ศูนย์ฯ จัดเวิร์กช็อป ‘เน็ตซีโร่’ ชวน ‘วิทยาลัยปิโตรฯ’ กู้วิกฤตโลกร้อน

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ นำโดยคุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรม ได้จัดกิจกรรมเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเรื่องการคำนวณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้ความรู้แก่บุคลากรของวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ภายใต้โครงการเสริมสร้างความรู้สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น ณ อาคารวิทยาลัยฯ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วยการบรรยายและการทดลองคำนวณคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ บริการ และหน่วยงาน โดยบรรยากาศเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ทั้งนี้คุณวรุณเป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงแนวคิดที่เกี่ยวกับการลดโลกร้อน อีกทั้งศูนย์ฯ ยังมีบริการให้คำปรึกษาด้านคาร์บอนฟุตพรินต์แก่องค์กรต่างๆ ที่สนใจอีกด้วย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ขึ้นเวทีตอกย้ำศักยภาพปิโตรแมทในการยกระดับการวิจัยไปสู่อุตสาหกรรม

ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ Empowering Plastic Industry with Academia-Industrial Partnerships ซึ่งจัดโดยวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ในงาน InterPlas Thailand 2022 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัมพิรา เจริญแสง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุทัยพร สุริยประภาดิลก และคุณไพศาล หล่อพงศ์ไพบูลย์ ผู้จัดการสมาคม ASEAN Vinyl Council (AVC) ได้ร่วมเสวนาในครั้งนี้ด้วย เริ่มต้นด้วยคุณไพศาล ซึ่งได้ให้ข้อมูลด้านวิสัยทัศน์และภารกิจของสมาคมฯ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับพลาสติกชนิดพอลิไวนิลคลอไรด์ที่ใช้ผลิตท่อพีวีซี โดยพลาสติกชนิดดังกล่าวมีความทนทานและสามารถใช้งานได้ยาวนาน หลังจากเสื่อมสภาพแล้วก็ยังสามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ ทั้งนี้การจัดการที่ดีจะทำให้พีวีซีเป็นพลาสติกที่เป็นมิตรมากขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ต่อมา ผศ.ดร.อัมพิรา และ ผศ.ดร.อุทัยพร ได้นำเสนอการทำงานและการวิจัยของทางวิทยาลัยฯ รวมถึงความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยฯ กับทางสมาคมฯ โดยทั้งสองมีโครงการวิจัยร่วมกันเกี่ยวกับการศึกษาพีวีซี รวมทั้งในด้าน Material Flow Analysis ซึ่งรวบรวมข้อมูลปริมาณการผลิต การใช้ และการกำจัด [...]
Read more

‘ปิโตรแมท’ รวมทีม ‘ศสอ.’ – ‘กลุ่มสภาอุตฯ’ จับมือ ‘บพข.’ ยกร่างเว็บไซต์ฐานข้อมูลการจัดการกากอุตสาหกรรม หนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ร่วมกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย และกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการจัดกิจกรรม “สัมมนาระดมความคิดเห็นเพื่อออกแบบระบบการใช้งานเว็บไซต์ฐานข้อมูลการจัดการกากอุตสาหกรรม ครั้งที่ 1” ภายใต้โครงการวิจัยเรื่องแนวทางการจัดการกากอุตสาหกรรมเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เมื่อปี พ.ศ. 2564 ทั้งนี้เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มให้ข้อมูลการจัดการกากอุตสาหกรรมที่ครบถ้วนและถูกต้อง พร้อมสนับสนุนการแนวทางการนำกากอุตสาหกรรมไปใช้ประโยชน์ในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน สัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องประชุม The Chamber โรงแรม S31 Sukhumvit เวลา 09.00 - 12.00 น. โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงรัตน์ มุ่งเจริญ ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานเศรษฐกิจหมุนเวียน บพข. ได้ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดสัมมนา ต่อมาศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการปิโตรแมท และคุณธีระพล ติรวศิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม ได้นำเสนอที่มาและการดำเนินโครงการวิจัย จากนั้นนักวิจัยของ ศสอ. ได้แก่ คุณศุภลักษณ์ ชัยภูริมาศ และคุณกิติศักดิ์ สุวรรณนภาศรี ได้นำเสนอเว็บไซต์ฐานข้อมูลการจัดการกากอุตสาหกรรม อันประกอบไปด้วยเนื้อหาที่ครบถ้วน เช่น [...]
Read more

