ไมโครพลาสติก : ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย มนุษย์กินไมโครพลาสติก 5 กรัมต่อสัปดาห์ เมื่อปี พ.ศ.2563 ในงานศึกษาโดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล WWF ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลในออสเตรเลีย ทำการวิจัยหาปริมาณพลาสติกจากแหล่งธรรมชาติสู่วงจรบริโภคของมนุษย์ พบว่า มนุษย์อาจบริโภคไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกาย ในปริมาณกว่า 2,000 ชิ้น หรือ 5 กรัมต่อสัปดาห์ เทียบเท่ากับบัตรเครดิต 1 ใบ คิดเป็น 20 กรัมต่อเดือน 240 กรัมต่อปี ! การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้เกิดการศึกษา      ต่อยอดอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป เพื่อสร้างความเข้าใจและค้นหาความจริงถึงผลกระทบของพลาสติกที่มีต่อร่างกายและสุขภาพของมนุษย์ ปัจจุบันไมโครพลาสติกกลายเป็นปัญหามลพิษทางทะเลที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งทั่วโลก เนื่องจากไมโครพลาสติกมีขนาดเล็กมากทำให้ยากต่อการเก็บและกำจัด รวมถึงย่อยสลายได้ยาก เมื่อมีการระบายน้ำที่ผ่านการบำบัดน้ำเสียลงสู่สิ่งแวดล้อม ไมโครพลาสติกจึงสามารถปนเปื้อน แพร่กระจาย สะสมและตกค้างในสิ่งแวดล้อมได้ง่าย โดยการแพร่กระจายของไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมพบได้ทั้งในน้ำจืด ตะกอนดินและในทะเล หากสิ่งมีชีวิตในทะเลกินไมโครพลาสติกเข้าไป ทำให้เกิดการสะสมในห่วงโซ่อาหาร (Food chain) และสามารถถ่ายทอดไปตามลำดับขั้นของการบริโภคอาหารในระบบนิเวศ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ไมโครพลาสติก (Microplastics) คืออะไร? ไมโครพลาสติก คือ [...]
Read more

ไบโอพลาสติกจากผลไม้

เรื่องโดย นุรสา จริยสกุลโรจน์ เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า พลาสติกชีวภาพ หรือ พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Compostable Plastic) คือ พลาสติกที่ผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียม (Petroleum-based) หรือจากวัตถุดิบทางการเกษตร (Bio-based) ได้แก่ ข้าวโพด อ้อยและมันสำปะหลัง แต่ปัจจุบันพบว่ามีนวัตกรรมพลาสติกชีวภาพใหม่ที่ผลิตจากเศษผลไม้ในส่วนของเปลือกไม่ว่าจะเป็น เปลือกล้วย เปลือกส้ม เปลือกมะเขือเทศ และเมล็ดอโวคาโด ซึ่งเป็นเศษผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาสร้างมูลค่าให้กับตลาดไบโอพลาสติก อโวคาโด ผลไม้ที่ให้พลังงานสูง อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และมีโปรตีนมากกว่าผลไม้อื่น ๆ เป็นผลไม้ที่คนไทยไม่ค่อยคุ้นเคยนัก แต่ผลไม้ชนิดนี้เป็นที่นิยมของผู้คนในอเมริกาเหนือและยุโรป จนทำให้มีการบริโภคสูงถึงปีละ 5 ล้านตัน และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ อโวคาได้รับฉายาว่า “ทองคำสีเขียว” ของชาวเม็กซิโก เนื่องจากเป็นประเทศที่ส่งออกอโวคาโดมากที่สุดในโลก ปริมาณการส่งออกคิดเป็น 50% ของอโวคาโดที่ส่งออกทั่วโลก เม็กซิโกเป็นประเทศที่ส่งออกอโวคาโดมากที่สุดในโลก ที่มาภาพ : https://www.elfinanciero.com.mx/mundo/la-historia-de-como-el-aguacate-mexicano-conquisto-al-mundo/ https://www.cleanpng.com/png-hass-avocado-mexican-cuisine-fruit-food-health-4592020/ ในแต่ละเดือนอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากอโวคาโดของประเทศเม็กซิโกมีเมล็ดอโวคาโดเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตถูกทิ้งไปอย่างเสียเปล่ากว่า 30,000 เมตริกตัน เมล็ดอโวคาโดมีองค์ประกอบหลักเป็นคาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิตกรดแลคติก เมื่อกรดแลคติกผ่านกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชันได้เป็น “พอลิแลคติกแอซิด หรือ [...]
Read more

