การผลักดันงานวิจัยสู่โลกการผลิตด้วยแนวทางของ R V Connex (ตอนที่ 2)

เรื่องโดย ฤทธิเดช แววนุกูล จากบทสัมภาษณ์ตอนที่แล้ว (บทสัมภาษณ์ ตอนที่ 1) คุณพีรพล ตระกูลช่าง Managing Director/Manufacturing Director และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุเจตน์ จันทรังษ์ VP Innovation R&D บริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด ได้แนะนำให้รู้จัก R V Connex ว่าเกิดจากอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ จนมีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยี 4 ด้าน คือ Security, Platform, Software และ Space ซึ่งในบทสัมภาษณ์ตอนนี้ จะเจาะลึกถึงปัจจัยที่ช่วยผลักดันงานวิจัยสู่โลกการผลิตและประสบการณ์การทำงานต่างๆ ผ่านผลิตภัณฑ์ของ R V Connex PETROMAT : งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาของภาครัฐในปัจจุบัน นอกจากจะให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรม S-curve อุตสาหกรรม New S-curve และ เศรษฐกิจ BCG [...]
Read more

การผลักดันงานวิจัยสู่โลกการผลิตด้วยแนวทางของ R V Connex (ตอนที่ 1)

เรื่องโดย ฤทธิเดช แววนุกูล ถ้าได้ติดตามข่าวสงครามในปัจจุบัน อาวุธยุคใหม่ที่ถูกนำเข้ามาใช้งานมากขึ้นคืออากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle, UAV) หรือโดรน (Drone) ซึ่งมีการพัฒนาขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด ไม่ต่างจากที่เคยเห็นในภาพยนตร์ฮอลลีวูด สำหรับประเทศไทยเองก็มีการใช้งานโดรนอย่างแพร่หลายทั้งเป็นเครื่องเล่น ใช้ในการถ่ายภาพ ใช้ในการเกษตร เป็นต้น แต่ถ้าพูดถึงการใช้โดรนเพื่อการรบแล้ว ดูเหมือนจะเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ห่างไกลจากประเทศไทยมาก อาจจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศและต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาฝึกสอนนักบินเพื่อใช้งาน แต่ทราบหรือไม่ว่าอากาศยานไร้คนขับเพื่อการรบมีประจำที่กองทัพอากาศไทยเช่นกัน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท อาร์ วี คอนเน็กซ์ จำกัด (R V Connex) ที่เป็นบริษัทของคนไทย 100% PETROMAT มีโอกาสร่วมมือกับ R V Connex ในการส่งนักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกอุตสาหกรรมไปทำโครงการวิจัยเรื่องการฟื้นสภาพแบตเตอรี่และการปรับสภาพชิ้นส่วนอากาศยานให้ทนต่อการกัดกร่อน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ในครั้งนี้ PETROMAT ได้รับเกียรติในการเข้าสัมภาษณ์อย่างเป็นกันเองจากคุณพีรพล ตระกูลช่าง Managing Director/Manufacturing Director และ รองศาสตราจารย์ ดร.สุเจตน์ [...]
Read more

Interview Pathway to Net Zero Emission for Thailand

เรื่องโดย ฤทธิเดช แววนุกูล หลังจากการประชุม COP26 ท่านนายกรัฐมนตรีได้แสดงเจตนารมณ์ประกาศว่าประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 ทำให้เกิดการตื่นตัวในทุกภาคส่วน วันนี้ PETROMAT ได้รับเกียรติจากคุณเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (TGO) และกรรมการบริหาร PETROMAT มาช่วยเราไขข้อสงสัย และแนะแนวทางที่ถูกต้องในการเดินเข้าสู่ Net Zero Emission • Carbon Neutral และ Net Zero Emission สำคัญอย่างไร • เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสู่ Carbon Neutral และ Net Zero Emission ทาง PETROMAT ได้รู้จักคุณเกียรติชายในบทบาทผู้บริหารของบริษัทปิโตรเคมีชั้นนำของประเทศและกรรมการบริหารของ PETROMAT โดยคุณเกียรติชายช่วยแนะนำ PETROMAT ไม่ให้ตกเทรนด์ของภาคอุตสาหกรรมมาโดยตลอด [...]
Read more

