คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

เรื่องโดย นุสรา จริยสกุลโรจน์ คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint of Organization : CFO) เป็นเครื่องมือที่แสดงข้อมูลปริมาณการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emissions and Removals) ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการดำเนินงานและกิจกรรมขององค์กรในรูปคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า องค์กรสามารถนำผลที่ได้ไปใช้กำหนดแนวทางบริหารจัดการลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ณ แหล่งปล่อยที่มีนัยสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการและธุรกิจของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในเวทีการค้าโลก ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมในกรณีที่ภาครัฐกำหนดให้มีการรายงานข้อมูลก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Reporting) ขององค์กรต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางบริหารจัดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ได้จัดทำข้อกำหนดในการคำนวณและรายงานคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรขึ้นซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ISO 14064-1(2018), GHG Protocol (2001, 2004) และตัวอย่างบางส่วนจาก ISO/TR 14069 (2013) ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) แบ่งกิจกรรมที่มีการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานขององค์กรไว้ 3 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 การปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกทางตรงขององค์กร (SCOPE I) [...]
Read more

จัดงานอย่างไร…ให้ยั่งยืนและคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

เรื่องโดย นุสรา จริยะสกุลโรจน์ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า กิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมส่วนตัว กิจกรรมการทำงานหรือกิจกรรมอื่นๆ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดก๊าซเรือนกระจกสาเหตุของภาวะโลกร้อน ไม่เว้นแม้กระทั่งการจัดงานอีเวนต์ ที่มีการใช้พลังงานหลายส่วนและขยะที่เกิดจากการจัดงานมากมาย จึงเป็นเรื่องดีไม่น้อย หากผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจหรือภาคส่วนต่างๆ ที่เป็นผู้จัดงาน ร่วมใจกันสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งทำให้เกิดการจัดงานแบบยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับประเทศไทย สํานักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. (Thailand Convention & Exhibition Bureau (Public Organization) : TCEB) ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. (Thailand Greenhouse Gas Management Organization (Public Organization) : TGO) ตอบสนองต่อกระแสขับเคลื่อนของโลกด้านความยั่งยืนโดยการผลักดันอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) ให้มีการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN’s Sustainable Development Goals: SDGs) อุตสาหกรรมไมซ์ (MICE) คือ [...]
Read more

ฉลากคาร์บอนสื่อถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร

เรื่องโดย นุสรา จริยสกุลโรจน์ Credit ภาพ: https://th.crazypng.com/681.html ความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ทำให้ทุกภาคส่วนทั่วโลกตื่นตัวให้ความสนใจและตระหนักถึงปัญหาทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรกรรมในฐานะผู้ผลิต   ภาคบริการในฐานะผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม รวมถึงภาคประชาชนในฐานะผู้บริโภค การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในส่วนของผู้บริโภคที่เชื่อมโยงกับภาคการผลิตและภาคการบริการ คือ การเลือกซื้อสินค้าและใช้บริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณต่ำเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์หรือบริการประเภทเดียวกัน ซึ่งผู้บริโภคจำเป็นต้องดูข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ ที่มาของฉลากคาร์บอน ในปี พ.ศ. 2544 มีองค์กรอิสระที่ชื่อว่า “คาร์บอนทรัสต์ (Carbon Trust)” ริเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการลดปัญหาโลกร้อน มีจุดมุ่งหมายให้คำแนะนำกับผู้ประกอบการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเป็นองค์กรแห่งแรกที่ให้ใบรับรองเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 จึงเกิดฉลากคาร์บอนผลิตภัณฑ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในสหราชอาณาจักร ในกลุ่มสินค้าอุปโภคและบริโภค โดย Tesco Plc. ซุปเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ได้เริ่มติดฉลากคาร์บอน บอกจำนวนคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการผลิตบนภาชนะบรรจุสินค้าภายใต้ตราสินค้า Tesco ของตนเองประมาณ 20 รายการ วางขายใน Tesco ทั่วสหราชอาณาจักร คาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่ติดบนผลิตภัณฑ์ เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคทราบว่า ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้น มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไหร่ต่อหนึ่งหน่วยผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน  โดยแสดงผลอยู่ในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า [...]
Read more

