เครือข่ายนักวิจัยสถาบันร่วม

ในการผลิตและพัฒนานักวิจัย รวมถึงการสร้างเทคโนโนยีและนวัตกรรม ไปสู่เป้าหมายในการการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ ดำเนินงานเชิงบูรณาการร่วมกับเครือข่ายนักวิจัยผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในหลากหลายสาขา มากกว่า 200 คน จาก 9 สถาบัน ใน 5 มหาวิทยาลัยชั้นนำ ดังต่อไปนี้

วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาบันแกนนำของศูนย์ฯ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ปัจจุบันศูนย์ฯ มีความร่วมมือกับคณาจารย์ผู้เป็นสมาชิกเครือข่าย ซึ่งเชี่ยวชาญในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีปิโตรเลียม เทคโนโลยีปิโตรเคมี วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ รวมทั้งด้านพลังงานทางเลือก และเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์สถาบัน www.ppc.chula.ac.th/

ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หนึ่งในสถาบันอันเป็นเครือข่ายของศูนย์ฯ ประกอบด้วยคณาจารย์ผู้มีความรู้ด้านเคมีวิศวกรรมและเทคโนโลยีทางเชื้อเพลิง รวมถึงมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมน้ำมัน และอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง

เว็บไซต์สถาบัน www.chemtech.sc.chula.ac.th/

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาบันอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์เคมีที่ดีที่สุดในประเทศ เป็นสถาบันร่วมในเครือข่ายของศูนย์ฯ ซึ่งทำวิจัยร่วมกันโดยเฉพาะในสาขาวัสดุสมรรถนะสูงและวัสดุฉลาด เพื่อการประยุกต์ใช้งานทางการแพทย์และด้านสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์สถาบัน web.chemcu.org/

ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สถาบันร่วมในเครือข่ายของศูนย์ฯ ซึ่งมีงานวิจัยเด่นร่วมกันในสาขาวัสดุศาสตร์ รวมทั้งพอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีเซรามิก อาทิ สิ่งทอ พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ วัสดุคอมโพสิท วัสดุกักเก็บพลังงาน เช่น แบตเตอรี่และตัวเก็บประจุ เป็นต้น

เว็บไซต์สถาบัน www2.matsci.sc.chula.ac.th/

ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สมาชิกเครือข่ายของศูนย์ฯ ซึ่งเป็นสถาบันที่เสริมความเชี่ยวชาญให้แก่ศูนย์ฯ ทางด้านวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ วัสดุผสม เซลล์เชื้อเพลิง เซนเซอร์ตรวจวัดสารชีวภาพ ฯลฯ

เว็บไซต์สถาบัน chem.sci.ku.ac.th/

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หนึ่งในสถาบันร่วมที่เป็นเครือข่ายสมาชิกที่ใหญ่ที่สุดของศูนย์ฯ มีคณาจารย์ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับวิศวกรรมเคมี วิศวกรรมชีวเคมี วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ วิศวกรรมด้านวัสดุ รวมไปถึงกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม

เว็บไซต์สถาบัน che.eng.ku.ac.th/

ภาควิชาวิทยาการและวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

สถาบันผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมวัสดุ วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ และนาโนเทคโนโลยี โดยอาจารย์ของสถาบันผู้เป็นสมาชิก
ในเครือข่าย มีโครงการวิจัยร่วมกับศูนย์ฯ ในด้านพอลิเมอร์ธรรมชาติและวัสดุย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

เว็บไซต์สถาบัน www.eng2.su.ac.th/

สาขาวิชาวิศวกรรมพอลิเมอร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

สถาบันที่ร่วมทำวิจัยกับศูนย์ฯ ภายใต้การเป็นสมาชิกของเครือข่าย ซึ่งมีผลงานวิจัยที่โดดเด่นในด้านวัสดุคอมโพสิทชีวภาพ
วัสดุชีวการแพทย์ รวมถึงการออกแบบและการผลิตบรรจุภัณฑ์จากพอลิเมอร์ชีวภาพ

เว็บไซต์สถาบัน beta.sut.ac.th/ie-pe/

หลักสูตรปิโตรเคมีและพอลิเมอร์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

สถาบันผู้เข้าร่วมเป็นสมาชิกล่าสุดของศูนย์ฯ เมื่อปี พ.ศ. 2564 มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษด้านวัสดุพอลิเมอร์ พลาสติก ไม้ ยาง รวมทั้งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับทางด้านเชื้อเพลิงและเคมีชีวภาพ

เว็บไซต์สถาบัน engineer.wu.ac.th/

คลิ๊กเพื่ออ่านออนไลน์

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ
อาคารวิจัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 7 ห้อง 705/1
254 ซอยจุฬาฯ 12 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
  02 2184141-2
petromat@chula.ac.th