Circular Economy ใช้ประโยชน์ได้จริงหรือไม่

เรื่องโดย ฤทธิเดช แววนุกูล “คุณธีระพล ติรวศิน” ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อดีตวิศวกรสิ่งแวดล้อมจากรั้วจามจุรี เริ่มต้นจากการออกแบบระบบควบคุมมลพิษให้โรงงานอุตสาหกรรม เคยบริหารกิจการและดำรงตำแหน่ง MD บริษัทด้านสิ่งแวดล้อมในเครือ SCG เข้าร่วมกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่วันแรกที่จัดตั้ง และดำรงตำแหน่งประธานกลุ่มฯ ในวาระปีปัจจุบัน • บทบาทและทิศทางของกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม • ความท้าทายในการยกระดับการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย • ความร่วมมือกับภาคการศึกษาและวิจัย Q : กลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม A: “หลังจากที่มีการประกาศใช้กฎหมายการจัดการกากอุตสาหกรรมในช่วงปี 2540 ส่งผลให้ธุรกิจด้านการจัดการของเสียเกิดขึ้นตามมา กลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อมจึงถูกจัดตั้งภายใต้ พ.ร.บ. ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2546 โดยสาเหตุที่รวมกลุ่มกันครั้งแรกนั้น เกิดจากปัญหาร่วมในข้อปลีกย่อยของกฎหมายที่มีจำนวนมาก ทั้งที่จริงแล้วกฎหมายออกมาเพื่อจัดการกับของเสียที่ไม่ได้ทำตามระบบหรือของเสียที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงโอกาสในการช่วยเหลือกันในธุรกิจด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพิงอุตสาหกรรมอื่นภายในประเทศ และมีการแข่งขันกันเอง แต่อย่างไรก็ตามก็มีลักษณะที่เราต้องช่วยเหลือกันในกลุ่มอุตสาหกรรม จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการก่อตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อมขึ้นมา” โดยคุณธีระพลได้เริ่มทำงานกับกลุ่มฯ ตั้งแต่วันแรกที่ก่อตั้ง “สมาชิกทุกคนจะมีบริษัทที่สังกัดอยู่ โดยมีความเห็นตรงกันว่าถ้าพวกเรามาร่วมกันมาช่วยกัน จะสามารถทำสิ่งที่มีประโยชน์และมีพลังได้มากกว่า และเช่นเดียวกันกับกลุ่มอื่นๆ ในสภาอุตสาหกรรมที่จะต้องมีประธานกลุ่ม ในกลุ่มฯ จึงมีการเลือกตั้งประธานกลุ่มสลับหมุนเวียนกันมา” คุณธีระพลได้สะสมประสบการณ์ในธุรกิจนี้ และปัจจุบันก็ยังทำงานด้านอื่นๆ [...]
Read more

ความสำเร็จจากความคิดต่าง คิดนอกกรอบ และคิดเชิงบวก

ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ หรือ “อ.ปุ๊ก” นักวิทยาศาสตร์หญิงคนเก่ง หลังจากบ่มเพาะความรู้ระดับปริญญาตรีและปริญญาโทด้านวัสดุศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.ปุ๊กได้ข้ามน้ำข้ามทะเลไปคว้าปริญญาเอกด้านวิศวกรรมวัสดุจาก Pennsylvania State University ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้กลับมายังรั้วจามจุรีเพื่อเริ่มต้นบทบาทการเป็นอาจารย์ในปี 2547 ในด้านการศึกษา อ.ปุ๊ก ได้รับโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่ง “ศาสตราจารย์” ในสาขาวิทยาการพอลิเมอร์ สังกัดวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ในปี 2564 ในด้านการบริหาร อ.ปุ๊ก ได้ผ่านงานบริหารมากมายและได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้อำนวยการ PETROMAT ในปี 2559 และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการ PETROMAT ในปี 2563 Q : ความฝันวัยเด็ก A: “แม้ว่าจะเป็นเด็กต่างจังหวัด แต่ก็ชอบหาสิ่งใหม่ ๆ ให้ตัวเองตลอดเวลา” ในขณะที่เด็กคนอื่นอยากจะเรียนต่อ ม. 1 ในโรงเรียนประจำจังหวัด แต่ อ.ปุ๊กกลับมองหาสิ่งที่จะให้โอกาสในการพัฒนาตัวเองมากกว่านี้ เวลานั้นที่ภาคใต้มีโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ซึ่งความท้าทายคือนักเรียนจะต้องไปอยู่หอพักของเอกชนรอบ ๆ โรงเรียน การที่เด็ก ม. 1 [...]
Read more