Circular Economy แนวคิดธุรกิจโลกยุคใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

  เรื่องโดย ศุภวิชญ์ จันทน์ขาว Circular Economy หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เป็นแนวคิดเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่งที่เน้นใช้ทรัพยากรอย่างเป็นวงจร โดยมีกระบวนการ เช่น การซ่อมแซม การใช้ซ้ำ การแปรรูป ฯลฯ จึงช่วยลดขยะและของเสียจากการใช้ทรัพยากร ซึ่งส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ Circular Economy ยังช่วยสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ๆ จึงเป็นผลดีต่อการทำธุรกิจและเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่ เศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นแบบไหน ทำไมจึงไม่ยั่งยืน? ก่อนจะรู้จัก Circular Economy ในอดีตโลกดำเนินอยู่ได้เพราะระบบนิเวศอยู่ในภาวะสมดุลระหว่างทรัพยากรที่ถูกใช้หมดไปกับศักยภาพที่ธรรมชาติจะสร้างทรัพยากรทดแทนขึ้นมาใหม่ ต่อมาหลายประเทศโดยเฉพาะอเมริกาและในยุโรปมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด ทำให้ทรัพยากรถูกใช้หมดไปในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อนำทรัพยากรเหล่านั้นไปผลิตเป็นสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภค โดยแนวทางในการใช้ทรัพยากรเป็นไปในลักษณะ “ถลุง-ผลิต-ทิ้งไป” นั่นคือ ทรัพยากรถูกใช้หมดไปอย่างไม่ปรานีปราศรัยในการผลิตเป็นสินค้า หลังจากสินค้าหมดสภาพแล้วก็กลายเป็นขยะ โดยขยะสินค้าเหล่านี้รวมถึงของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต ไม่ได้รับการหมุนเวียนกลับมาใช้เป็นทรัพยากรใหม่ตามแนวคิด Circular Economy ดังนั้น แนวทางในการใช้ทรัพยากรในลักษณะ “ถลุง-ผลิต-ทิ้งไป” จึงเรียกว่า Linear Economy หรือ “เศรษฐกิจแบบเส้นตรง” นั่นเอง “ภายในศตวรรษนี้คาดการณ์ว่าต้องใช้ทรัพยากรมากถึง 1.5 เท่าของที่มีอยู่ในโลกถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ แต่แน่นอนว่าโลกมีให้ไม่พอ ซึ่งทางออกของปัญหานี้ก็คือแนวคิด Circular [...]
Read more

นักวิจัยศูนย์ฯ คุยเรื่อง ‘ถ่านอัดแท่ง’ จากเศษพืชเหลือทิ้ง ให้กลุ่ม SCG Waste

วันที่ 9 ก.พ. 65 ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ตามลำดับ ได้หารือร่วมกับศาสตราจารย์ ดร.ธราพงษ์ วิทิตศานต์ ภาควิชาเคมีเทคนิค จุฬาฯ และนักวิจัยกลุ่ม SCG Waste การพูดคุยกันในครั้งนี้ ศ.ดร.ธราพงษ์ ได้เล่ารายละเอียดการทำวิจัยเกี่ยวกับถ่านอัดแท่ง ซึ่งทำจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรชนิดต่าง ๆ เพื่อเปิดมุมมองให้ผู้เข้าร่วมประชุมที่สนใจได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและซักถามข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยในเรื่องดังกล่าว ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

การประชุมกรรมการอำนวยการศูนย์ฯ ครั้งที่ 1/2565

ศูนย์ฯ จัดประชุมบอร์ดอำนวยการ: นำเสนอผลการดำเนินงานปี 64 - ปรับทิศทางการทำงานปี 65   วันที่ 7 ก.พ. 65 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุได้จัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565 เพื่อหารือในวาระต่าง ๆ และนำเสนอผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2564 โดยที่ประชุมประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ในฐานะประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและบริษัทเอกชน และกรรมการท่านอื่น ซึ่งได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีจุฬาฯ คุณวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) พร้อมด้วยอธิการบดีและผู้แทนจากอีก 4 มหาวิทยาลัยสถาบันร่วมของศูนย์ฯ ในการนี้ ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้ร่วมประชุมด้วย ปีงบประมาณ 2564 [...]
Read more

