แสดงความยินดีแด่ ศ. ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ

ขอแสดงความยินดีแด่ ศ. ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ในโอกาสที่ได้รับการแต่งตั้งจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ให้เป็นกรรมการในคณะทำงานเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการกากอุตสาหกรรมสำหรับผู้ประกอบอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2 petromat@chula.ac.th petromat.coe
Read more

นักวิจัยศูนย์ฯจับมือ NECTEC และ 78transform ยกระดับ ‘คาร์บอนแบล็ก’ สู่การใช้งานใน ‘ซูปเปอร์คาปาซิเตอร์’

ความร่วมมือในครั้งนี้เกิดขึ้นภายใต้โครงการวิจัยเรื่องการสังเคราะห์เส้นใยจากวัสดุรีไซเคิลคาร์บอนแบล็กผสมกราฟีนสำหรับใช้ในซุปเปอร์คาปาซิเตอร์แบบยืดหยุ่น ซึ่งนักวิจัยศูนย์ฯ ดำเนินการร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ และ บริษัท เซเว่นตี้ เอท แทรนซ์ฟอร์ม จํากัด โดยได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในวันนี้ (30 ส.ค.) ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ตามลำดับ พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ จิตการค้า อาจารย์วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ซึ่งเป็นนักวิจัยในเครือข่ายของศูนย์ฯ ผู้ร่วมโครงการดังกล่าว ได้ต้อนรับคุณอนัญสินี ทาบุญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เซเว่นตี้ เอท แทรนซ์ฟอร์ม จํากัด และ ดร.อภิชัย จอมเผือก หัวหน้าโครงการฯ จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โอกาสนี้ คณะผู้ร่วมวิจัยได้ประชุมเริ่มต้นโครงการฯ อีกทั้งมีการถ่ายรูปร่วมกับผู้บริการศูนย์ฯ เพื่อเป็นที่ระลึก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท [...]
Read more

ศูนย์ฯ จัดเต็มนิทรรศการโชว์ผลงานนวัตกรรมในการต้อนรับคณะผู้ตรวจเยี่ยมจาก ‘สป.อว.

ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ พร้อมด้วยหัวหน้าโปรแกรมวิจัยและผู้แทนหัวหน้าโปรแกรมวิจัยของศูนย์ฯ ได้นำคณะนักวิจัยในสังกัดต้อนรับคุณดารณี ศุภธีรารักษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ กองทุนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ในฐานะประธานกรรมการตรวจเยี่ยมศูนย์ฯ ประจำปี 2565 ซึ่งได้เดินทางมาพร้อมคณะจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ในการตรวจเยี่ยมศูนย์ฯ ณ อาคารวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ในวันที่ 29 สิงหาคม ที่ผ่านมา วันดังกล่าว ศ.ดร.หทัยกานต์ ได้นำเสนอผลการดำเนินงานของศูนย์ฯ ให้คณะผู้ตรวจเยี่ยมได้รับทราบในที่ประชุม หลังจากนั้นจึงนำเข้าชมนิทรรศการนวัตกรรมของนักวิจัยในสังกัด ที่สำเร็จขึ้นจากโครงการวิจัยผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และโครงการวิจัยปั้นดาว ซึ่งล้วนมีศักยภาพในการพัฒนาต่อยอดสู่ผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ จำนวนกว่า 18 ผลงาน ทั้งนี้ด้วยปัจจุบันศูนย์ฯ ได้รับมอบหมายภารกิจให้ดำเนินการภายใต้กองส่งเสริมและประสาน เพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สังกัด สป.อว. ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ในปี 2564 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น [...]
Read more

