โครงการผลิตภัณฑ์ต้นแบบ

ศูนย์ฯ เปิดโอกาสให้นักวิจัยในเครือข่ายสถาบันร่วมของศูนย์ฯ ต่อยอดงานวิจัยสู่ต้นแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ โดยดำเนินการภายใต้โครงการการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ซึ่งให้ทุนสนับสนุนครอบคลุมทั้งการวิจัยและต้นทุนการผลิตต้นแบบชิ้นงานผลิตภัณฑ์

ผลงานนวัตกรรม

Zero-waste Cup แก้วกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ BioPBSTM ปัจจุบันนำไปใช้ในโรงอาหารจุฬาฯ จำนวน 17 แห่ง โดยแก้วกระดาษที่ใช้แล้วสามารถนำไปใช้เป็นภาชนะสำหรับเพาะชำกล้าไม้ ซึ่งย่อยสลายได้ 100% กลายเป็นสารปรับปรุงดิน
ผู้ประดิษฐ์ : ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ

ถุงอย่าลืมฉัน ถุงพลาสติกผสมพลาสติกรีไซเคิล สำหรับใช้แทนถุงพลาสติกชนิดแตกสลายได้ (Oxo-Degradable Plastics) ในโรงอาหารจุฬาฯ สหกรณ์จุฬาฯ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ รวมถึงร้านค้าสะดวกซื้อและตลาดนัดภายในมหาวิทยาลัย
ผู้ประดิษฐ์ : ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ

Ultra We: กล่องห่วงใย ไร้เชื้อด้วยยูวี เครื่องฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวีซี ซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐาน AS 1807.23–2000 มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรค รวมทั้งเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 สำหรับทำความสะอาดพื้นผิวเครื่องใช้ต่าง ๆ
ผู้ประดิษฐ์ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธี สายศรีหยุด ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

BBOX กล่องขนส่งโลหิตอัจฉริยะ ด้วยเทคโนโลยีตรวจวัดและติดตามอุณหภูมิภายในกล่องแบบเรียลไทม์ ทำให้โลหิตได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างมีคุณภาพ ตามมาตรฐาน WHO อีกทั้งตัวกล่องยังได้รับการออกแบบให้ใช้งานสะดวกในโรงพยาบาล
ผู้ประดิษฐ์ : ศาสตราจารย์ ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ

HPV Smart Sensor เซนเซอร์ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในราคาประหยัด ซึ่งสามารถตรวจวินิจฉัยโรคในเบื้องต้นสำหรับผู้หญิง รวมทั้งผู้ที่เข้ารับการตรวจในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร
ผู้ประดิษฐ์ : ศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ ชัยลภากุล ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

CEA Cancer Marker อุปกรณ์ตรวจวัด CEA ซึ่งเป็นสารบ่งชี้มะเร็ง โดยอุปกรณ์สามารถวิเคราะห์ผลผ่านคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ อีกทั้งมีระบบซอฟต์แวร์พร้อมใช้ในคลินิก เพื่อการคัดกรองและติดตามผลการรักษามะเร็ง
ผู้ประดิษฐ์ : ศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์ ศิริวัฒน์ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ

GermGuard วัสดุปิดแผลที่สามารถรองรับแรงกดทับและยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ด้วยนวัตกรรมวัสดุโฟมผสมสารฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยต้นแบบผลิตภัณฑ์มีการนำไปใช้จริงแล้วในสัตว์และในผู้ป่วย
ผู้ประดิษฐ์ : ศาสตราจารย์ ดร.พิชญ์ ศุภผล วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ

GermGuard NanoXan Filter ชุดแผ่นกรองอากาศเคลือบสารอันมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียและไวรัสบางชนิด สำหรับใช้เป็นไส้กรองหน้ากากอนามัยแบบผ้า ไส้กรองในเครื่องช่วยหายใจ ฯลฯ เพื่อกรองฝุ่น PM 2.5 และป้องกันเชื้อโรคในอากาศ
ผู้ประดิษฐ์ : ศาสตราจารย์ ดร.พิชญ์ ศุภผล วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ

Antimicrobial Spray สเปรย์ทำความสะอาดมือและพื้นผิววัสดุ โดยไม่ต้องล้างออก ด้วยส่วนผสม Carbon Quantum Dot ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อโรค และยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและไวรัสบางชนิดได้ยาวนานกว่า 24 ชั่วโมง
ผู้ประดิษฐ์ : ศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต งามจรัสศรีวิชัย ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

eLectroPatch แผ่นแปะผิวหนังสำหรับการนำส่งยา ซึ่งควบคุมการปลดปล่อยตัวยาได้ภายใต้สนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ หรือบำบัดแผลติดเชื้อ เบาหวาน ฯลฯ
ผู้ประดิษฐ์ : ศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์ ศิริวัฒน์ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ

Thermo-Lock Hydrogel ไฮโดรเจลอุ้มน้ำที่ช่วยให้ดินสามารถกักเก็บความชื้นเอาไว้ได้แม้ในที่อากาศร้อน จึงช่วยแก้ไขปัญหาดินแล้ง และเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการน้ำเพื่อการเพาะปลูก
ผู้ประดิษฐ์ : ศาสตราจารย์ ดร.สุวบุญ จิรชาญชัย วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ

HApZeo ผลิตภัณฑ์สำหรับล้างผักผลไม้ ช่วยขจัดสารกำจัดศัตรูพืช และสารเคมีตกค้างอื่น ๆ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่าผลิตภัณฑ์สินค้ากลุ่มเดียวกันในท้องตลาด
ผู้ประดิษฐ์ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนากร วาสนาเพียรพงศ์ ภาควัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

DE Filter Aid ผงดินเบาดีอี ซึ่งมีคุณสมบัติดูดซับสารต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับประยุกต์ใช้เป็นสารช่วยกรองในระบบอุตสาหกรรม
ผู้ประดิษฐ์ : ศาสตราจารย์ ดร.บุนยรัชต์ กิติยานันท์ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
  petromat@chula.ac.th