Filament for FDM 3D Printer

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่าเทคโนโลยี 3D Printing ชนิด Fused Deposition Modeling (FDM) เป็นเทคโนโลยีที่แพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากเป็นกระบวนการที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน โดยการหลอมละลายเส้นพลาสติก (Filament) ที่บริเวณหัวขึ้นรูปซึ่งเคลื่อนที่ได้ แล้วฉีดพลาสติกออกมาตามคำสั่งที่ป้อนเข้าไป ซึ่งเมื่อเติมเนื้อวัสดุทีละชั้นตามแบบก็จะได้ชิ้นงาน 3 มิติ ที่มีรูปร่าง หน้าตา เหมือน 3D Model ตามต้องการ ด้วยสาเหตุดังกล่าว ทำให้เทคโนโลยี FDM 3D Printing เป็นที่นิยมใช้ และเกิดการแข่งขันจนราคาลดลงเรื่อย ๆ จนเหลือเพียงหลักหมื่นและหลักพันบาท บทความนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลของ Filament ที่มีในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ใช้ เลือกวัสดุได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการ Filament for 3D Printer FDM 3D Printing เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับงานที่ต้องการทำต้นแบบด้วยความรวดเร็วและราคาถูก สามารถนำไปใช้ได้กับงานต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง นอกจากจะเป็นระบบที่ต้นทุนถูกที่สุดแล้ว ยังมีวัสดุ และสีให้เลือกมากมาย [...]
Read more

Metaverse กับ อุตสาหกรรมการผลิตแห่งอนาคต

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย “Metaverse” คำศัพท์แห่งอนาคตที่กลายเป็นที่นิยมและได้รับการพูดถึงทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ “Mark Zuckerberg” ผู้ร่วมก่อตั้ง และ CEO “Facebook” ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น “Meta” เพื่อพาธุรกิจก้าวสู่ระยะต่อไปที่เป็นมากกว่าโซเชียลมีเดียและเพื่อสะท้อนถึงความมุ่งมั่นในอนาคต วันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับ “Metaverse” และบทบาทที่สำคัญของ Metaverse ที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องและนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมการผลิตในอนาคตได้อย่างไร ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ Metaverse คืออะไร ? “Metaverse” มาจากคำว่า “Meta” ที่แปลว่า เหนือกว่า พ้น เกินขอบเขต กับคำว่า “Universe” ที่แปลว่าจักรวาล เมื่อนำมารวมกันได้ความหมายว่า โลกที่พ้นขอบเขตไปแล้ว หรือ จักรวาลที่พ้นขอบเขต แต่ในทางปฏิบัติ จะหมายถึง แนวคิดในการสร้างสภาพแวดล้อมของโลกแห่งความจริงและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน จนกลายเป็น “ชุมชนโลกเสมือนจริง” ที่สามารถผสานวัตถุรอบตัวและสภาพแวดล้อมให้เชื่อมต่อกันเป็นหนึ่งเดียว สำหรับภาษาไทย ยังไม่มีความหมายและคำศัพท์ที่ใช้แทนคำว่า Metaverse ที่ชัดเจน โดยล่าสุด ราชบัณฑิตยสภาฯ ได้บัญญัติคำศัพท์ เพื่อใช้เรียก Metaverse ในภาษาไทย ว่า “จักรวาลนฤมิต” ในความเป็นจริงแล้ว Metaverse มีจุดเริ่มต้นมาจากนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง “Snow Crash” ของ Neal Stephenson นักเขียนชาวอเมริกัน [...]
Read more

นวัตกรรม 𝐂𝐞𝐥𝐥𝐨-𝐠𝐮𝐦 ร่วมออกบูธในงาน “วันนักประดิษฐ์”

ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ เจ้าของนวัตกรรม Cello-gum (แบคทีเรียเซลลูโลสจากวุ้นมะพร้าว) ร่วมนำผลงานนวัตกรรมดังกล่าวไปจัดแสดงในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564 - 2565 (Thailand Inventor’s Day 2021 & 2022) ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่างวันที่ 2 - 6 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ   Cello-gum เป็นนวัตกรรมที่สร้างขึ้นโดยได้รับทุนโครงการวิจัยปั้นดาวที่สนับสนุนโดย สป.อว. ภายใต้โครงการ "การสกัดและการดัดแปรแบคทีเรียเซลลูโลสจากเศษวุ้นมะพร้าว สู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์" ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สารให้ความคงตัวในอาหาร ในยา ฯลฯ โดยเป็นหนึ่งในนวัตกรรมเด่นด้านการพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุขั้นสูงเพื่ออุตสาหกรรมที่ได้รับการคัดเลือกจาก วช. ให้ได้จัดแสดงภายในงานวันนักประดิษฐ์ในปีนี้ ร่วมกับผลงานนวัตกรรมอื่น ๆ อีกกว่า 1,000 รายการ ซึ่งสร้างสรรค์โดยนักวิจัยและนักประดิษฐ์จากสถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐและภาคเอกชน ทั่วทั้งประเทศ   Go to Top [...]
Read more