ศูนย์ฯ จับมือ ‘เคมี อินโนเวชั่น’ ร่วมรับทุน ‘บพข.’ ปลดล็อกศักยภาพไบโอพลาสติก มุ่งสู่ตลาดบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การยกระดับศักยภาพบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพแบบครบวงจรร่วมกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อการขยายตลาดเชิงพาณิชย์” โดยการแถลงข่าวความร่วมมือและการมอบทุนโครงการวิจัยดังกล่าวจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ณ บริษัท เคมี อินโนเวชั่น จำกัด พิธีเปิดเริ่มต้นด้วยการกล่าวต้อนรับโดยคุณปณิธาน ชุณหสวัสดิกุล ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทอินโนเวชั่น ต่อมาศาสตราจารย์ ดร.อาภาณี เหลืองนฤมิตชัย ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มพลังงาน เคมีและวัสดุชีวภาพ บพข. ได้กล่าวถึงที่มาของการให้ทุนเพื่อการวิจัยและสร้างนวัตกรรมในครั้งนี้ โดยศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ร่วมด้วยคุณวรุณ วารัญญานนท์ หัวหน้าโครงการฯ และคุณปาณิสรา รัตนปัญญาโชติ รองประธานกรรมการบริหารด้านการตลาดและบริหารจัดการโรงงานของบริษัทฯ ได้ร่วมแถลงข่าวเปิดตัวโครงการฯ หลังจากนั้นผู้แทนคณะทำงานของศูนย์ฯ ได้รับมอบทุนการดำเนินโครงการฯ จาก บพข. และ บริษัท เคมี อินโนเวชั่น โดยผู้ร่วมงานได้ถ่ายภาพร่วมกันเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่ความร่วมมือในครั้งนี้เกิดขึ้น ทั้งนี้ โครงการฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตและการใช้งานพลาสติกชีวภาพ พร้อมสนับสนุนผู้บริโภคให้หันมาใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยส่งเสริมศักยภาพอุตสาหกรรมไบโอพลาสติกภายในประเทศ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพของไทยให้เติบโตแบบไร้ขีดจำกัด ตลอดจนผลักดันสู่การเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพในระดับโลก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 [...]
Read more

รางวัลพระราชทานโล่เกียรติยศ “เมธีวิจัยอาวุโส สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และสาขาวิชาเทคโนโลยี ประจำปี 2564”

PETROMAT ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.เมตตา เจริญพานิช (KU-ChE) เนื่องในโอกาสเข้ารับพระราชทานโล่เกียรติยศ “เมธีวิจัยอาวุโส สาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และสาขาวิชาเทคโนโลยี ประจำปี 2564” โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

รางวัล “เมธีวิจัยอาวุโส สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ ประจำปี 2564”

PETROMAT ขอแสดงความยินดีกับ ศาสตราจารย์ ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย (CU-PPC) เนื่องในโอกาสเข้ารับพระราชทานโล่เกียรติยศ “เมธีวิจัยอาวุโส สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ ประจำปี 2564” โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th  petromat.coe
Read more

ศูนย์ฯ ดึง ‘พีทีทีจีซี’ รีดศักยภาพนักวิจัย เตรียมต่อยอดผลงานไปสู่อุตสาหกรรม

เมื่อวันที่ 20 ก.ค. 65 มีการประชุมร่วมกันระหว่างนักวิจัยในเครือข่ายของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ และทีมวิจัยของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เพื่อให้นักวิจัยได้นำเสนอผลงานต่อทางบริษัทฯ วันดังกล่าวมี ศ.ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ นำการประชุม หลังจากนั้นเป็นการนำเสนอผลงานของนักวิจัย ได้แก่ ศ.ดร.นพิดา หิญชีระนันทน์ รศ.ดร.สุวดี ก้องพารากุล รศ.ดร.พิมพา หอมนิรันดร์ และ อ.ดร.จัญจุดา อุ่นเรืองศรี โดยทีมของบริษัทฯ นำโดย ดร.นพคุณ แสนโพธิ์ ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ทั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างศูนย์ฯ กับพีทีทีจีซี เพื่อเตรียมขยายผลจากงานวิจัยในด้านปิโตรเคมี สู่ระดับที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงในอุตสาหกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   [...]
Read more

ปิโตรแมทผนึกความเชี่ยวชาญกับ 3 ศูนย์ความเป็นเลิศ ประเดิมศึกษาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในน้ำ

