พัฒนาผลิตภัณฑ์ยางยืดสู่ความยั่งยืน ความร่วมมือใหม่ระหว่างศูนย์ฯ กับ Union Pioneer

ปิโตรแมทนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกทิพย์ บุญเกิด อาจารย์ภาควิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาฯ และนักวิจัยของศูนย์ฯ ได้ร่วมประชุมกับคุณษิกเวช โสภาพันธุ์ รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยทีมนักวิจัยของบริษัท ยูเนี่ยนไพโอเนียร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ โดยการประชุมจัดขึ้นเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 24 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา ปิโตรแมทนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกทิพย์ บุญเกิด อาจารย์ภาควิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาฯ และนักวิจัยของศูนย์ฯ ได้ร่วมประชุมกับคุณษิกเวช โสภาพันธุ์ รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยทีมนักวิจัยของบริษัท ยูเนี่ยนไพโอเนียร์ จำกัด (มหาชน) เพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ โดยการประชุมจัดขึ้นเมื่อช่วงเช้าของวันที่ 24 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน [...]
Read more

อาจารย์​ ‘เคมี จุฬาฯ’ ได้รับรางวัลและเงินทุนฯ จาก มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย

มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย มอบรางวัลและเงินทุนฯ ครั้งที่ 28 พ.ศ. 2564 รางวัลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเภทสภาบันศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเคมีไฟฟ้าและแสงนำโดย ศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล เงินทุนช่วยเหลือการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโครงการของ อาจารย์ ดร.จัญจุดา อุ่นเรืองศรี Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

ศูนย์ฯ ร่วมกับกรมโรงงานฯ จัดอบรมหลักสูตรด้าน ‘เศรษฐกิจหมุนเวียน’

จัดขึ้นเป็นครั้งที่สองแล้วสำหรับหลักสูตร 'เศรษฐกิจหมุนเวียนและเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในโรงงานอุตสาหกรรม (Technology of Circular Economy in Process)' โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม เป็นเจ้าภาพ ร่วมด้วยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ภายหลังจากที่การอบรมจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ในวันนี้ (3 มีนาคม 2565) มีผู้ประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรมจากทั่วประเทศและผู้ที่เกี่ยวข้อง ให้ความสนใจเข้าร่วมงานเกือบ 200 คน ในการอบรมประกอบไปด้วยเนื้อหาหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม และหลักการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบรรยายโดยวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญ โดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้บรรยายในหัวข้อ 'การถอดบทเรียนโครงการฯ ในอุตสาหกรรมพลาสติกระดับ SMEs' เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ในการสร้างต้นแบบโรงงานด้านพลาสติกที่บริหารจัดการตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน หลังจากที่ทำสำเร็จไปแล้วจำนวนทั้งหมด 10 โรง ภายใต้โครงการสร้างโรงงานนำร่องด้านพลาสติกร่วมกับนักวิจัยของศูนย์ฯ และผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในช่วงปีที่ผ่านมา ขณะที่คุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรมของศูนย์ฯ ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ 'Business Canvas Model' ในการอบรมครั้งนี้ด้วย การอบรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อขยายผลจากโครงการวิจัยเรื่อง [...]
Read more

CE Project โดยศูนย์ฯ ร่วมกับ ‘กรมโรงงานฯ’ ขยายผลสู่ผู้ประกอบการ

วันจันทร์ที่ผ่านมา (21 ก.พ. 65) กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และ สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ในการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนและเทคโนโลยีนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องในโรงงานอุตสาหกรรม (Technology of Circular Economy in Process)" โดยมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและผู้สนใจเข้าร่วมกว่า 150 คน   การอบรมในครั้งนี้จัดขึ้นต่อเนื่องจากโครงการวิจัยเรื่อง "มาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน" ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ เป็นหัวหน้าโครงการย่อยผู้ดำเนินโครงการฯ ด้านพลาสติก โดยในปีที่ผ่านมาได้ร่วมกับนักวิจัยของศูนย์ฯ ในการสร้างต้นแบบโรงงานด้านพลาสติกที่บริหารจัดการตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน จำนวนทั้งสิ้น 10 โรง   ในวันดังกล่าวมีวิทยากรจำนวนหลายท่าน โดย ศ.ดร.หทัยกานต์ ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ "การถอดบทเรียนโครงการฯ ในอุตสาหกรรมพลาสติกระดับ SMEs" ขณะที่ คุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรมของศูนย์ฯ ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ "Business Canvas Model"   ทั้งนี้ นับว่าเป็นการแบ่งปันประสบการณ์จากการทำโครงการวิจัย พร้อมนำเสนอแนวทางให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและแนวคิดธุรกิจของตนเองให้สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน [...]
Read more

พัฒนาวิธีการเพื่อยืดอายุการใช้งานกรดล้างโลหะ ลดภาระในการกำจัดของเสีย

วันนี้ (17 ก.พ. 65) ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ร่วมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร วาสนาเพียรพงศ์ อาจารย์ภาควิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาฯ ได้ประชุมร่วมกับนักวิจัย บริษัท เนกซัส เซอร์เฟส อินโนเวชั่น จำกัด นำโดย คุณธัชชัย หงส์ยั่งยืน เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัย โดยศูนย์ฯ จะร่วมมือกับบริษัทฯ ในการพัฒนากลุ่ม​ผลิตภัณฑ์​ สำหรับนำไปใช้ในการแยกหรือตกตะกอนสิ่งเจือปนในกรด อันจะช่วยยืดอายุการใช้งานและอาจเพิ่มความสามารถในการนำกรดกลับไปใช้ซ้ำ ทั้งนี้เพื่อลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการลดต้นทุนในการกำจัดและลดมลพิษในสิ่งแวดล้อม   ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

