ปิโตรแมทร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ในโครงการ ‘การสกัดและการดัดแปรแบคทีเรียเซลลูโลสจากเศษวุ้นมะพร้าว สู่การเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์’ เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่โดยเริ่มจากสารให้ความคงตัวในอาหาร ภายใต้โครงการวิจัยปั้นดาวที่สนับสนุนโดย สป.อว.
.
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2564 คณะผู้ประเมินโครงการวิจัยนำโดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ ได้ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการฯ ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงงานต้นแบบ บริษัท อําพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จํากัด ร่วมกับการประชุมออนไลน์ โดยในวันดังกล่าว ศ.ดร.หทัยกานต์ ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย Cello-gum พร้อมด้วยทีมงาน ได้ร่วมนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการฯ และได้นำคณะผู้ประเมินไปเยี่ยมชมโรงงานต้นแบบที่ใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์
.
Cello-gum คือนวัตกรรมการแปรรูปเศษวุ้นมะพร้าวโดยสกัดให้เป็นแบคทีเรียลเซลลูโลสบริสุทธิ์ ซึ่งมีมูลค่าสูงเนื่องจากสามารถดัดแปรและนำไปใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรม โดยนักวิจัยเล็งใช้ประโยชน์เป็นสารให้ความคงตัวในการผลิตอาหาร ก่อนจะพัฒนาต่อไปสู่อุตสาหกรรมอื่น เช่น ยาและเครื่องสำอาง
![](https://petromat.org/2022/wp-content/uploads/2022/01/269748256_4875423199163227_1014209413663186180_n-1024x683.jpg)
![](https://petromat.org/2022/wp-content/uploads/2022/01/269704237_4875423489163198_1161669418402689365_n-1024x683.jpg)
![](https://petromat.org/2022/wp-content/uploads/2022/01/269606621_4875423269163220_704972803551442456_n-1024x683.jpg)
![](https://petromat.org/2022/wp-content/uploads/2022/01/269591098_4875423409163206_7237643062661465761_n-1024x683.jpg)