ซูเปอร์เวิร์ม เขมือบพลาสติก พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย ขยะพลาสติกมีอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่ง จนมีการตรวจพบอนุภาคของพลาสติกในอากาศที่เราหายใจ อาหารที่เรากิน หรือแม้แต่ในเลือดของเรา การบริโภคและการกำจัดผลิตภัณฑ์พลาสติกของมนุษย์ยังสร้างมลพิษให้กับแหล่งที่อยู่อาศัยทั่วโลก รวมถึงในมหาสมุทร ซึ่งปัญหามลพิษจากพลาสติกก็กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น จนล่าสุด กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จาก University of Queensland's School of Chemistry and Molecular Biosciences ได้พยายามหาวิธีรีไซเคิลพลาสติก โดยค้นพบว่า ‘ซูเปอร์เวิร์ม’ (Superworms) หรือชื่อของหนอนตัวอ่อนด้วง Zophobas (ชื่อวิทยาศาสตร์: Zophobas morio) สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยการกินพลาสติกพอลิสไตรีน (Polystyrene) เป็นอาหาร เพราะจุลินทรีย์ในลำไส้ของหนอนสามารถย่อยสลายมันได้ ซูเปอร์เวิร์ม กำลังกินพลาสติกพอลิสไตรีน ตัวด้วง Zophobas ระยะโตเต็มวัย พอลิสไตรีน เป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาจากสไตรีนมอนอเมอร์ ซึ่งเป็นสารไฮโดรคาร์บอนที่ได้จากปิโตรเลียม โดยพอลิสไตรีนเป็นพลาสติกที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและพบได้ในบรรจุภัณฑ์ประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่น โฟม ภาชนะ ช้อนส้อมแบบใช้แล้วทิ้ง เป็นต้น บรรจุภัณฑ์พอลิสไตรีนประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้ง ในการทดลอง นักวิทยาศาสตร์แบ่งหนอนตัวอ่อนด้วง Zophobas 171 ตัวออกเป็น 3 [...]
Read more

พลังงานหมุนเวียน ทดแทนการใช้พลังงานน้ำมัน

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย จากปัญหาราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบัน ทำให้เกิดการมองหาพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ได้มาจากการผลิตด้วยน้ำมันมากขึ้น การมองหาพลังงานทางเลือกที่จะนำมาทดแทนการใช้พลังงานน้ำมัน เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แต่จะมีการพูดถึงแหล่งพลังงานทางเลือกมากขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบกับราคาน้ำมัน นอกจากนี้แหล่งพลังงานทางเลือกยังเป็นเทรนด์พลังงานสะอาดที่ทั่วโลกให้ความสนใจ มาดูกันว่าพลังงานที่สามารถทดแทนการใช้น้ำมันนั้นมีอะไรบ้าง พลังงานหมุนเวียนคืออะไร พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) คือพลังงานที่ใช้ไม่หมด สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มีแหล่งกำเนิดตามธรรมชาติรอบ ๆ ตัวเรา รวมถึงผลผลิตและวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตรก็สามารถนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานหมุนเวียนได้ ปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนเป็นพลังงานทางเลือกที่นำมาใช้ทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล หรือพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ หินน้ำมันและทรายน้ำมัน เป็นต้น พลังงานหมุนเวียนจึงถือเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อมลพิษ ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะพลังงานเหล่านี้ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ลดการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศและยังสามารถส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการผลิตพลังงานไฟฟ้าอีกด้วย ประเภทของพลังงานหมุนเวียน พลังงานหมุนเวียนที่ทั่วโลกนิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานชีวมวลและพลังงานจากขยะ พลังงานน้ำ (Hydropower)  พลังงานน้ำ (Hydropower) เป็นแหล่งพลังงานธรรรมชาติที่มีให้หมุนเวียนใช้อย่างไม่มีวันหมดและเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นอกจากนี้น้ำยังสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า โดยอาศัยหลักการเปลี่ยนรูปของพลังงานจากน้ำที่เก็บกักในเขื่อน (พลังงานศักย์) ไหลผ่านท่อส่งน้ำ (พลังงานจลน์) ปั่นเครื่องกังหันน้ำ [...]
Read more

