นวัตกรรม ‘กล่องขนส่งโลหิตอัจฉริยะ’ รับรางวัลรองชนะเลิศในการประชุม IMRC2021

Smart Blood Transport Device นวัตกรรมโดยปิโตรแมทได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสองในการนำเสนอผลงานวิจัยแบบปากเปล่าในงานประชุมวิชาการด้านการแพทย์ International Medical Student Research Conference (IMRC2021) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคม 2564 โดยมีวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า เป็นเจ้าภาพ.โดยนวัตกรรมกล่องขนส่งโลหิตอัจฉริยะหรือ Smart Blood Transport Device เป็นความร่วมมือกันระหว่าง ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ หัวหน้าโครงการ อาจารย์ นพ.เจตวรรณ ศิริอักษร แพทย์ประจำฝ่ายธนาคารเลือด โรงพยาบาลจุฬาฯ สภากาชาดไทย และอีกสองบริษัท ได้แก่ บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เสถียรพลาสติค แอนด์ ไฟเบอร์ จำกัด เพื่อพัฒนาอุปกรณ์สำหรับใช้ในการขนส่งโลหิตในโรงพยาบาลที่สามารถควบคุมและติดตามอุณหภูมิภายในอุปกรณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งช่วยรักษาคุณภาพของโลหิตให้คงไว้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ดียิ่งขึ้น.นอกจากได้รับรางวัลแล้วนวัตกรรมดังกล่าวยังได้รับเลือกให้จัดแสดงในส่วน Innovation Showcase ในวันงานอีกด้วย       [...]
Read more

ผลิตภัณฑ์ Cello-gum’ สารคงตัวในอาหารจากวุ้นมะพร้าว สู่โรงงานต้นแบบ

ปิโตรแมทร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ในโครงการ 'การสกัดและการดัดแปรแบคทีเรียเซลลูโลสจากเศษวุ้นมะพร้าว สู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์' เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่โดยเริ่มจากสารให้ความคงตัวในอาหาร ภายใต้โครงการวิจัยปั้นดาวที่สนับสนุนโดย สป.อว..ทั้งนี้เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2564 คณะผู้ประเมินโครงการวิจัยนำโดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ได้ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการฯ ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงงานต้นแบบ บริษัท อําพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จํากัด ร่วมกับการประชุมออนไลน์ โดยในวันดังกล่าว ศ.ดร.หทัยกานต์ ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย Cello-gum พร้อมด้วยทีมงาน ได้ร่วมนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการฯ และได้นำคณะผู้ประเมินไปเยี่ยมชมโรงงานต้นแบบที่ใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์.Cello-gum คือนวัตกรรมการแปรรูปเศษวุ้นมะพร้าวโดยสกัดให้เป็นแบคทีเรียลเซลลูโลสบริสุทธิ์ ซึ่งมีมูลค่าสูงเนื่องจากสามารถดัดแปรและนำไปใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรม โดยนักวิจัยเล็งใช้ประโยชน์เป็นสารให้ความคงตัวในการผลิตอาหาร ก่อนจะพัฒนาต่อไปสู่อุตสาหกรรมอื่น เช่น ยาและเครื่องสำอาง       Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 [...]
Read more

3D Printing: เทคโนโลยีของโลกยุคใหม่

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ (3D printing) คือนวัตกรรมเปลี่ยนโลกที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เป็นเทคโนโลยีที่ถูกคิดค้นมากว่า 30 ปีและกำลังขยายการใช้งานเข้าสู่ผู้ใช้ระดับครัวเรือนมากขึ้นในราคาที่ต่ำลงเรื่อย ๆ จนมีผู้นำไปพัฒนาต่อยอดและประยุกต์ใช้ในแวดวงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เครื่องพิมพ์ 3 มิติสามารถสร้างชิ้นงานได้ด้วยวัสดุหลากหลายแบบ ทั้งพลาสติก ยาง โลหะ ไนล่อน อัลลอย ฯลฯ โดยเครื่องพิมพ์ 3 มิติสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท ขึ้นอยู่กับวิธีการขึ้นรูปชิ้นงานและวัสดุที่สามารถพิมพ์ได้ ถึงแม้เครื่องพิมพ์แต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันแต่หลักการพื้นฐานยังเหมือนเดิมคือ “ขึ้นรูปชิ้นงานโดยการเติมเนื้อวัสดุทีละชั้น” บทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจเทคโนโลยีแบบต่าง ๆ ของเครื่องพิมพ์ 3 มิติกัน Fused Deposition Modeling (FDM) เป็นเทคโนโลยี 3D Printing ที่แพร่หลายที่สุด เนื่องจากมีราคาถูก เครื่องพิมพ์ประเภทนี้ทำงานโดยการทำความร้อนละลายเส้นพลาสติก (Filament) แล้วฉีดพลาสติกออกมาตามรูปทรงหน้าตัดของชิ้นงานทีละชั้นซ้อนกันเรื่อย ๆ จนได้เป็นชิ้นงาน เหมาะสำหรับทำชิ้นงานต้นแบบอย่างรวดเร็ว มีข้อดีคือราคาถูก ใช้งานง่ายและมีวัสดุให้เลือกใช้หลายชนิด (ABS, PLA, Flexible, Nylon, [...]
Read more