ผู้บริหารศูนย์ฯ ลงพื้นที่หาดใหญ่ ติดตามโครงการวิจัยผลิตภัณฑ์ยางพารา Doctor N Medigel

ผู้บริหารศูนย์ฯ ลงพื้นที่หาดใหญ่ ติดตามโครงการวิจัยผลิตภัณฑ์ยางพารา Doctor N Medigel พร้อมเยี่ยมชมอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้-ศูนย์วิจัยคลินิก ม.อ. เมื่อวันที่ 17-18 พ.ค. 65 ทีมผู้บริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ นำโดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ได้เดินทางไปติดตามความก้าวหน้าโครงการเรื่องการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG ที่ทำร่วมกับ บริษัท เอ็นเอฟ เฮลท์แคร์ จำกัด พร้อมกันนี้คณะผู้เดินทางได้เยี่ยมชมอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้ จังหวัดสงขลา และศูนย์วิจัยคลินิก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ช่วงเช้าของวันที่ 17 ทีมผู้บริหารศูนย์ฯ ได้เข้าพบ ทพ.เมธี โกวิทวนาวงษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เอ็นเอฟ เฮลท์แคร์ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ พญ.นลินี โกวิทวนาวงษ์ ผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อหารือเกี่ยวกับการวิจัยผลิตภัณฑ์ยางพารา ภายใต้โครงการพัฒนานักวิจัยหลังปริญญาเอกที่ทำร่วมกับศูนย์ฯ พญ.นลินี ได้นำเสนอที่มาของงานวิจัยเกี่ยวกับวัสดุกระจายแรงสำหรับผู้ป่วยติดเตียงเพื่อป้องกันแผลกดทับ ซึ่งแต่ก่อนวัสดุดังกล่าวมีราคาแพงเพราะไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้ทางบริษัทฯ จึงได้วิจัยวัสดุกระจายแรงที่ใช้ส่วนผสมจากยางพาราที่เป็นพืชเศรษฐกิจของไทย จนได้เป็นผลิตภัณฑ์เจลยางพาราป้องกันแผลกดทับภายใต้แบรนด์ Doctor N Medigel ซึ่งมีความต้องการมากโดยเฉพาะในช่วงที่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ติดเตียงในที่พักอาศัย โครงการวิจัยที่ศูนย์ฯ ทำร่วมกับทางบริษัทฯ [...]
Read more

ศูนย์ฯ ขอแสดงความยินดีแด่ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุเมธ ชวเดช

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ขอแสดงความยินดีแด่– 🎉🎉🎉 ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุเมธ ชวเดช ในโอกาสที่ได้รับพระราชทานกิตติบัตร "ศาสตราจารย์กิตติคุณ" 🎉🎉🎉 ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร จุฬาฯ ประจำปีการศึกษา 2563 เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

‘ไซเบิร์ก’ รวมพลัง ‘ปิโตรแมท’ ยกระดับนักวิจัยหลังปริญญาเอก อัปไซเคิล ‘เวสท์’ เป็นของใช้สุดเก๋ไก๋!

เมื่อวานนี้ (12 พ.ค. 65) ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ พร้อมด้วยคณะทำงานของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้เดินทางไปติดตามความก้าวหน้าของโครงการเรื่องการพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG โดยได้เข้าพบผู้บริหารและนักวิจัย ที่โรงงานของบริษัท ไซเบิร์ก (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดอยุธยา ในการนี้ศูนย์ฯ ได้หารือร่วมกับคุณภิญญดา นิลกำแหง กรรมการบริหารของบริษัทฯ และ ดร.พิทักษ์ เหล่ารัตนกุล นักวิจัยพี่เลี้ยงของผู้รับทุนโครงการฯ คือ ดร.ปวีณา แตงอุดม ซึ่งได้นำเสนอผลงานที่ทำร่วมกับทางบริษัทฯ ดร.ปวีณา ได้พัฒนาการแปรรูปของเหลือทิ้งประเภทเส้นใยผ้า โดยนำมาขึ้นรูปร่วมกับพอลิโพรพิลีนให้กลายเป็นเม็ดพลาสติก ซึ่งสามารถนำไปผลิตต้นแบบแปรงสีฟัน โดยบริษัทฯ ได้เริ่มวางจำหน่ายที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้เป็นผลสำเร็จจากความร่วมมือระหว่างปิโตรแมทกับไซเบิร์ก ซึ่งเปิดโอกาสให้นักวิจัยหลังปริญญาเอกได้ต่อยอดความรู้สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ขายได้จริง ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมสามารถเดินหน้าการวิจัยของตนเองได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งเป็นการสนับสนุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ของประเทศ Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ [...]
Read more

‘เอสพีซี’ ร่วมมือ ‘ปิโตรแมท’ ปั้นต้นแบบนักวิจัยรุ่นใหม่ ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม

