‘ไซเบิร์ก’ รวมพลัง ‘ปิโตรแมท’ ยกระดับนักวิจัยหลังปริญญาเอก อัปไซเคิล ‘เวสท์’ เป็นของใช้สุดเก๋ไก๋!

เมื่อวานนี้ (12 พ.ค. 65) ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ พร้อมด้วยคณะทำงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้เดินทางไปติดตามความก้าวหน้าของโครงการเรื่องการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG โดยได้เข้าพบผู้บริหารและนักวิจัย ที่โรงงานของบริษัท ไซเบิร์ก (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดอยุธยา ในการนี้ศูนย์ฯ ได้หารือร่วมกับคุณภิญญดา นิลกำแหง กรรมการบริหารของบริษัทฯ และ ดร.พิทักษ์ เหล่ารัตนกุล นักวิจัยพี่เลี้ยงของผู้รับทุนโครงการฯ คือ ดร.ปวีณา แตงอุดม ซึ่งได้นำเสนอผลงานที่ทำร่วมกับทางบริษัทฯ ดร.ปวีณา ได้พัฒนาการแปรรูปของเหลือทิ้งประเภทเส้นใยผ้า โดยนำมาขึ้นรูปร่วมกับพอลิโพรพิลีนให้กลายเป็นเม็ดพลาสติก ซึ่งสามารถนำไปผลิตต้นแบบแปรงสีฟัน โดยบริษัทฯ ได้เริ่มวางจำหน่ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้เป็นผลสำเร็จจากความร่วมมือระหว่างปิโตรแมทกับไซเบิร์ก ซึ่งเปิดโอกาสให้นักวิจัยหลังปริญญาเอกได้ต่อยอดความรู้สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ขายได้จริง ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมสามารถเดินหน้าการวิจัยของตนเองได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเป็นการสนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ของประเทศ Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ [...]
Read more

‘เอสพีซี’ ร่วมมือ ‘ปิโตรแมท’ ปั้นต้นแบบนักวิจัยรุ่นใหม่ ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม

วันที่ 11 พ.ค. 65 ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ พร้อมด้วยคณะทำงาน ได้ประชุมร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ มีอยู่ นักวิจัยพี่เลี้ยงของ ดร.เอกอาทิตย์ บุญประเสริฐโพธิ์ ผู้รับทุนวิจัยในโครงการ “การพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG ด้วยกลไกศูนย์ฯ ระยะที่ 2" การประชุมในวันดังกล่าวจัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เพื่อให้ ดร.เอกอาทิตย์ ได้นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการที่เกี่ยวกับการผลิตเยื่อไนโตรเซลลูโลสจากของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต ซึ่งขณะนี้กำลังเตรียมการยกระดับกระบวนการสู่เชิงพาณิชย์ สำหรับภาคธุรกิจแล้ว ความร่วมมือในครั้งนี้ช่วยให้การวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ของทางเอสพีซี มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ที่ต้องการสร้างกำลังคนรุ่นใหม่ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมในประเทศ Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร [...]
Read more

ศูนย์ฯ ร่วมหารือ ‘เอส แอนด์ เจ’ นำเสนอโซลูชันสร้างนวัตกรรมเครื่องสำอาง

วันที่ 11 พ.ค. 65 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ นำโดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ตามลำดับ ได้ต้อนรับ ศาสตราจารย์ ภญ.ดร.มาลิน อังสุรังษี กรรมการบริหารบริษัท เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยคณะทำงานด้านการวิจัยและพัฒนาของบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้นำด้านธุรกิจเวชสำอาง ครั้งนี้ศูนย์ฯ ได้นำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเครื่องสำอาง อาทิ 'เซลโลกัม บิวตี้' ที่ผลิตจากแบคทีเรียเซลลูโลสจากวุ้นมะพร้าว ซึ่งเป็นผลงานของ ศ.ดร.หทัยกานต์ เพื่อนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ให้ทางบริษัทฯ นำไปพัฒนาต่อเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2 [...]
Read more