แหล่งดูดซับคาร์บอนตามธรรมชาติของโลก

เรื่องโดย นุสรา จริยะสกุลโรจน์ แหล่งดูดซับและกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติของโลก ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่ถูกกำหนดขึ้นภายใต้พิธีสารเกียวโตและถูกกล่าวถึงมากที่สุดในปัจจุบันว่าเป็นต้นเหตุของภาวะโลกร้อน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ก๊าซชนิดนี้มีองค์ประกอบของคาร์บอนซึ่งเป็นธาตุพื้นฐานที่ทำให้ระบบนิเวศของโลกเกิดความสมดุลและธรรมชาติเองก็ยังเป็นแหล่งกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ได้ที่เราเรียกว่า Carbon Sink นั่นเอง ตามข้อมูลของ Global Carbon Budget ได้แบ่งแหล่งกักเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติของโลกเป็น 3 แหล่งหลัก ๆ คือ ทะเล มหาสมุทร (เรียกคาร์บอนที่ถูกเก็บไว้ว่า Blue Carbon) ต้นไม้ ป่าไม้ (เรียกคาร์บอนที่ถูกเก็บไว้ว่า Green Carbon) ชั้นบรรยากาศ (Atmosphere) แหล่งกักเก็บคาร์บอนในชั้นบรรยากาศนี้เองที่กำลังมีปัญหา เนื่องจากเป็นการกักเก็บคาร์บอนในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกส่งผลให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นหรือเกิดภาวะโลกร้อน Green Carbon คาร์บอนจากชั้นบรรยากาศในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกดูดซับและกักเก็บโดยต้นไม้ ป่าไม้และผืนดินที่ปกคลุมด้วยพืชพันธุ์ต่าง ๆ ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช การดูดซับคาร์บอนแบบนี้เป็นที่คุ้นเคยของคนทั่วไป เนื่องจากเป็นความรู้ขั้นพื้นฐานเรื่องการเจริญเติบโตของพืชผ่านการสังเคราะห์ด้วยแสงและมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นปัจจัยหลักในกระบวนการ พืชและป่าไม้จึงมีส่วนสำคัญในการหมุนเวียนคาร์บอน ด้วยความที่ Green Carbon อยู่บนผืนดินและกักเก็บคาร์บอนส่วนเกินไว้ในผืนดิน จึงถูกเรียกอีกอย่างว่า “Terrestrial Carbon Sink” [...]
Read more

NET ZERO : ทำไมใคร ๆ ก็พูดถึง

เรื่องโดย นุสรา จริยะสกุลโรจน์ เดาว่านี่คงไม่ใช่ครั้งแรกที่พบคำว่า “Net Zero” เพราะทุกวันนี้ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็มักจะพบกับคำนี้บ่อยครั้ง เคยสงสัยกันไหมว่าจริง ๆ แล้วคำนี้คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับก๊าซเรือนกระจก ทำไมใคร ๆ ก็พูดถึง นอกจากนี้ยังมี Carbon Neutrality และ Climate Neutrality แต่ละคำต่างกันอย่างไร แล้วทุกอย่างที่กล่าวมามีผลต่อเราหรือไม่ เราจะอธิบายให้ฟังแบบง่าย ๆ โดยเริ่มตั้งแต่ต้นเหตุที่ก๊าซเรือนกระจกกันก่อนนะคะ ก๊าซเรือนกระจกคืออะไร? ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gases: GHG) คือ กลุ่มก๊าซในชั้นบรรยากาศโลกที่สามารถดูดซับและปล่อยรังสีภายในช่วงความถี่เฉพาะของรังสีอินฟราเรดที่ปล่อยสู่ผิวโลก ชั้นบรรยากาศ และเมฆ ก๊าซเรือนกระจกประกอบด้วยก๊าซ 7 ชนิดตามที่กำหนดภายใต้พิธีสารเกียวโต ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) และไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3) ก๊าซเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากก๊าซเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนอยู่อาศัยไม่ได้ [...]
Read more