ศูนย์ฯ เตรียมพร้อมจัดประชุมครั้งใหญ่ปลายปี ISFR 2022

วันที่ 4 ก.พ. 65 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้นัดหารือคณะกรรมการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ 11th International Symposium on Feedstock Recycling of Polymeric Materials 2022 (ISFR 2022) โดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ และประธานคณะกรรมการการจัดงานฯ พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ ในตำแหน่งกรรมการและเลขานุการของการจัดงาน ได้ร่วมประชุมกับคณะกรรมการท่านอื่น ซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าโปรแกรมวิจัยของศูนย์ฯ กรรมการจากสถาบันร่วม กรรมการจากหน่วยงานภาครัฐ และกรรมการจากบริษัทเอกชน ทั้งนี้เป็นการพูดคุยปรึกษาในรายละเอียดเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการประชุมดังกล่าว     ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   [...]
Read more

สวัสดีปีขาล! ด้วยของขวัญสุดพิเศษจากนักวิจัยในสังกัด

วันที่ 2 ก.พ. 65 ศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ จิตการค้า อาจารย์วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ หนึ่งในนักวิจัยในเครือข่ายของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้มอบกระเช้าของขวัญปีใหม่ให้แก่ศูนย์ฯ โดยคุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรม เป็นตัวแทนผู้บริหารศูนย์ฯ ในการรับมอบ พร้อมกันนี้ศูนย์ฯ ยังได้มอบของขวัญที่ระลึกแด่ ศ.ดร.ศิริรัตน์ เพื่อเป็นการตอบแทนในโอกาสที่ท่านได้มาสวัสดีปีใหม่บุคลากรของศูนย์ฯ ในปีนี้   Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ร่วมประชุมกับปลัดกระทรวง อว.

ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ร่วมประชุมกับปลัดกระทรวง อว. ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแกนนำ และผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านอื่น ๆ   ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ในตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้ร่วมประชุมกับ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ในฐานะปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผู้บริหารมหาวิทยาลัยแกนนำ 5 แห่ง และผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทั้ง 11 ศูนย์ ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2565   การประชุมในวันดังกล่าวมีปลัดกระทรวง อว. เป็นประธาน โดยมีการหารือเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับทิศทางในการดำเนินงานร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันถึงแนวนโยบายของกระทรวง อว. ในการขับเคลื่อนระบบนิเวศการวิจัยของประเทศไปสู่เป้าหมาย โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุเป็นหนึ่งในศูนย์ความเป็นเลิศ ภายใต้ สป.อว. ซึ่งเป็นกลไกสำคัญและมีความพร้อมในการผลักดันตามนโยบายให้บรรลุเป้าหมายนั้น Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 [...]
Read more

ปิโตรแมทร่วมกับนักวิจัยในสังกัด จัดการอบรมเพื่อพัฒนา CE Coach

ศูนย์ฯ ร่วมกับนักวิจัยในสังกัด​ จัดการอบรมเพื่อพัฒนา 'โค้ช' สำหรับอุตสาหกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน   ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ร่วมกับ กรมโรงงานอุตสาหกรรม ในการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสร้างที่ปรึกษาการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในโรงงานอุตสาหกรรม (Circular Economy Coach) ภายใต้โครงการมาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก วช. โดยการอบรมได้จัดเสร็จสมบูรณ์ไปแล้วระหว่างวันที่ 19 - 25 มกราคม 2565 ณ โรงแรมแมนดาริน แมนเนจ บาย เซ็นเตอร์ พ้อยท์ กรุงเทพฯ   การอบรมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์นักวิจัยในเครือข่ายของศูนย์ฯ ผู้ให้เกียรติเป็นวิทยากรในการอบรม ได้แก่ ผศ.ดร.มานิตย์ นิธิธนากุล วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ผศ.ดร.วิกานดา วราห์บัณฑูรวิทย์ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี ม.เกษตรศาสตร์ ผศ.ดร.ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ ม.ศิลปากร รศ.ดร.ศรุต อํามาตย์โยธิน ม.ธรรมศาสตร์ ผศ.ดร.ทองใส จำนงการ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา และ ผศ.ดร.รัฐพล รังกุพันธุ์ [...]
Read more