Upcycling แนวคิดยุคใหม่…ก้าวไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย ท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยินชื่อของกระบวนการ “Upcycling” หรือ “Upcycle” ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกับกระบวนการรีไซเคิลและมีส่วนสำคัญที่ช่วยลดปัญหากากของเสีย ขยะที่ใช้แล้ว ส่งผลให้ลดปัญหามลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม จากบทความที่ผ่านมา “บทบาทของ Recycle ใน Circular Economy” ได้กล่าวถึง กระบวนการรีไซเคิล (Recycle) ว่าคืออะไร หลักการเป็นอย่างไร อยู่ส่วนไหนของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และการนำกระบวนการรีไซเคิลไปประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรม ในวันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับกระบวนการ Upcycling ว่ามีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างไร รวมไปถึงความแตกต่างระหว่างกระบวนการ Recycle และ Upcycling ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ Upcycling คืออะไร ? กระบวนการ Upcycling ถูกกล่าวถึงครั้งแรกโดย William McDonough และ Michael Braungart ในหนังสือ “Cradle to Cradle : Remaking the Way We [...]
Read more

‘ปัญจวัฒนาพลาสติก’ นำทีม 3 บริษัท จับมือ ‘ปิโตรแมท’ พัฒนากำลังคนระดับสูง

วันที่ 5 พ.ค. 65 ผู้บริหารพร้อมด้วยคณะทำงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้เยี่ยมชมบริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด (มหาชน) ณ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 2 จ.ชลบุรี เพื่อติดตามความร่วมมือในโครงการ “การพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG ด้วยกลไกศูนย์ฯ ระยะที่ 2" โดยคุณกานต์ จินตอนันต์กุล Automotive Production Director ของบริษัทฯ ได้ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ในวันเดียวกันนี้ ศูนย์ฯ ยังได้รับฟังความก้าวหน้าและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิจัยผู้ร่วมโครงการฯ 4 ท่าน ซึ่งได้ทำวิจัยร่วมกับบริษัท 3 แห่ง ได้แก่ บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด บริษัท พีเจ เมดิคอล จำกัด และ บริษัท ธรรมานามัยเฮลท์คูซีน จำกัด สำหรับโครงการที่ร่วมมือกับปัญจวัฒนาพลาสติก นักวิจัย 2 ท่าน คือ ดร.ฐิตินันท์ ประดับแสง และ ดร.สุภัทร์ชัย [...]
Read more

ศูนย์ฯ ร่วมกับ ‘เคมี อินโนเวชั่น’ นำทัพสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ เน้นได้ประสบการณ์จริงจากอุตสาหกรรม

วันที่ 3 พ.ค. 65 คณะผู้บริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้เยี่ยมชมบริษัท เคมี อินโนเวชั่น จำกัด เพื่อติดตามความก้าวหน้าของนักวิจัยโครงการ “การพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG ด้วยกลไกศูนย์ฯ ระยะที่ 2" โดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้เข้าพบคณะกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทอินโนเวชั่น นำโดย ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล ประธานกลุ่มบริษัทฯ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับความสำคัญของโครงการฯ รวมถึงหารือแนวทางการบ่มเพาะนักวิจัยหลังปริญญาเอกให้มีความพร้อมสู่การทำงานในภาคอุตสาหกรรม สำหรับความร่วมมือภายใต้โครงการนี้ คุณภัทรวดี หนุนอนันต์ นักวิจัยผู้ได้รับทุนจากโครงการฯ ได้ร่วมกับทางบริษัทฯ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ถุงมือยางธรรมชาติ โดยมีการพบปะกับเกษตรกรในพื้นที่ และทำวิจัยจริงในโรงงาน ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ให้แก่นักวิจัย ในการยกระดับผลงานจากห้องทดลองไปสู่ผลิตภัณฑ์อันมีมุมมองด้านธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเป็นต้นแบบการพัฒนาบุคลากรจากภาคการศึกษาให้มีความพร้อมกับการเป็นนักวิจัยที่มีคุณภาพในภาคอุตสาหกรรม Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 [...]
Read more