Circular Economy Business Models พาธุรกิจสู่ความยั่งยืน

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง “แนวทาง 10R อัพเกรดอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน” ได้กล่าวถึง หลักสากลและแนวคิดเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน 10 หลักการ เรียกว่า หลักการสากล “10R” ซึ่งเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลงและเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ในบทความนี้ ขอนำท่านผู้อ่านไปสัมผัสกับการนำหลักการ 10R และหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน มาพัฒนาและประยุกต์ใช้กับธุรกิจทั้งธุรกิจขนาดเล็กจนไปถึงธุรกิจขนาดใหญ่ รวมไปถึงอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นำไปสู่การไม่มีของเสียและมลพิษตลอดทั้งระบบสินค้าและบริการ เรียกว่า โมเดลทางธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy Business Models (CBM) ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ โมเดลทางธุรกิจของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน คืออะไร ? โมเดลทางธุรกิจของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Business Models ; CBM) คือ เครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ประกอบการ หรือ ผู้ที่มีส่วนร่วมในธุรกิจเลือกใช้ทรัพยากรทั้งหมดที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ไม่ปล่อยให้กระบวนการผลิตเพิ่มปริมาณของเสียเข้าไปสู่สิ่งแวดล้อมและไม่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมไปด้วยสารพิษ การปล่อยแก๊สเรือนกระจก และมลพิษ ซึ่งทำให้เกิดความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม แนวทางของทางเลือกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหมุนเวียน ได้แก่ [...]
Read more

Circular Fashion ปฏิวัติวงการเสื้อผ้า พาของเหลือใช้ไปรันเวย์

เรื่องโดย ศุภวิชญ์ จันทน์ขาว เสื้อผ้าเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและสิ่งทอก็มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบันวงการแฟชั่นมีการใช้ทรัพยากรจำนวนมหาศาลและก่อให้เกิดขยะขึ้นมากมาย จึงต้องมีการปฏิวัติแฟชั่นครั้งใหม่เพื่อให้ทรัพยากรถูกใช้ไปอย่างยั่งยืน แฟชั่นปัจจุบันมาไวไปไวและกำลังทำลายสิ่งแวดล้อม แฟชั่นในปัจจุบันถูกเรียกว่าแฟชั่นหมุนเร็ว (Fast Fashion) เพราะมีการเปลี่ยนคอลเล็กชันเสื้อผ้าในลักษณะที่เรียกว่ามาไวไปไว เพื่อให้ทันต่อความทันสมัยและความต้องการของผู้บริโภค โดยผู้ประกอบธุรกิจมีการทำการตลาดให้ผู้บริโภคสามารถหาซื้อเสื้อผ้าได้ง่ายและซื้อบ่อยขึ้น ส่วนทางด้านผู้ผลิตก็อาจมีการลดระดับคุณภาพของวัตถุดิบในการผลิตเสื้อผ้าเพื่อให้สินค้ามีราคาถูก ซึ่งกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อเสื้อผ้ามากขึ้น ทั้งนี้กระแสแฟชั่นที่มาไวไปไวและคุณภาพที่ด้อยลงของเสื้อผ้า ทำให้เสื้อผ้ามีอัตราการใช้งานที่น้อยครั้ง ในที่สุดก็ถูกทิ้งไปกลายเป็นขยะแฟชั่น ข้อมูลภาพรวมอุตสาหกรรมแฟชั่นทั่วโลก ซึ่งรายงานโดย World Economic Forum ระบุว่าในช่วงปี พ.ศ 2543 - 2558 มีการผลิตเสื้อผ้าเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า เนื่องจากการเติบโตของชนชั้นกลางในประเทศกำลังพัฒนา และอัตราการบริโภคที่สูงขึ้นของประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตดี แต่อัตราการใช้งานเสื้อผ้าในช่วงเวลานี้กลับลดลงจากสมัยก่อนถึงร้อยละ 40 โดยส่วนใหญ่ถูกทิ้งไปเป็นขยะที่ต้องกำจัดด้วยวิธีเผาหรือฝังกลบในปริมาณมากถึงร้อยละ 75 โดยขยะเสื้อผ้าเพียงร้อยละ 12 เท่านั้นที่ได้รับการรีไซเคิล ในจำนวนดังกล่าวมีเพียงร้อยละ 1 ที่ได้รับการนำกลับไปผลิตเป็นเสื้อผ้าใหม่ ส่วนในประเทศไทยพบว่าในแต่ละปีจะมีขยะเสื้อผ้าและสิ่งทอกว่าร้อยละ 85 ถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยมีเพียงร้อยละ 15 ที่ได้รับการนำไปบริจาคหรือนำกลับไปรีไซเคิล ขยะในปริมาณมหาศาลที่ไม่ได้รับการหมุนเวียนกลับมาใช้ประโยชน์ซ้ำ ทำให้ในแต่ละปีการผลิตเสื้อผ้าต้องใช้ทรัพยากรใหม่รวมกันทั้งโลกกว่า 98 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไปหรือต้องใช้ไปอย่างสิ้นเปลือง [...]
Read more

