มอบให้รพ.ราชวิถี

โครงการ “Ultra We กล่องห่วงใย ไร้เชื้อด้วยยูวีซี” เป็นความร่วมมือกันระหว่างศูนย์ฯ กับภาควิชาวิศวกรรมเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย ผศ.ดร.เมธี สายศรีหยุด และ ผศ.ดร.ชลิดา เนียมนุ้ย ในการประดิษฐ์เครื่องฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าด้วยรังสียูวีซี ซึ่งมีมาตรฐานรับรอง เพื่อนำไปส่งมอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งนี้ ได้ดำเนินการส่งมอบครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายนในปี 2563 Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

ศูนย์ฯ ลงพื้นที่ ‘บ้านเอื้ออาทร วังหว้า’ ศึกษาการจัดการขยะแบบครบวงจร

คุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรม และ ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย ผู้ประสานงานอุตสาหกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้เยี่ยมชมบ้านเอื้ออาทรระยอง (วังหว้า) เพื่อศึกษาเรียนรู้การบริหารจัดการขยะแบบครบวงจรภายในชุมชน โดยเป็นการลงพื้นที่ร่วมกับคณะทำงานจากโครงการ Chula Zero Waste และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อวันที่ 27 มิ.ย. 65 ที่ผ่านมา บ้านเอื้ออาทรวังหว้าคือต้นแบบชุมชุนที่เข้มแข็ง ที่คนในชุมชนร่วมมือกันแก้ไขปัญหาขยะตามแนวทาง Zero-Waste ซึ่งเคยได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดชุมชน Zero-Waste ชุมชนปลอดขยะจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมมาแล้ว อีกทั้งมีการจัดตั้งโครงการรณรงค์ลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ฯลฯ ในวันดังกล่าวคุณวรุณ และ ดร.ทัศชา ได้ศึกษาโครงการต่างๆ ของบ้านเอื้ออาทรวังหว้า รวมถึงได้ทดลองลงมือผลิตอิฐบล็อกจากขยะพลาสติกกำพร้า ณ ศูนย์เรียนรู้การคัดแยกพลาสติก ซึ่งเป็นการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ซ้ำตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยคุณสุรัตน์ รุ่งเรือง ผู้นำชุมชน ได้ให้เกียรตินำคณะผู้ลงพื้นที่เข้าศึกษาดูงาน ทั้งนี้การเยี่ยมชมบ้านเอื้ออาทรวังหว้าจะเป็นประโยชน์กับศูนย์ฯ ในการนำตัวอย่างแนวทางที่ได้ ไปประยุกต์ใช้กับโครงการอื่นๆ เช่น โครงการบริหารจัดการขยะอาหารบนเกาะสมุย ที่ได้รับทุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) และกำลังดำเนินโครงการอยู่ในขณะนี้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 [...]
Read more

ศูนย์ฯ จัดกิจกรรม SROI Workshop ยกระดับการทำโครงการสำหรับนักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "เพิ่มสมรรถนะด้านการบริหารจัดการโครงการให้กับนักวิจัยและบุคลากร ด้านการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนของโครงการสำคัญ" ให้แก่นักวิจัยโครงการเรื่องการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG ระยะที่ 2 ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม กิจกรรมนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 - 8 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุม 201 อาคารวิจัยจุฬาฯ โดยช่วงเช้าของวันแรก ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้กล่าวเปิดกิจกรรมและต้อนรับผู้เข้าร่วมการอบรม จากนั้นวิทยากรจากศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ดำรง วัฒนา และ ดร.พรมณี ขำเลิศ ได้ร่วมกันบรรยายและนำนักวิจัยฝึกปฏิบัติการกลุ่ม ในหัวข้อที่เกี่ยวกับหลักวิธีคิดและการประเมินผลความคุ้มค่าของโครงการวิจัย ซึ่งมีประโยชน์ในการวางแผนและปรับปรุงโครงการในช่วงก่อนและระหว่างการดำเนินงาน รวมถึงการติดตามความสำเร็จของโครงการจากผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ในวันที่ 16 กันยายน มีการจัดกิจกรรมต่อเนื่องกันอีกครั้ง เพื่อให้นักวิจัยได้นำเสนอผลการฝึกปฏิบัติการประเมินความคุ้มค่าของโครงการวิจัย ซึ่งเป็นการนำความรู้ที่ได้จากการอบรมในครั้งก่อนหน้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อโครงการที่ตนเองทำร่วมกับบริษัท ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ [...]
Read more