ศูนย์ฯ เปิดเวทีเสวนา ชวน ‘บีโอไอ’ ‘สมาคมพลาสติกชีวภาพฯ’ และ ‘โยโล’ ถกแนวทางยกระดับอุตสาหกรรมพลาสติก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ จัดเสวนาในหัวข้อ “Powering Up Plastics Industry by Circular Economy” เพื่อนำเสนอแนวทางในการยกระดับอุตสาหกรรมพลาสติกสำหรับขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนในประเทศไทย โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรรับเชิญ ได้แก่ คุณสุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุน 1 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) คุณวิบูลย์ พึงประเสริฐ นายกสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย (TBIA) และคุณเกศทิพย์ หาญณรงค์ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอ บริษัท ซีโร่ เวสท์ โยโล จำกัด โดยเสวนาครั้งนี้จัดขึ้นในงาน InterPlas Thailand 2022 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2565 ณ ห้องประชุม MR 210 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา เมื่อเวลา 10.00 น. ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้กล่าวเปิดงาน ต่อมาเป็นการเสวนาระหว่างวิทยากรทั้ง 3 ท่าน [...]
Read more

ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ร่วมประชุม Downstream Thailand Summit 2022 มองอนาคตธุรกิจปิโตรเคมีร่วมกับองค์กรชั้นนำ

ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม Downstream Thailand Summit 2022 ที่จัดขึ้น ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ พัทยา จังหวัดชลบุรี ระหว่างวันที่ 29 - 30 มิถุนายน 2565 เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ศ.ดร.หทัยกานต์ ได้นำเสนองานแก่ที่ประชุมในหัวข้อ "Recent R&D Progress in Recycling Polymers at PETROMAT" ซึ่งเกี่ยวกับโครงการวิจัยและแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ฯ โดยเฉพาะการรีไซเคิลพลาสติกในโครงการพัฒนาต้นแบบโรงงานอุตสาหกรรมฯ ภายใต้มาตรการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนในอุตสาหกรรมพลาสติกระดับ SMEs ที่ได้รับทุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ โดยได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ร่วมงาน ในการประชุมดังกล่าวมีตัวแทนจากองค์กรภาครัฐ บริษัทเอกชนไทยและต่างชาติ เข้าร่วมงานด้วย อาทิ สมาคมโพลิเมอร์แห่งประเทศไทย บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด [...]
Read more

ศูนย์ฯ หารือ ‘อูเบะ’ เตรียมเฟ้นงานวิจัยไปต่อยอดสู่อุตสาหกรรม

ผู้บริหารและทีมวิจัยของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และบริษัท อูเบะ เทคนิคอล เซ็นเตอร์ (เอเชีย) จำกัด ประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 65 ที่ผ่านมา โดยเป็นการหารือในนัดแรก เพื่อวางแผนสร้างความร่วมมือด้านวิจัยร่วมกัน โดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้นำเสนอโครงสร้างและการทำงานของศูนย์ฯ รวมถึงความเชี่ยวชาญของนักวิจัยในสังกัด และโครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการ โดยศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้เข้าร่วมประชุมด้วยในวันนั้น ด้านกลุ่มบริษัทอูเบะที่มาประชุมด้วยในวันดังกล่าว ได้แก่ ดร.อรรถพล กิติยานันท์ (High Performance Coating Technical Manager) ดร.อาภรณ์รัตน์ นันทลักษณ์สกุล (Nylon Technical Manager) และคุณรติพร ทองถนอม (นักวิจัย High Performance Coating) โดยทางอูเบะได้นำเสนอแนวทางด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ รวมทั้งความสนใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ในหลายด้าน อาทิ ผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติและวัสดุทางการเกษตร ทั้งนี้ศูนย์ฯ มีผลงานวิจัยหลายชิ้นที่พร้อมสนับสนุนอูเบะในการนำไปต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น [...]
Read more

ตัวแทนศูนย์ฯ ร่วมกับภาคีเครือข่าย ยื่นแผนจัดการขยะ ต่อผู้ว่าฯ ‘ชัชชาติ’