นักวิจัยศูนย์ฯ คุยเรื่อง ‘ถ่านอัดแท่ง’ จากเศษพืชเหลือทิ้ง ให้กลุ่ม SCG Waste

วันที่ 9 ก.พ. 65 ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ตามลำดับ ได้หารือร่วมกับศาสตราจารย์ ดร.ธราพงษ์ วิทิตศานต์ ภาควิชาเคมีเทคนิค จุฬาฯ และนักวิจัยกลุ่ม SCG Waste การพูดคุยกันในครั้งนี้ ศ.ดร.ธราพงษ์ ได้เล่ารายละเอียดการทำวิจัยเกี่ยวกับถ่านอัดแท่ง ซึ่งทำจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรชนิดต่าง ๆ เพื่อเปิดมุมมองให้ผู้เข้าร่วมประชุมที่สนใจได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและซักถามข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำวิจัยในเรื่องดังกล่าว ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

การประชุมกรรมการอำนวยการศูนย์ฯ ครั้งที่ 1/2565

ศูนย์ฯ จัดประชุมบอร์ดอำนวยการ: นำเสนอผลการดำเนินงานปี 64 - ปรับทิศทางการทำงานปี 65   วันที่ 7 ก.พ. 65 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุได้จัดประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565 เพื่อหารือในวาระต่าง ๆ และนำเสนอผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2564 โดยที่ประชุมประกอบด้วย ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ ในฐานะประธานกรรมการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและบริษัทเอกชน และกรรมการท่านอื่น ซึ่งได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองอธิการบดีจุฬาฯ คุณวนิดา บุญนาคค้า ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) พร้อมด้วยอธิการบดีและผู้แทนจากอีก 4 มหาวิทยาลัยสถาบันร่วมของศูนย์ฯ ในการนี้ ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้ร่วมประชุมด้วย ปีงบประมาณ 2564 [...]
Read more

นวัตกรรม 𝐂𝐞𝐥𝐥𝐨-𝐠𝐮𝐦 ร่วมออกบูธในงาน “วันนักประดิษฐ์”

ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ เจ้าของนวัตกรรม Cello-gum (แบคทีเรียเซลลูโลสจากวุ้นมะพร้าว) ร่วมนำผลงานนวัตกรรมดังกล่าวไปจัดแสดงในงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564 - 2565 (Thailand Inventor’s Day 2021 & 2022) ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่างวันที่ 2 - 6 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ   Cello-gum เป็นนวัตกรรมที่สร้างขึ้นโดยได้รับทุนโครงการวิจัยปั้นดาวที่สนับสนุนโดย สป.อว. ภายใต้โครงการ "การสกัดและการดัดแปรแบคทีเรียเซลลูโลสจากเศษวุ้นมะพร้าว สู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์" ซึ่งมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สารให้ความคงตัวในอาหาร ในยา ฯลฯ โดยเป็นหนึ่งในนวัตกรรมเด่นด้านการพัฒนาเทคโนโลยีวัสดุขั้นสูงเพื่ออุตสาหกรรมที่ได้รับการคัดเลือกจาก วช. ให้ได้จัดแสดงภายในงานวันนักประดิษฐ์ในปีนี้ ร่วมกับผลงานนวัตกรรมอื่น ๆ อีกกว่า 1,000 รายการ ซึ่งสร้างสรรค์โดยนักวิจัยและนักประดิษฐ์จากสถาบันการศึกษา หน่วยงานรัฐและภาคเอกชน ทั่วทั้งประเทศ   Go to Top [...]
Read more

ศูนย์ฯ เตรียมพร้อมจัดประชุมครั้งใหญ่ปลายปี ISFR 2022

วันที่ 4 ก.พ. 65 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้นัดหารือคณะกรรมการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ 11th International Symposium on Feedstock Recycling of Polymeric Materials 2022 (ISFR 2022) โดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และ ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ และประธานคณะกรรมการการจัดงานฯ พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ เรียบร้อยเจริญ ในตำแหน่งกรรมการและเลขานุการของการจัดงาน ได้ร่วมประชุมกับคณะกรรมการท่านอื่น ซึ่งประกอบด้วย หัวหน้าโปรแกรมวิจัยของศูนย์ฯ กรรมการจากสถาบันร่วม กรรมการจากหน่วยงานภาครัฐ และกรรมการจากบริษัทเอกชน ทั้งนี้เป็นการพูดคุยปรึกษาในรายละเอียดเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดการประชุมดังกล่าว     ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   [...]
Read more

สวัสดีปีขาล! ด้วยของขวัญสุดพิเศษจากนักวิจัยในสังกัด

วันที่ 2 ก.พ. 65 ศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ จิตการค้า อาจารย์วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ หนึ่งในนักวิจัยในเครือข่ายของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้มอบกระเช้าของขวัญปีใหม่ให้แก่ศูนย์ฯ โดยคุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรม เป็นตัวแทนผู้บริหารศูนย์ฯ ในการรับมอบ พร้อมกันนี้ศูนย์ฯ ยังได้มอบของขวัญที่ระลึกแด่ ศ.ดร.ศิริรัตน์ เพื่อเป็นการตอบแทนในโอกาสที่ท่านได้มาสวัสดีปีใหม่บุคลากรของศูนย์ฯ ในปีนี้   Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more