แนวทาง 10R อัปเกรดอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย แนวคิดและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลงและเป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงประชาชนทั่วไป นั่นคือ แนวคิด “3R” ประกอบด้วย 1. Reduce เป็นการใช้ให้น้อยลง ลดการใช้วัสดุ ผลิตภัณฑ์ ที่ก่อให้เกิดขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น 2. Reuse เป็นการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้ซ้ำ 3. Recycle เป็นการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ท่านผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการ Recycle ได้ที่ “บทบาทของ Recycle ใน Circular Economy” ในปัจจุบันมีหลักสากลและแนวคิดเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนเพิ่มขึ้นอีก 7 หลักการ ซึ่งรวมกับหลักการที่มีอยู่เดิม เรียกว่า หลักการสากล “10R” ในวันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักและสัมผัสกับหลักการสากลดังกล่าว ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ หลักการสากลเพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy Model : 10R) ภาคอุตสาหกรรมที่มีการนำหลักการสากล 10R มาใช้ในองค์กร [...]
Read more

ทางออกขยะกรุงเทพฯ กับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

เรื่องโดย ศุภวิชญ์ จันทน์ขาว กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่สร้างขยะมากที่สุดของประเทศไทย ปัจจุบันขยะส่วนใหญ่ถูกกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ ขณะเดียวกันกรุงเทพฯ มีแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยแบบมุ่งเน้นให้ขยะเหลือศูนย์ โดยสนับสนุนให้ลดและคัดแยกขยะที่ต้นทาง รวมถึงนำขยะไปแปรรูป ซึ่งเป็นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน 10,000 ตัน คือขยะในแต่ละวันของกรุงเทพมหานคร ปริมาณขยะที่มากมายทำให้เกิดปัญหาขยะมูลฝอยตกค้าง ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการจัดเก็บรวบรวม การขนส่ง การคัดแยก ตลอดจนการนำไปกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ ซึ่งต้องอาศัยพื้นที่และงบประมาณจำนวนมากในการบริหารจัดการ ขณะเดียวกันปริมาณขยะที่มากมายเช่นนี้อาจชี้ให้เห็นว่าผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพฯ มีพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรแบบฟุ่มเฟือย ข้อมูลปริมาณขยะมูลฝอย โดยสำนักสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพฯ ระบุว่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เดือนตุลาคม 2563 - เดือนกันยายน 2564) กรุงเทพฯ จัดเก็บขยะมูลฝอยรวมทั้งปีในปริมาณมากถึง 3.17 ล้านตัน หรือเฉลี่ยวันละ 8,674.73 ตัน ขณะที่กรมควบคุมมลพิษได้รายงานข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยทั่วประเทศ โดยระบุว่าในปีเดียวกันนี้ ขยะมูลฝอยในกรุงเทพฯ ที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ เช่น นำไปหมักทำปุ๋ยหรือรีไซเคิล มีเพียง ประมาณร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2560 ที่ขยะมีปริมาณมากที่สุดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา คือเฉลี่ยวันละ 10,526.92 [...]
Read more