ไมโครพลาสติก : ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย มนุษย์กินไมโครพลาสติก 5 กรัมต่อสัปดาห์ เมื่อปี พ.ศ.2563 ในงานศึกษาโดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล WWF ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลในออสเตรเลีย ทำการวิจัยหาปริมาณพลาสติกจากแหล่งธรรมชาติสู่วงจรบริโภคของมนุษย์ พบว่า มนุษย์อาจบริโภคไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกาย ในปริมาณกว่า 2,000 ชิ้น หรือ 5 กรัมต่อสัปดาห์ เทียบเท่ากับบัตรเครดิต 1 ใบ คิดเป็น 20 กรัมต่อเดือน 240 กรัมต่อปี ! การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้เกิดการศึกษา      ต่อยอดอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป เพื่อสร้างความเข้าใจและค้นหาความจริงถึงผลกระทบของพลาสติกที่มีต่อร่างกายและสุขภาพของมนุษย์ ปัจจุบันไมโครพลาสติกกลายเป็นปัญหามลพิษทางทะเลที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งทั่วโลก เนื่องจากไมโครพลาสติกมีขนาดเล็กมากทำให้ยากต่อการเก็บและกำจัด รวมถึงย่อยสลายได้ยาก เมื่อมีการระบายน้ำที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียลงสู่สิ่งแวดล้อม ไมโครพลาสติกจึงสามารถปนเปื้อน แพร่กระจาย สะสมและตกค้างในสิ่งแวดล้อมได้ง่าย โดยการแพร่กระจายของไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมพบได้ทั้งในน้ำจืด ตะกอนดินและในทะเล หากสิ่งมีชีวิตในทะเลกินไมโครพลาสติกเข้าไป ทำให้เกิดการสะสมในห่วงโซ่อาหาร (Food chain) และสามารถถ่ายทอดไปตามลำดับขั้นของการบริโภคอาหารในระบบนิเวศ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ไมโครพลาสติก (Microplastics) คืออะไร? ไมโครพลาสติก คือ [...]
Read more

ปิโตรแมทโชว์ความพร้อมมุ่งวิจัยผลิตภัณฑ์ไนลอนร่วมกับ ‘อูเบะ’ เพื่อความยั่งยืน

วันที่ 2 กันยายน นักวิจัยของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารและนักวิจัยของ บริษัท อูเบะ เทคนิคอล เซ็นเตอร์ (เอเชีย) จำกัด โดยศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้นำที่ประชุมหารือกับ ดร.อาภรณ์รัตน์ นันทลักษณ์สกุล เกี่ยวกับแนวทางที่ทั้งสองฝ่ายจะสร้างความร่วมมือร่วมกัน โอกาสนี้ นักวิจัยศูนย์ฯ ได้นำเสนอผลงานวิจัยที่พร้อมพัฒนาร่วมกับทางบริษัทฯ โดยศาสตราจารย์ ดร.ดวงดาว อาจองค์ ได้นำเสนองานวิจัยด้าน Nanocellulose Composites รวมถึง Chemical Recycling ส่วนคณะวิจัยของรองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ และศาสตราจารย์ ดร.นพิดา หิญชีระนันทน์ ได้นำเสนองานวิจัยด้าน Pyrolysis ทั้งหมดนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไนลอน อีกทั้งส่งเสริมการนำไนลอนมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล โดยอูเบะมีความสนใจในเรื่องดังกล่าว ขณะที่ปิโตรแมทก็มีศักยภาพในการยกระดับผลงานของนักวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม และพร้อมสนับสนุนแนวคิดการใช้ทรัพยากรเพื่อความยั่งยืน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ [...]
Read more

ขอแสดงความยินดีแด่ ศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญจิตร ศรีนพคุณ