ภาชนะจากธรรมชาติ

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย ปัจจุบันภาชนะใส่อาหารที่เราพบเห็นทั่วไปและหาซื้อได้ง่าย มักทำมาจากพลาสติก และเมื่อเราใช้เสร็จ พลาสติกเหล่านี้ก็จะกลายเป็นขยะที่ย่อยสลายยาก โดยพลาสติกอาจใช้เวลาในการย่อยสลายนานหลายร้อยปี หากนำไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบที่สร้งปัญหามลภาวะและทำให้โลกร้อน ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมทั่วโลก วันนี้ PETROMAT ขอเชิญชวนทุกคนให้หันมาใช้ภาชนะจากธรรมชาติแทน ซึ่งนอกจากจะสวยเก๋ มีสไตล์ไม่เหมือนใครแล้ว ยังช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวทิ้งและส่งเสริมอาชีพให้แก่เกษตรกรอีกด้วย ภาชนะจากธรรมชาติ  มีอะไรบ้างวันนี้เราจะเอาข้อมูลมาฝากกันค่ะ ใบเล็บครุฑลังกา เป็นพืชที่มีใบค่อนข้างหนา ลักษณะคล้ายชาม สามารถนำมาเป็นภาชนะใส่อาหารต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นของทอด ของนึ่งและของทานเล่น กินเสร็จก็สามารถทิ้งได้เลย ใบเล็บครุฑจะย่อยสลายเองตามธรรมชาติแต่สิ่งสำคัญอยู่ตรงที่ความคิดสร้างสรรค์และการใส่ใจสิ่งแวดล้อม จัดว่าเป็นไอเดียที่เก๋มากสำหรับยุคสมัยนี้ ภาชนะจากใบเล็บครุฑลังกา Credited ภาพ : https://acuisineth.com/food-story/ ใบตองตึง วัสดุท้องถิ่นของอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ภาชนะจากวัสดุธรรมชาติที่คิดค้นจากมันสมองของคนไทยและได้รับการยอมรับไกลในระดับโลก โดยผลงานนี้เป็นของรองนายกเทศมนตรีตำบลแม่เมาะ ซึ่งขณะนี้มีความต้องการซื้อจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ล่าสุดในการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 34 เมื่อปีพ.ศ. 2562 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ นายกรัฐมนตรีได้นำเอาจาน-ชามใบตองตึงแม่เมาะ มาเป็นภาชนะที่ใช้เสิร์ฟในงานเลี้ยงรับรองให้แก่คณะผู้นำที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย ภาชนะจากใบตองตึง Credited ภาพ : https://www.salika.co/2019/11/08/3-container-models-from-natural/ จานที่ผลิตจาก [...]
Read more