Upcycling แนวคิดยุคใหม่…ก้าวไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย ท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยินชื่อของกระบวนการ “Upcycling” หรือ “Upcycle” ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งที่มีความคล้ายคลึงกับกระบวนการรีไซเคิลและมีส่วนสำคัญที่ช่วยลดปัญหากากของเสีย ขยะที่ใช้แล้ว ส่งผลให้ลดปัญหามลภาวะด้านสิ่งแวดล้อม จากบทความที่ผ่านมา “บทบาทของ Recycle ใน Circular Economy” ได้กล่าวถึง กระบวนการรีไซเคิล (Recycle) ว่าคืออะไร หลักการเป็นอย่างไร อยู่ส่วนไหนของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และการนำกระบวนการรีไซเคิลไปประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรม ในวันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับกระบวนการ Upcycling ว่ามีความเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างไร รวมไปถึงความแตกต่างระหว่างกระบวนการ Recycle และ Upcycling ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ Upcycling คืออะไร ? กระบวนการ Upcycling ถูกกล่าวถึงครั้งแรกโดย William McDonough และ Michael Braungart ในหนังสือ “Cradle to Cradle : Remaking the Way We [...]
Read more

เศรษฐกิจหมุนเวียน การเปลี่ยนแปลงในยูเครน

เรื่องโดย ศุภวิชญ์ จันทน์ขาว ยูเครนมีทรัพยากรธรรมชาติจำนวนมาก แต่ในอดีตยังขาดการบริหารการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมและในชุมชน ทำให้ทรัพยากรถูกใช้หมดไปอย่างสิ้นเปลือง ซึ่งส่งผลต่อเนื่องต่อปริมาณของเสียที่กำลังเพิ่มขึ้น โดยยูเครนเป็นประเทศหนึ่งที่สนับสนุนให้มีการแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ปัจจุบันจึงเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับอุตสาหกรรมและระดับชุมชน เปลี่ยนปัญหาทรัพยากรในประเทศ พัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน หากไม่เกิดภาวะเกิดสงคราม ในปี พ.ศ. 2565 ยูเครนจะอยู่ในช่วงที่ 2 จากทั้งหมด 3 ช่วงของการพัฒนาประเทศให้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ตามแผนกลยุทธ์การจัดการของเสียในประเทศ (National Waste Management Strategy) ที่รัฐบาลยูเครนในขณะนั้นได้ผ่านมติรับรองเมื่อปี พ.ศ. 2560 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาเศรษฐกิจและปรับปรุงกระบวนการใช้ทรัพยากรในประเทศ ยูเครนมีประชากรประมาณ 44.6 ล้านคน โดยอัตราคนว่างงานคิดเป็น 9.3% ตัวเลขในปี พ.ศ. 2558 ระบุว่ายูเครนมีปริมาณพื้นที่การเกษตรครอบคลุมมากถึง 75% ของประเทศ และมีป่าไม้สะสมปริมาณ 2,196 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ประเทศในสหภาพยุโรป มีตัวเลขดังกล่าวเฉลี่ยอยู่ที่ 41% และ 950 ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ นอกจากนี้ ยูเครนยังมีน้ำใช้ใหม่ (Renewable Water [...]
Read more

บทบาทของ Recycle ใน Circular Economy

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย จากบทความที่ผ่านมาเรื่อง “Circular Economy คืออะไร…PETROMAT มีคำตอบ” ได้กล่าวถึง ความเป็นมาและนิยามของเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือที่เรียกว่า “Circular Economy” มุมมองและการนำแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้กับธุรกิจในองค์กร และ อีกหนึ่งบทความเรื่อง “Circular Economy แนวคิดธุรกิจโลกยุคใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ได้กล่าวถึง ปัญหาที่เกิดจากเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม หรือ เศรษฐกิจแบบเส้นตรง (Linear Economy) และ การแก้ไขปัญหาระบบเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่โดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมไปถึงข้อดีของเศรษฐกิจหมุนเวียน ในบทความนี้ ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับคำว่า “รีไซเคิล” (Recycle) ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญมากในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน การรีไซเคิลอยู่ตรงไหนของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และการนำกระบวนการรีไซเคิลไปประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรมจะเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลยครับ รีไซเคิล คืออะไร ? “รีไซเคิล” (Recycle) คือ การจัดการวัสดุเหลือใช้ที่กำลังจะกลายเป็นขยะ การนำสิ่งที่เราไม่สามารถที่จะใช้ซ้ำได้แล้ว ซึ่งอาจจะฉีกขาด แตกหัก กลับไปเข้ากระบวนการแปรรูปให้เป็นวัตถุดิบ โดยนำไปผ่านกระบวนการแปรสภาพ โดยเฉพาะการหลอม เพื่อให้เป็นวัสดุใหม่แล้วนำกลับมาใช้ได้อีกและมีคุณภาพเทียบเท่าหรือใกล้เคียงของเดิม ซึ่งวัสดุที่ผ่านการแปรสภาพนั้นอาจจะเป็นผลิตภัณฑ์เดิมหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ก็ได้ [1] ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ [...]
Read more