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา และศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ในการศึกษาการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำและในน้ำดื่มบรรจุขวดในประเทศไทย ภายใต้โครงการวิจัยพื้นฐานเพื่อสนับสนุนโปรแกรมวิจัยบูรณาการปีงบประมาณ 2565 ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 คุณวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรมของปิโตรแมท ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยฯ ได้นัดประชุมร่วมกับนักวิจัยของศูนย์ต่างๆ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้นำเสนอผลการศึกษาวิจัยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา รวมถึงเสนอแผนการดำเนินงานในช่วงถัดไป ในการนี้ ดร.ภุมรินทร์ คำเดชศักดิ์ และ ดร.ศีลาวุธ ดำรงศิริ นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ ได้เข้าประชุมด้วยในฐานะผู้มีส่วนสำคัญในการวิจัยโครงการย่อยเรื่องการตรวจสอบปริมาณและชนิดของไมโครพลาสติกในน้ำดื่มบรรจุขวดที่วางขายในประเทศไทย ซึ่งปิโตรแมทเป็นผู้รับผิดชอบ นอกจากโครงการย่อยนั้นแล้ว ยังมีผลการศึกษาการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในแหล่งน้ำ ระบบนิเวศ และในประชากร โดยข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์ในการวางแผนป้องกันเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้นต่อทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสิ่งแเศรษฐกิจ ทั้งนี้เกิดจากความร่วมมือที่แต่ละศูนย์ความเป็นเลิศได้บูรณาการร่วมกัน ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   [...]
Read more

ศูนย์ฯ จับมือ ‘เอสแอนด์เจ’ เล็งปัดฝุ่น ‘ดินเบาดีอี’ พลิกสู่วงการเครื่องสำอาง

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้ประชุมร่วมกับ บริษัท เอสแอนด์เจอินเตอร์เนชั่นแนลเอ็นเตอร์ไพรส์ พลับบลิค จำกัด เมื่อวันที่ 19 กรกกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ครั้งนี้เป็นการหารือเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ดินเบาดีอีในเครื่องสำอาง โดยดินเบาดีอีเป็นวัสดุอันมีคุณสมบัติเด่นทั้งด้านน้ำหนักที่เบาและความสามารถที่สูงในการดูดซับสารต่างๆ รวมทั้งน้ำ จึงมักนำไปผลิตเป็นสารช่วยกรอง รวมถึงผสมลงในสีทาป้องกันเชื้อรา นอกจากนี้แล้วดินเบาดีอีเกรดบริสุทธิ์จากต่างประเทศ ยังสามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ซึ่งช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติในการดูดซับที่ดีขึ้น ในวันดังกล่าวจึงมีการประชุมระหว่างศูนย์ฯ กับทางบริษัทฯ ซึ่งนำโดย ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ (รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิพัฒน์ เหล่าวัฒนบัณฑิต (นักวิจัยดินเบาดีอี) และ ดร.พิมผกา วนสวัสดิ์ (บริษัทเอสแอนด์เจ) ทั้งนี้เป็นการหารือร่วมกันในนัดแรกเพื่อวางแผนศึกษาการนำดินเบาดีอีในประเทศไทยไปประยุกต์ใช้งานในเครื่องสำอาง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้ทรัพยากรในประเทศ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330   02 2184141-2   petromat@chula.ac.th [...]
Read more

ศูนย์ฯ จับคู่ ‘อูเบะ’ เล็งจัดทีมวิจัยผลิตภัณฑ์ไนลอน

เมื่อวันที่ 19 ก.ค. 65 ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ และ ศ.ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ พร้อมด้วยนักวิจัยในเครือข่ายของศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ได้ประชุมร่วมกับ ดร.อาภรณ์รัตน์ นันทลักษณ์สกุล และคุณณัฐพร สมร่าง จากบริษัท อูเบะ เทคนิคอล เซ็นเตอร์ (เอเชีย) จำกัด ต่อเนื่องจากครั้งที่แล้ว หลังจากที่ทางบริษัทฯ มีความสนใจในการสร้างความร่วมมือกับศูนย์ฯ การประชุมในครั้งนี้ รศ.ดร.ศรุต อำมาตย์โยธิน ผศ.ดร.ดวงกมล ตุงคะสมิต ผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ ผดุงรส อ.ดร.จัญจุดา อุ่นเรืองศรี รศ.ดร.พิมพา หอมนิรันดร์ และ ผศ.ดร.ธานิน นานอก ได้ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องไนลอน ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดร่วมกับทางบริษัทฯ ทั้งนี้อูเบะกำลังต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในกลุ่มไนลอน จึงได้เข้ามาศึกษาผลงานของนักวิจัยในเครือข่ายของศูนย์ฯ เพื่อคัดเลือกผลงานอันมีศักยภาพ ก่อนที่จะร่วมกันในการยกระดับการวิจัยไนลอนสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1 254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท [...]
Read more