3D Printing เทคโนโลยีปฏิวัติวงการทันตกรรม

  เรื่องโดย นุสรา จริยะสกุลโรจน์ การพิมพ์สามมิติ หรือ 3D Printing เป็นเทคโนโลยีที่ปัจจุบันถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีตัวเลือกหลากหลายในท้องตลาดและประกอบกับราคาที่ถูกลง ทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย โดยเริ่มตั้งแต่การนำมาใช้ในระดับครัวเรือนจนถึงการนำไปใช้ในระดับอุตสาหกรรมและหลายสาขาอาชีพไม่เว้นแม้แต่งานด้านทันตกรรม ซึ่งทำให้การรักษาผู้ป่วยด้านทันตกรรมมีประสิทธิภาพและมีทางเลือกมากขึ้น ที่มาภาพ : https://www.pinterest.com/pin/758152918521121203/ 3D Printing เหมาะกับงานด้านทันตกรรมอย่างมาก เนื่องจากช่องปากและฟันของคนเรามีสัดส่วนและขนาดที่ไม่เหมือนกัน ทำให้ในการผลิตชิ้นงานหรืออุปกรณ์ที่ใช้หรือช่วยในการรักษาจำเป็นต้องมีรูปร่างและขนาดที่จำเพาะเจาะจงกับผู้ป่วยแต่ละคน เช่น การทำครอบฟัน ฟันปลอม และการรักษาทางทันตกรรมต่าง ๆ ในงานด้านทันตกรรมไม่ว่าจะเป็นการทำฟันปลอม Splints (อุปกรณ์ช่วยยึดฟันทั้งเฝือกสบฟันและอุปกรณ์สำหรับใช้ในการผ่าตัดขากรรไกร) และอุปกรณ์ครอบฟันบางประเภท มีขั้นตอนหลักในการทำโมเดลฟันแบบเดิมคือ ทันตแพทย์จะใช้วิธีการพิมพ์ปากผู้ป่วยด้วยวัสดุพิมพ์ที่มีอยู่หลากหลาย ชนิดวัสดุพิมพ์ที่นิยมใช้เรียกว่า “อัลจิเนต” ซึ่งเป็นวัสดุพิมพ์ปากในกลุ่มไฮโดรคอลลอยด์ (Hydrocolloid) มีกลิ่นคล้ายยาสีฟัน ผลิตขึ้นโดยการสกัดกรดอัลจินิก (alginic acid: anhydro-ß-d-mannuronic acid) จากสาหร่ายสีน้ำตาล เมื่อใส่เข้าไปในปาก ประมาณ 1-2 นาที อัลจิเนตจะแข็งตัวและดึงออกมาเป็นแบบรอยพิมพ์ฟัน ทันตแพทย์จะส่งแบบพิมพ์ฟันให้กับช่างทันตกรรมหรือห้องปฏิบัติการทางทันตกรรมต่าง ๆ ช่างทันตกรรมต้องผสมปูนปลาสเตอร์หล่อแบบขึ้นมาจากรอยพิมพ์ที่ทันตแพทย์ส่งมาให้ได้เป็นโมเดลฟัน ทันตแพทย์จะนำโมเดลฟันที่ได้ไปออกแบบการรักษาและทำเป็นชิ้นงาน เช่น ฟันปลอม สปริ๊นท์ และอุปกรณ์ครอบฟันบางประเภท โดยใช้วัสดุเป็นขี้ผึ้งและผ่านกระบวนการอัดด้วยวัสดุที่เหมาะสมกับชิ้นงานที่ใช้ในการรักษา เช่น [...]
Read more

ธนบัตรพอลิเมอร์

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เตรียมใช้ธนบัตรชนิดราคา 20 บาท แบบใหม่ เรียกว่า “ธนบัตรพอลิเมอร์” ในวันที่ 24 มีนาคม 2565 ซึ่งเปลี่ยนจากการเป็นธนบัตรกระดาษ มาใช้วัสดุ “พอลิเมอร์” ซึ่งมีความทนทานในการใช้งานมากกว่า “ธนบัตรกระดาษ” ช่วยลดปริมาณการผลิตธนบัตรใหม่เพื่อทดแทนธนบัตรที่ชำรุด ลดการใช้ทรัพยากร และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะธนบัตรชนิดราคา 20 บาท ที่ถูกใช้จ่ายมากที่สุด มีการหมุนเวียนเปลี่ยนมือบ่อย ทำให้สภาพเก่ากว่าธนบัตรชนิดราคาอื่น แท้จริงแล้วธนบัตรพอลิเมอร์ทำมาจากพอลิเมอร์ชนิดใดและใช้กระบวนการใดในการผลิต ติดตามไปพร้อมกันเลยค่ะ ธนบัตรพอลิเมอร์ ผลิตและขึ้นรูปด้วยวิธี Biaxially Oriented Polypropylene (BOPP) ซึ่งเป็นการหลอมเม็ดพลาสติกชนิดพอลิพรอพีลีน (PP) ผ่านเครื่องหลอมอัดรีด แล้วทำการดึงยืดให้เป็นฟิล์มโดยการดึงฟิล์มในสองทิศทาง ได้แก่ ดึงในด้านขนานกับทิศทางการไหลของพอลิเมอร์ออกจากเครื่องหลอมอัดรีด และดึงตั้งฉากกับทิศทางการไหลของพอลิเมอร์ที่ออกจากเครื่องหลอมอัดรีด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวฟิล์ม เช่น มีการยืดตัวต่ำ ความต้านทานแรงดึงสูงขึ้น มีความแข็งมากขึ้น มีคุณสมบัติทางแสงที่ดีขึ้นและทนทานต่อน้ำหรือก๊าซได้ดีขึ้น การขึ้นรูปพลาสติกประเภท Biaxially Oriented Polypropylene (BOPP) [...]
Read more