ขอแสดงความยินดีแด่ ศาสตราจารย์ ดร.เพ็ญจิตร ศรีนพคุณ ในโอกาสที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น "อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี" ประจำปี พ.ศ. 2565 จากที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2 petromat@chula.ac.th petromat.coe
Read more

แสดงความยินดีแด่ ศ. ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ

ขอแสดงความยินดีแด่ ศ. ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้เป็นกรรมการในคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมสำหรับผู้ประกอบอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2 petromat@chula.ac.th petromat.coe
Read more

สุดล้ำ…แอปตรวจโควิดด้วยเสียงไอ มาแน่ !

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย เมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนสายพันธุ์ย่อยใหม่ BA.4 และ BA.5 ทั่วโลก เริ่มมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อใหม่ต่อสัปดาห์สูงขึ้นเรื่อย ๆ อนึ่งการตรวจหาเชื้อด้วย Antigen Test Kit (ATK) ยังคงมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับประชาชนทั่วไป เป็นสิ่งที่จะช่วยตรวจคัดกรองเบื้องต้น และช่วยยืนยันเพื่อสร้างความสบายใจว่าเรายังไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อ อีกทั้งเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดไปยังบุคคลในครอบครัวและบุคคลใกล้ชิดอีกด้วย อย่างไรก็ตาม การตรวจหาเชื้อด้วยวิธีดังกล่าว ยังคงมีค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้อชุดตรวจมาตรวจหาเชื้อด้วยตนเอง อีกทั้งในช่วงนี้ค่อนข้างมีราคาเพิ่มสูงมากขึ้น เนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกครั้ง และบางท่านอาจจะต้องตรวจกันบ่อยจนเจ็บจมูกไปหมด ในวันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปสัมผัสความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 ในอนาคตอันใกล้ ด้วยการวิเคราะห์จาก “เสียงไอ” ผ่านแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า “ResApp” เราไปดูกันเลยครับ ResApp คืออะไร ? เป็นแอปพลิเคชันที่ถูกพัฒนาและคิดค้นขึ้นเพื่อช่วยตรวจหาเชื้อไวรัส COVID-19 จากการวิเคราะห์เสียงไอด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ลดการเจ็บตัวในการที่ต้องแยงจมูกบ่อย ๆ และช่วยลดค่าใช้จ่ายของอุปกรณ์ตรวจหาเชื้อ ซึ่งถูกพัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์สายสุขภาพ บริษัท ResApp Health ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีสุขภาพจากประเทศออสเตรเลีย [...]
Read more

นักวิจัยศูนย์ฯจับมือ NECTEC และ 78transform ยกระดับ ‘คาร์บอนแบล็ก’ สู่การใช้งานใน ‘ซูปเปอร์คาปาซิเตอร์’

ความร่วมมือในครั้งนี้เกิดขึ้นภายใต้โครงการวิจัยเรื่องการสังเคราะห์เส้นใยจากวัสดุรีไซเคิลคาร์บอนแบล็กผสมกราฟีนสำหรับใช้ในซุปเปอร์คาปาซิเตอร์แบบยืดหยุ่น ซึ่งนักวิจัยศูนย์ฯ ดำเนินการร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และ บริษัท เซเว่นตี้ เอท แทรนซ์ฟอร์ม จํากัด โดยได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในวันนี้ (30 ส.ค.) ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ตามลำดับ พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ จิตการค้า อาจารย์วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ซึ่งเป็นนักวิจัยในเครือข่ายของศูนย์ฯ ผู้ร่วมโครงการดังกล่าว ได้ต้อนรับคุณอนัญสินี ทาบุญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เซเว่นตี้ เอท แทรนซ์ฟอร์ม จํากัด และ ดร.อภิชัย จอมเผือก หัวหน้าโครงการฯ จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โอกาสนี้ คณะผู้ร่วมวิจัยได้ประชุมเริ่มต้นโครงการฯ อีกทั้งมีการถ่ายรูปร่วมกับผู้บริการศูนย์ฯ เพื่อเป็นที่ระลึก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท [...]
Read more