บ่ายวันที่ 30 มิ.ย. 2565 คุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้ร่วมกับภาคีเครือข่าย ในการเข้าพบผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ณ ศาลาว่าการกรุงเทพฯ (เสาชิงช้า) เพื่อนำเสนอร่างแผนปฏิบัติการจัดการขยะที่ต้นทาง เมื่อเวลา 13.00 น. ดร.สุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิจัยสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ และผู้จัดการโครงการ Chula Zero Waste ได้กล่าวแนะนำภาคีเครือข่าย ซึ่งประกอบไปด้วย ภาควิชาการ ภาคเอกชน กลุ่มธุรกิจสตาร์ตอัปและธุรกิจเพื่อสังคม เอ็นจีโอ รวมถึงภาคประชาชนและสื่อฯ จากนั้นผู้แทนภาคส่วนต่างๆ ได้นำเสนอปัญหาและอุปสรรคในจัดการขยะในกรุงเทพฯ ก่อนจะร่วมกันยื่นแผนปฏิบัติการฯ ซึ่งเป็นข้อเสนอเชิงระบบต่อผู้ว่าฯ โดยรองศาสตราจารย์ ดร.พันธวัศ สัมพันธ์พานิช ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมฯ ได้ร่วมกล่าววัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการฯ ในวันนี้ด้วย จากนั้นผู้ว่าฯ ชัชชาติ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับกลุ่มภาคีเครือข่าย เพื่อแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยการจัดการขยะในกรุงเทพฯ เป็นนโยบายที่ผู้ว่าฯ ให้ความสำคัญ ซึ่งรวมทั้งการแยกขยะที่ต้นทาง และการเพิ่มสวัสดิการพนักงานเก็บและขนขยะ ในวันดังกล่าวจึงมีการส่งมอบชุดสะท้อนแสงเพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่พนักงานทำความสะอาด ทั้งนี้ภาคีเครือข่ายที่ร่วมงานในวันดังกล่าวมีหลายหน่วยงานที่มีชื่อเสียง [...]
Read more

นักวิจัยศูนย์ฯ หารือ ‘เอสแอนด์เจ’ เตรียมต่อยอด ‘นาโนเซลลูโลส’ สู่ผลิตภัณฑ์สกินแคร์

ศาสตราจารย์ ดร.ดวงดาว อาจองค์ นักวิจัยศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ สังกัดภาควิชาวัสดุศาสตร์ และอาจารย์ ดร.กมลวรรณ ภาคาผล ภาควิชาเทคโนโลยีทางภาพและการพิมพ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ได้ประชุมเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2565 เพื่อหารือกับคณะทำงานของบริษัท เอสแอนด์เจอินเตอร์เนชั่นแนลเอ็นเตอร์ไพรส์ พลับบลิค จำกัด ในการร่วมมือกันพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม ซึ่งต่อยอดจากผลงานนวัตกรรมในชื่อ 'Green Guardian' ของศ.ดร.ดวงดาว ที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการปั้นดาว โดยบริษัทฯ มีความสนใจผลิตภัณฑ์ในกลุ่มมาสก์บำรุงผิวหน้า โลชั่นบำรุงผิว ฯลฯ และมีความพร้อมด้านการผลิต ส่วนนักวิจัยศูนย์ฯ มีความรู้และความเชี่ยวชาญในตัวนวัตกรรมดังกล่าว และพร้อมให้ความร่วมมือในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

แสดงความยินดีกับ Best Poster Presentation ในงาน PPC & PETROMAT SYMPOSIUM 2022

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

ศูนย์ฯ ร่วมกับวิทยาลัยปิโตรเลียม จุฬาฯ และ สมาคมวิศวกรรมเคมีฯ จัด PPC&PETROMAT Symposium 2022 พร้อมเชิญกูรู ‘มิตรผล’ เปิดมุมมองด้านคาร์บอนเครดิต

เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้ร่วมกับวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ และสมาคมวิศวกรรมเคมีและเคมีประยุกต์แห่งประเทศไทย ในการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ The 28th PPC Symposium on Petroleum, Petrochemicals, and Polymers and The 13th Research Symposium on Petrochemical and Materials Technology พร้อมกันในวันเดียวกันนี้ ศูนย์ฯ ได้จัดเสวนาในหัวข้อ “Carbon Credits in Organizations” โดยมีวิทยากรรับเชิญจากบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด เวลา 8.20 น. ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ได้กล่าวรายงานและต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม โดยศาสตราจารย์ ดร.ปราโมช รังสรรค์วิจิตร คณบดีวิทยาลัยปิโตรเลียม จุฬาฯ และคุณสุรเชษฐ์ ชโลธร นายกสมาคมวิศวกรรมเคมีฯ ได้ร่วมกล่าวรายงานด้วย [...]
Read more