Filament for FDM 3D Printer

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่าเทคโนโลยี 3D Printing ชนิด Fused Deposition Modeling (FDM) เป็นเทคโนโลยีที่แพร่หลายมากที่สุด เนื่องจากเป็นกระบวนการที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน โดยการหลอมละลายเส้นพลาสติก (Filament) ที่บริเวณหัวขึ้นรูปซึ่งเคลื่อนที่ได้ แล้วฉีดพลาสติกออกมาตามคำสั่งที่ป้อนเข้าไป ซึ่งเมื่อเติมเนื้อวัสดุทีละชั้นตามแบบก็จะได้ชิ้นงาน 3 มิติ ที่มีรูปร่าง หน้าตา เหมือน 3D Model ตามต้องการ ด้วยสาเหตุดังกล่าว ทำให้เทคโนโลยี FDM 3D Printing เป็นที่นิยมใช้ และเกิดการแข่งขันจนราคาลดลงเรื่อย ๆ จนเหลือเพียงหลักหมื่นและหลักพันบาท บทความนี้จึงได้รวบรวมข้อมูลของ Filament ที่มีในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ใช้ เลือกวัสดุได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการ Filament for 3D Printer FDM 3D Printing เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับงานที่ต้องการทำต้นแบบด้วยความรวดเร็วและราคาถูก สามารถนำไปใช้ได้กับงานต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง นอกจากจะเป็นระบบที่ต้นทุนถูกที่สุดแล้ว ยังมีวัสดุ และสีให้เลือกมากมาย [...]
Read more

3D Printing: เทคโนโลยีของโลกยุคใหม่

เรื่องโดย ดร.ทัศชา ทรัพย์มีชัย เทคโนโลยีการพิมพ์แบบสามมิติ (3D printing) คือนวัตกรรมเปลี่ยนโลกที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เป็นเทคโนโลยีที่ถูกคิดค้นมากว่า 30 ปีและกำลังขยายการใช้งานเข้าสู่ผู้ใช้ระดับครัวเรือนมากขึ้นในราคาที่ต่ำลงเรื่อย ๆ จนมีผู้นำไปพัฒนาต่อยอดและประยุกต์ใช้ในแวดวงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เครื่องพิมพ์ 3 มิติสามารถสร้างชิ้นงานได้ด้วยวัสดุหลากหลายแบบ ทั้งพลาสติก ยาง โลหะ ไนล่อน อัลลอย ฯลฯ โดยเครื่องพิมพ์ 3 มิติสามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภท ขึ้นอยู่กับวิธีการขึ้นรูปชิ้นงานและวัสดุที่สามารถพิมพ์ได้ ถึงแม้เครื่องพิมพ์แต่ละแบบจะมีความแตกต่างกันแต่หลักการพื้นฐานยังเหมือนเดิมคือ “ขึ้นรูปชิ้นงานโดยการเติมเนื้อวัสดุทีละชั้น” บทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจเทคโนโลยีแบบต่าง ๆ ของเครื่องพิมพ์ 3 มิติกัน Fused Deposition Modeling (FDM) เป็นเทคโนโลยี 3D Printing ที่แพร่หลายที่สุด เนื่องจากมีราคาถูก เครื่องพิมพ์ประเภทนี้ทำงานโดยการทำความร้อนละลายเส้นพลาสติก (Filament) แล้วฉีดพลาสติกออกมาตามรูปทรงหน้าตัดของชิ้นงานทีละชั้นซ้อนกันเรื่อย ๆ จนได้เป็นชิ้นงาน เหมาะสำหรับทำชิ้นงานต้นแบบอย่างรวดเร็ว มีข้อดีคือราคาถูก ใช้งานง่ายและมีวัสดุให้เลือกใช้หลายชนิด (ABS, PLA, Flexible, Nylon, [...]
Read more