วันที่ 11 พ.ค. 65 ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ พร้อมด้วยคณะทำงาน ได้ประชุมร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ มีอยู่ นักวิจัยพี่เลี้ยงของ ดร.เอกอาทิตย์ บุญประเสริฐโพธิ์ ผู้รับทุนวิจัยในโครงการ “การพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG ด้วยกลไกศูนย์ฯ ระยะที่ 2" การประชุมในวันดังกล่าวจัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เพื่อให้ ดร.เอกอาทิตย์ ได้นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการที่เกี่ยวกับการผลิตเยื่อไนโตรเซลลูโลสจากของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิต ซึ่งขณะนี้กำลังเตรียมการยกระดับกระบวนการสู่เชิงพาณิชย์ สำหรับภาคธุรกิจแล้ว ความร่วมมือในครั้งนี้ช่วยให้การวิจัยผลิตภัณฑ์ใหม่ของทางเอสพีซี มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ที่ต้องการสร้างกำลังคนรุ่นใหม่ เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมในประเทศ Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร [...]
Read more

ศูนย์ฯ ร่วมหารือ ‘เอส แอนด์ เจ’ นำเสนอโซลูชันสร้างนวัตกรรมเครื่องสำอาง

วันที่ 11 พ.ค. 65 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ นำโดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ตามลำดับ ได้ต้อนรับ ศาสตราจารย์ ภญ.ดร.มาลิน อังสุรังษี กรรมการบริหารบริษัท เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยคณะทำงานด้านการวิจัยและพัฒนาของบริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้นำด้านธุรกิจเวชสำอาง ครั้งนี้ศูนย์ฯ ได้นำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเครื่องสำอาง อาทิ 'เซลโลกัม บิวตี้' ที่ผลิตจากแบคทีเรียเซลลูโลสจากวุ้นมะพร้าว ซึ่งเป็นผลงานของ ศ.ดร.หทัยกานต์ เพื่อนำเสนอนวัตกรรมใหม่ๆ ให้ทางบริษัทฯ นำไปพัฒนาต่อเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2 [...]
Read more

‘ปัญจวัฒนาพลาสติก’ นำทีม 3 บริษัท จับมือ ‘ปิโตรแมท’ พัฒนากำลังคนระดับสูง

วันที่ 5 พ.ค. 65 ผู้บริหารพร้อมด้วยคณะทำงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้เยี่ยมชมบริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด (มหาชน) ณ นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 2 จ.ชลบุรี เพื่อติดตามความร่วมมือในโครงการ “การพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG ด้วยกลไกศูนย์ฯ ระยะที่ 2" โดยคุณกานต์ จินตอนันต์กุล Automotive Production Director ของบริษัทฯ ได้ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ในวันเดียวกันนี้ ศูนย์ฯ ยังได้รับฟังความก้าวหน้าและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักวิจัยผู้ร่วมโครงการฯ 4 ท่าน ซึ่งได้ทำวิจัยร่วมกับบริษัท 3 แห่ง ได้แก่ บริษัท ปัญจวัฒนาพลาสติก จำกัด บริษัท พีเจ เมดิคอล จำกัด และ บริษัท ธรรมานามัยเฮลท์คูซีน จำกัด สำหรับโครงการที่ร่วมมือกับปัญจวัฒนาพลาสติก นักวิจัย 2 ท่าน คือ ดร.ฐิตินันท์ ประดับแสง และ ดร.สุภัทร์ชัย [...]
Read more

ศูนย์ฯ ร่วมกับ ‘เคมี อินโนเวชั่น’ นำทัพสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ เน้นได้ประสบการณ์จริงจากอุตสาหกรรม

วันที่ 3 พ.ค. 65 คณะผู้บริหารศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้เยี่ยมชมบริษัท เคมี อินโนเวชั่น จำกัด เพื่อติดตามความก้าวหน้าของนักวิจัยโครงการ “การพัฒนานักวิจัยระดับหลังปริญญาเอกเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ BCG ด้วยกลไกศูนย์ฯ ระยะที่ 2" โดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้เข้าพบคณะกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทอินโนเวชั่น นำโดย ดร.บัญชา ชุณหสวัสดิกุล ประธานกลุ่มบริษัทฯ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับความสำคัญของโครงการฯ รวมถึงหารือแนวทางการบ่มเพาะนักวิจัยหลังปริญญาเอกให้มีความพร้อมสู่การทำงานในภาคอุตสาหกรรม สำหรับความร่วมมือภายใต้โครงการนี้ คุณภัทรวดี หนุนอนันต์ นักวิจัยผู้ได้รับทุนจากโครงการฯ ได้ร่วมกับทางบริษัทฯ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ถุงมือยางธรรมชาติ โดยมีการพบปะกับเกษตรกรในพื้นที่ และทำวิจัยจริงในโรงงาน ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์ให้แก่นักวิจัย ในการยกระดับผลงานจากห้องทดลองไปสู่ผลิตภัณฑ์อันมีมุมมองด้านธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเป็นต้นแบบการพัฒนาบุคลากรจากภาคการศึกษาให้มีความพร้อมกับการเป็นนักวิจัยที่มีคุณภาพในภาคอุตสาหกรรม Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 [...]
Read more

ศูนย์ฯ จับมือ ‘ยูเนี่ยนไพโอเนียร์’ เจ้าของยี่ห้อวีนัส เตรียมยกระดับผลิตภัณฑ์ยางสู่ความยั่งยืน!