Circular Economy แนวคิดธุรกิจโลกยุคใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

  เรื่องโดย ศุภวิชญ์ จันทน์ขาว Circular Economy หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เป็นแนวคิดเศรษฐกิจรูปแบบหนึ่งที่เน้นใช้ทรัพยากรอย่างเป็นวงจร โดยมีกระบวนการ เช่น การซ่อมแซม การใช้ซ้ำ การแปรรูป ฯลฯ จึงช่วยลดขยะและของเสียจากการใช้ทรัพยากร ซึ่งส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ Circular Economy ยังช่วยสร้างกิจกรรมทางเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ๆ จึงเป็นผลดีต่อการทำธุรกิจและเศรษฐกิจในโลกยุคใหม่ เศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นแบบไหน ทำไมจึงไม่ยั่งยืน? ก่อนจะรู้จัก Circular Economy ในอดีตโลกดำเนินอยู่ได้เพราะระบบนิเวศอยู่ในภาวะสมดุลระหว่างทรัพยากรที่ถูกใช้หมดไปกับศักยภาพที่ธรรมชาติจะสร้างทรัพยากรทดแทนขึ้นมาใหม่ ต่อมาหลายประเทศโดยเฉพาะอเมริกาและในยุโรปมีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด ทำให้ทรัพยากรถูกใช้หมดไปในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อนำทรัพยากรเหล่านั้นไปผลิตเป็นสินค้าตามความต้องการของผู้บริโภค โดยแนวทางในการใช้ทรัพยากรเป็นไปในลักษณะ “ถลุง-ผลิต-ทิ้งไป” นั่นคือ ทรัพยากรถูกใช้หมดไปอย่างไม่ปรานีปราศรัยในการผลิตเป็นสินค้า หลังจากสินค้าหมดสภาพแล้วก็กลายเป็นขยะ โดยขยะสินค้าเหล่านี้รวมถึงของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต ไม่ได้รับการหมุนเวียนกลับมาใช้เป็นทรัพยากรใหม่ตามแนวคิด Circular Economy ดังนั้น แนวทางในการใช้ทรัพยากรในลักษณะ “ถลุง-ผลิต-ทิ้งไป” จึงเรียกว่า Linear Economy หรือ “เศรษฐกิจแบบเส้นตรง” นั่นเอง “ภายในศตวรรษนี้คาดการณ์ว่าต้องใช้ทรัพยากรมากถึง 1.5 เท่าของที่มีอยู่ในโลกถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ แต่แน่นอนว่าโลกมีให้ไม่พอ ซึ่งทางออกของปัญหานี้ก็คือแนวคิด Circular [...]
Read more

Circular Economy คืออะไร…PETROMAT มีคำตอบ

เรื่องโดย ณัฐภัทร รัตนวิชัย ท่านผู้อ่านหลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยินชื่อของ Circular Economy หรือ เศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลไทยที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาประเทศไปสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยนโยบาย “ไทยแลนด์ 4.0” ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ ที่เรียกว่า “BCG” (Bioeconomy / Circular Economy และ Green Economy) เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ และสร้างความสามารถในการแข่งขัน ผ่านเรื่อง BCG Model ซึ่งสอดรับกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 วันนี้ PETROMAT ขอนำท่านผู้อ่านไปทำความรู้จักกับแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียนในแง่มุมต่าง ๆ ในปัจจุบัน ติดตามพร้อมกันได้เลยครับ ความเป็นมาและนิยามของเศรษฐกิจหมุนเวียน แนวคิดเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน เกิดขึ้นราว ๆ ทศวรรษ 1970 ซึ่งในช่วงนั้น หลายประเทศเริ่มตระหนักถึงทรัพยากรธรรมชาติในประเทศของตนเอง รวมถึงทรัพยากรที่ต้องนำเข้ามานั้นมีจำกัด เห็นได้ชัดจากราคาวัตถุดิบที่ขยับตัวสูงขึ้น และเมื่อภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศเหล่านี้ลองนำแนวคิดเรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน มาใช้ พบว่า นอกจากจะทำให้ทรัพยากรถูกนำมาใช้อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ [...]
Read more