สองนักวิจัยปิโตรแมท ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.กนกทิพย์ บุญเกิด อาจารย์ภาควิชาวัสดุศาสตร์ จุฬาฯ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริลักษณ์ พุ่มประดับ อาจารย์ภาควิชาเคมีเทคนิค จุฬาฯ ได้ประชุมร่วมกับคุณษิกเวช โสภาพันธุ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ พร้อมด้วยทีมนักวิจัยของบริษัท ยูเนี่ยนไพโอเนียร์ จำกัด (มหาชน) พร้อมกันนี้ยังได้เยี่ยมชมโรงงานของบริษัทฯ เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 21 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา บริษัทยูเนี่ยนไพโอเนียร์เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับยาง ที่รู้จักกันดีภายใต้ยี่ห้อวีนัส ซึ่งมีผลิตภัณฑ์หลายประเภท อาทิ แถบและเส้นยางยืดสำหรับทำเสื้อผ้า ยางยืดออกกำลังกาย ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ โจทย์ของบริษัทฯ คือต้องการปรับปรุงผลิตภัณฑ์จากยางให้มีความเป็นมิตรกับธรรมชาติมากขึ้น โดยปิโตรแมทพร้อมยืนหยัดวิจัยเคียงข้าง เพื่อเดินทางไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่ทางบริษัทฯ ให้ความสำคัญ Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร [...]
Read more

สมาชิกศูนย์ฯ ร่วมเป็นกรรมการในงาน NITAD18 Hackathon รวมพลคนรุ่นใหม่ แก้ไขปัญหาขยะชุมชน

สมาชิกศูนย์ฯ ร่วมเป็นกรรมการในงาน NITAD Hackathon กิจกรรมรวมพลคนรุ่นใหม่ แก้ไขปัญหาขยะชุมชน เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2565 คุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรมของศูนย์ฯ และผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ Chula Zero Waste ได้ร่วมเป็นกรรมการตัดสิน "นวัตกรรมการจัดการขยะสำหรับชุมชนโครงการบ้านเอื้ออาทรบางโฉลง นิติ 1" ซึ่งเป็นโจทย์สำหรับการแข่งขันในงานนิทรรศทางวิชาการ ครั้งที่ 18 ที่จัดโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ (NITAD18) กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาได้เสนอแนวคิดการใช้ความรู้ในเชิงวิศวกรรม ในการจัดการขยะอย่างถูกต้อง และกระตุ้นผู้คนให้หันมามีส่วนร่วมในการแยกขยะให้มากขึ้น ทั้งหมดนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาชุมชนเคหะบางโฉลง สู่การเป็นต้นแบบที่ชุมชนอื่นสามารถนำแนวทางการจัดการขยะไปปฏิบัติตาม ภาพกิจกรรม Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th [...]
Read more

ทีมวิจัยศูนย์ฯ ลงพื้นที่สมุย ประเดิมโครงการสร้างต้นแบบชุมชนด้านการลดขยะอาหาร

เริ่มลงพื้นที่จริงแล้ว สำหรับโครงการวิจัยเรื่อง "การบริหารจัดการขยะอาหารเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนเกาะสมุยและเป็นชุมชนต้นแบบด้านความมั่นคงด้านอาหาร" ซึ่งได้รับทุนจาก สวก. ให้ดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ครั้งนี้ ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และหัวหน้าโครงการฯ ได้นำทีมนักวิจัยออกเดินทางพร้อมผู้ร่วมงาน เพื่อศึกษาข้อมูลการจัดการขยะอาหารและสถานการณ์ของปัญหาขยะที่พบในปัจจุบัน โดยทีมวิจัยได้สำรวจพื้นที่ต่างๆ ทั่วทั้งอำเภอเกาะสมุย ระหว่างวันที่ 29 - 31 มีนาคม 2565 พื้นที่ที่ได้ไปสำรวจประกอบด้วย วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นต้นสังกัดของ ดร.จันทร์พร ช่วงโชติ หนึ่งในนักวิจัยผู้ร่วมโครงการฯ ส่วนพื้นที่อื่นๆ ที่ได้มีการสำรวจ เช่น พื้นที่เตาเผาขยะของเทศบาล ตำบลมะเร็ต โรงแรมและรีสอร์ท รวมถึงพื้นที่ชุมชนต่างๆ ทั้งนี้การลงพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้ทีมวิจัยได้ข้อมูลเกี่ยวกับการทิ้งและการจัดการอาหารส่วนเกิน อย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้ในพิ้นที่ของเกาะสมุย ก่อนจะเตรียมทำวิจัยสู่ขั้นตอนต่อไปของโครงการฯ เพื่อให้บรรลุตามแผน "Samui Zero Food Waste" Go to Top ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 [...]
Read more